ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธาตุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|ดูที่=ธาตุ (แก้ความกำกวม)}}
 
ในทาง[[เคมี]] '''ธาตุ''' คือ [[สารบริสุทธิ์]]ซึ่งประกอบด้วย[[อนุภาคมูลฐาน]][[เลขอะตอม]] อันเป็นจำนวนของ[[โปรตอน]]ใน[[นิวเคลียส]]ของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น [[คาร์บอน]] [[ออกซิเจน]] [[อะลูมิเนียม]] [[เหล็ก]] [[ทองแดง]] [[ทองคำ]] [[ปรอท]]และ[[ตะกั่ว]]
บรรทัด 16:
| year= 1957
| doi= 10.1103/RevModPhys.29.547
| bibcode=1957RvMP...29..547B}}</ref> ขณะที่ธาตุส่วนใหญ่มักถูกมองว่าเสถียร แต่[[การแปรนิวเคลียส]] (nuclear transformation) ตามธรรมชาติของธาตุหนึ่งเป็นอีกธาตุหนึ่งนั้นยังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี เช่นเดียวกับกระบวนการนิวเคลียร์(ขีปนาวุธ ในอีกความหมาย)อื่น ๆ เช่น การยิงรังสีคอสมิกและ[[นิวเคลียร์ฟิชชัน]]ตามธรรมชาติของ[[นิวเคลียสอะตอม|นิวเคลียส]]ธาตุหนักหลายชนิด
 
เมื่อธาตุแตกต่างกันสองธาตุรวมตัวกันทางเคมี โดยมีอะตอมยึดเข้าด้วยกันด้วย[[พันธะเคมี]] ผลที่ได้เรียกว่า [[สารประกอบเคมี]] สองในสามของธาตุเคมีที่พบได้บนโลกพบเฉพาะในรูปของสารประกอบ และในหลายกรณี หนึ่งในสามที่เหลือนั้นก็มักพบเป็นสารประกอบเป็นส่วนใหญ่ สารประกอบเคมีอาจประกอบด้วยธาตุที่รวมเข้าด้วยกันในสัดส่วนจำนวนเต็มแน่นอน ดังเช่น [[น้ำ]] [[เกลือแกง]] และแร่ อย่าง[[ควอตซ์]] [[แคลไซต์]] และ[[แร่โลหะ]]บางชนิด อย่างไรก็ดี พันธะเคมีของธาตุหลายประเภทส่งผลให้เกิดเป็น[[ของแข็ง]][[ผลึก]]และ[[อัลลอย]][[โลหะ]] ซึ่งไม่มี[[สูตรเคมี]]แน่นอน สสารของแข็งส่วนใหญ่บนโลกเป็นประเภทหลังนี้ คือ อะตอมก่อเป็นสสารของเปลือกโลก [[แมนเทิล]](ส่วนที่ใหญ่ที่สุดของโลก) และแก่นโลกชั้นในก่อสารประกอบเคมีที่มีองค์ประกอบหลากหลาย แต่ไม่มี[[สูตรเอมพิริคัล]]แน่ชัด
 
ในการนำเสนอเหล่านี้ทั้งหมด คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของธาตุบริสุทธิ์แต่ละธาตุนั้นไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นเช่นนั้นแม้ธาตุที่เกิดในรูปไม่ผสม หากธาตุเหล่านี้เกิดเป็นสารผสม ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ขณะที่ธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งหมด 94 ธาตุ จะได้รับการบ่งชี้ในตัวอย่างแร่จากเปลือกโลก มีเพียงธาตุส่วนน้อยพบเป็นแร่ค่อนข้างบริสุทธิ์ที่สามารถรู้ได้ ส่วน "[[ธาตุธรรมชาติ]]" ที่หาพบได้ง่ายกว่า เช่น ทองแดง [[เงิน (โลหะ)|เงิน]] ทองคำ คาร์บอน (ในรูป[[ถ่านหิน]] [[แกรไฟต์]] หรือ[[เพชร]]) [[กำมะถัน]]และปรอท(ของเหลวที่อยู่ในเทอร์โมมิเตอร์) ธาตุเฉื่อยแทบทั้งหมด เช่น [[แก๊สเฉื่อย]]และโลหะมีตระกูล มักพบบนโลกในรูปผสมทางเคมี เป็น สารประกอบเคมี ขณะที่ธาตุเคมีราว 32 ธาตุ พบบนโลกในรูปไม่ผสมตามธรรมชาติ แต่ธาตุเหล่านี้หลายชนิดเกิดเป็นสารผสม ตัวอย่างเช่น อากาศชั้นบรรยากาศส่วนใหญ่เป็นสารผสม[[ไนโตรเจน]] ออกซิเจนและ[[อาร์กอน]] ธาตุของแข็งตามธรรมชาติยังมักเกิดเป็นสารผสมหลายชนิด เช่น อัลลอยของเหล็กและ[[นิกเกิล]]
 
