ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอลนีโญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
QueerEcofeminist (คุย | ส่วนร่วม)
Undid edits by 119.76.35.180 (talk) to last version by 125.27.35.71: unexplained content removal
บรรทัด 1:
'''เอลนีโญ''' ({{lang-es|El Niño}} แปลว่าเด็กชาย/ลูกชาย) เป็นรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอด[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]เขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุกห้าปี ลักษณะของเอลนีโญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก โดยอุ่นขึ้นหรือเย็นลงผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า เอลนีโญและ[[ลานีญา]]ตามลำดับ และความดันบรรยากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเขตร้อน ซึ่งเรียกว่า ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้สองกรณี: เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ส่วนลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก<ref name="CPC ENSO">{{cite web | author = [[Climate Prediction Center]] | publisher = [[National Centers for Environmental Prediction]] | title = Frequently Asked Questions about El Niño and La Niña | url = http://www.cpc.noaa.gov/products/analysis_monitoring/ensostuff/ensofaq.shtml#DIFFER | date = 2005-12-19 | accessdate = 2009-07-17}}</ref><ref>{{cite book|title=Climate Change 2007: The Physical Science Basis. Contribution of Working Group I to the Fourth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change|editors=Solomon, S., D. Qin, M. Manning, Z. Chen, M. Marquis, K.B. Averyt, M. Tignor and H.L. Miller|chapter=Observations: Surface and Atmospheric Climate Change|publisher=Cambridge University Press|location=Cambridge,UK|pages=235–336|url=http://www.ipcc.ch/publications_and_data/ar4/wg1/en/ch3.html|author=K.E. Trenberth, P.D. Jones, P. Ambenje, R. Bojariu , D. Easterling, A. Klein Tank, D. Parker, F. Rahimzadeh, J.A. Renwick, M. Rusticucci, B. Soden and P. Zhai}}</ref> กลไกที่ทำให้เกิดความผันแปรดังกล่าวยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย
 
เอลนีโญก่อให้เกิดสภาพอากาศเลวร้าย อย่างเช่น อุทกภัย ภัยแล้ง หรือการรบกวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคของโลก ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีเศรษฐกิจเน้นเกษตรกรรมและการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่แล้ว ปรากฏการณ์เอลนีโญ-ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ มักถูกเรียกย่อเหลือเพียง "เอลนีโญ" ซึ่งเป็นคำใน[[ภาษาสเปน]] ซึ่งแปลว่า "เด็กชาย" และหมายความถึงบุตรพระคริสต์ เนื่องจากมีการสังเกตว่าความอุ่นขึ้นผิดปกตินี้มักเกิดขึ้นในช่วงเทศกาล[[คริสต์มาส]]<ref name="DFG">{{cite web |url=http://www.dfg.ca.gov/marine/elnino.asp |title=El Niño Information |work=California Department of Fish and Game, Marine Region }}</ref> ลักษณะที่เกิดจากเอนโซเป็นไปได้ว่าก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันเป็นผลกระทบของ[[ปรากฏการณ์โลกร้อน]] และเป็นเป้าหมายสำหรับการวิจัยในการนี้
 
== สภาวะปกติ ==
[[ไฟล์:Normal cond.jpg|frame|right|สภาวะปกติ|thumb|306x306px]]
โดยปกติ บริเวณ[[เส้นศูนย์สูตร]]เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ลมสินค้าตะวันออก (Eastery trade winds) จะพัดกระแสน้ำอุ่นจากประเทศเปรู (ชายฝั่ง[[ทวีปอเมริกาใต้]]) ไปทางตะวันตกของ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] แล้วยกตัวขึ้นบริเวณเหนือ[[สาธารณรัฐอินโดนีเซีย|ประเทศอินโดนีเซีย]] โดยจะมีกระแสน้ำเย็นไหลขึ้นมาแทนที่เป็นชั้นๆ [[ชั้นน้ำลึก]], [[ชั้นผสมผิวหน้าน้ำ+น้ำลึก]], [[ชั้นผิวหน้านำ้]] และถูก[[พายุฝน]]พัดเข้า[[เอเชีย]]ทำให้มีฝนตกมากใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]และ[[ทวีปออสเตรเลีย]]ตอนเหนือ กระแสลมสินค้าพัดให้[[กระแสน้ำอุ่น]]บนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันทางตะวันตก จนมีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลปกติประมาณ 80-10060 – 70 เซนติเมตร แล้วจมตัวลง กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรซีกเบื้องล่างเข้ามาแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวซีกตะวันออก นำพาธาตุอาหารจากก้นมหาสมุทรขึ้นมา ทำให้[[แพลงก์ตอน|แพลงตอน]]เจริญเติบโตได้ดีทำให้ปลาชุกชุม เป็นประโยชน์ต่อนกทะเลและการทำประมงชายฝั่งของประเทศ[[เปรู]]
 
== ปรากฏการณ์เอลนีโญ ==
[[ไฟล์:El nino cond.jpg|frame|right|ปรากฏการณ์เอลนีโญ]]
เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลังลง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทางไหลย้อนกลับ พัดจาก[[ประเทศอินโดนีเซีย]]และ[[ประเทศออสเตรเลีย|ออสเตรเลีย]]ตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่ง[[ทวีปอเมริกาใต้]] ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มใน[[ประเทศเปรู]]และ[[ประเทศเอกวาดอร์|เอกวาดอร์]] กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิว[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]ไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ส่งผลกระทบให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้
 
ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]และ[[ประเทศออสเตรเลีย|ออสเตรเลีย]]ตอนเหนือ การที่เกิดไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงใน[[ประเทศอินโดนีเซีย]] ก็เป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญ