ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jong94 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 9107123 สร้างโดย Jong94 (พูดคุย)
บรรทัด 28:
| signature =Signature of Chulalongkorn.svg
}}
'''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช'''<ref>http://www.3armyarea-rta.com/vocation/piya.html</ref>  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็น[[พระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์สยาม]] รัชกาลที่ 5 แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และเป็นพระองค์ที่ 1 ใน[[สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี]] เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 <ref>[http://www.thairath.co.th/content/edu/121125 กก.ชำระประวัติศาสตร์ เผยหลักฐาน ร.5 ทรงครองราชย์ 42 ปี] จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553</ref> เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ด้วย[[โรคไต|โรคพระวักกะ]]
 
== พระราชประวัติ ==
บรรทัด 35:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่ประสูติแต่[[สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี|พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์]] (ในรัชกาลที่ 6 ได้มีการสถาปนาพระบรมอัฐิเป็นสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ครั้งนั้นพระบรมวงศานุวงศ์เสนาบดีเข้าชื่อกันกราบบังคมทูลว่า ทุกวันนี้เจ้าฟ้าก็ไม่มีเหมือนแต่ก่อน ขอให้ยกขึ้นเป็นเจ้าฟ้าอย่างสมัยก่อน จึงพระราชทานพระนามว่า '''เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์'''<ref>[https://vajirayana.org/พระราชพงศาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร์-รัชชกาลที่-๔/๓๑-สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ประสูติเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๓๑. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ประสูติเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์]</ref> ถึงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2404 จึงได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏจารึกพระนามว่า '''สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร''' แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเจ้ากรมเป็น''หมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ''<ref>[https://vajirayana.org/พระราชพงศาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร์-รัชชกาลที่-๔/๑๐๘-พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ-สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ-เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๑๐๘. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์]</ref> ซึ่งคำว่า "จุฬาลงกรณ์" นั้นแปลว่า เครื่องประดับผม อันหมายถึง "[[พระเกี้ยว]]" ที่มีรูปเป็นส่วนยอดของพระมหามงกุฎหรือยอดชฎา
 
พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดารวม 3 พระองค์ ได้แก่ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์]], [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์]] และ[[สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช]]
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนัก[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา|พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา]] ทรงได้รับการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ ภาษาเขมรจากหลวงราชาภิรมย์ ทรงได้การศึกษาการยิงปืนไฟจากพระยาอภัยเพลิงศร