ประวัติศาสตร์การค้นพบและการใช้ธาตุเคมีเริ่มขึ้นด้วยสังคมมนุษย์ยุคแรกเริ่มที่พบธาตุธรรมชาติอย่างทองแดงหรือทองคำ และสกัด (หลอม) เหล็กและโลหะอื่นบางชนิดจากแร่โลหะนั้น [[นักเล่นแร่แปรธาตุ]]และ[[นักเคมี]]ภายหลังบ่งชี้ธาตุเพิ่มขึ้นอีกมาก ซึ่งธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกือบทั้งหมดเป็นที่ทราบกันใน ค.ศ. 1900 คุณสมบัติของธาตุเคมีมักสรุปโดยใช้[[ตารางธาตุ]](มี 18 หมู่ 7 คาบ) ซึ่งจัดธาตุเรียงตามเลขอะตอม แบ่งเป็นแถว ([[คาบในตารางธาตุ|"คาบ"]]) ซึ่งธาตุที่อยู่ในคอลัมน์ ([[หมู่ในตารางธาตุ|"หมู่"]] เเนวตั้ง) เดียวกันจะมีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเกิดเวียนซ้ำ เกือบทุกธาตุมีประโยชน์ใช้งานสำคัญต่อมนุษย์อย่างน้อยหนึ่งอย่าง ซึ่งอาจอยู่ในรูปบริสุทธิ์หรืออยู่ในสารประกอบเคมีหรือสารผสมหลายชนิด ยกเว้นธาตุกัมมันตรังสีที่มี[[ครึ่งชีวิต]]สั้น ธาตุทั้งหมดหลัง[[ยูเรเนียม]] และรวมไปถึง[[อะเมริเซียม]] ปัจจุบันมีผลิตเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่มีความบริสุทธิ์สูง
 
ประมาณยี่สิบสี่ธาตุมีความสำคัญต่อสิ่งมี[[ชีวิต]]หลายชนิด ธาตุหายากส่วนใหญ่บนโลกไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (ยกเว้น [[เซเลเนียม]]หรือ[[ไอโอดีน]]) ขณะที่ธาตุส่วนน้อยที่พบได้ค่อนข้างทั่วไป (อะลูมิเนียมและ[[ไทเทเนียม]]) ไม่จำเป็น สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่มีความต้องการธาตุร่วมกัน แต่มีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่าง[[พืช]]และ[[สัตว์]] ตัวอย่างเช่น สาหร่ายมหาสมุทรใช้[[โบรมีน]] แต่พืชบกและสัตว์ดูเหมือนไม่ต้องการเลย สัตว์ทุกชนิดต้องการ[[โซเดียม]] แต่พืชบางชนิดไม่ต้องการ พืชต้องการโบรอนและ[[ซิลิกอน]] แต่สัตว์ไม่ต้องการหรืออาจต้องการในปริมาณเล็กน้อยมาก) มีเพียงหกธาตุ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน [[แคลเซียม]] และ[[ฟอสฟอรัส]] ประกอบกันขึ้นเป็นเกือบ 99% ของมวลร่างกายมนุษย์ นอกเหนือไปจากหกธาตุหลักซึ่งประกอบเป็นร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่นั้น มนุษย์ยังต้องการบริโภคธาตุอีกอย่างน้อยสิบสองธาตุ
บรรทัด 33:
** จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุด (valence electron) เท่ากัน
** พลังงาน IE ลดลงจากบนลงล่าง
** ค่า EN (electronegativity) ลดลงเรื่อยๆจากบนลงล่าง
 
* ธาตุในคาบ (period) เดียวกัน
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ธาตุ"