ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอท่ายาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เก็บกวาด
UntilWeMeetAgain (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26:
 
== ประวัติ ==
จากข้อมูลหนังสือเพชรภูมิ เพชรนิวส์. (ม.ป.ป.). กล่าวว่า<ref>เล่าเรื่อง ที่ท่ายาง เมืองเพชรบุรีhttps://web.facebook.com/kngkmnrd/videos/3231484466899557/</ref>
 
“ท่ายาง” เป็นชุมชนที่มีอารยธรรมรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หรือประมาณปี พ.ศ. 2100 มีชุมชนแรก ๆ ก่อตัวกันขึ้นที่บ้านท่าคอย ดั่งมีหลักฐานเป็นโบสถ์มหาอุตม์ และหอระฆังอายุกว่า 400 ปี อยู่ที่วัดท่าคอย (กรมศิลปกรได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2526)
 
“ราวปี พ.ศ.2400 พื้นที่ส่วนใหญ่ของท่ายางเป็นป่าดงดิบและภูเขาสูง มีต้นไม้ใหญ่นานาชนิดขึ้นอยู่ทั่วบริเวณ โดยเฉพาะริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี จะมีต้นยางหรือต้นยางนาขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาในการใช้ตั้งชื่อหมู่บ้านที่ติดริมแม่น้ำว่า “ท่ายาง” “ยางชุม” และ “ยางหย่อง” เส้นทางคมนาคมเป็นเพียงถนนดิน ใช้เป็นทางเดินและทางเกวียน มีชาวกะเหรี่ยง กะหร่าง และชาวไทยอาศัยอยู่ร่วมกันจำนวนหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ.2430 ได้มีชาวจีนโพ้นทะเลจากมณฑลซัวเถา และเกาะไหหลำ อพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่แห่งนี้จำนวนมาก ส่งผลให้ชาวกะเหรี่ยง และชาวกะหร่างที่ไม่ชอบความวุ่นวาย ต้องอพยพร่นถอยไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบพื้นที่ อ.แก่งกระจาน โดยชาวจีนที่อพยพเข้ามาใหม่ส่วนใหญ่จะตั้งชุมชนอยู่บริเวณทางด้านทิศตะวันออกของบ้านท่าคอย ติดริมแม่น้ำเพชรบุรี และได้ร่วมกันก่อสร้าง “ศาลเจ้าพ่อกวนอู” และ “ศาลเจ้าแม่ทับทิม” ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในพื้นที่จนถึงทุกวันนี้”
 
หลังจากชาวจีนโพ้นทะเลเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้ไม่นาน ก็ได้มีราษฎรจากจังหวัดอื่นอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทางราชการต้องตั้งอำเภอขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2436 ที่บริเวณหมู่บ้านวังไคร้ ริมแม่น้ำแม่ประจันต์ ต.วังไคร้ และเรียกว่า “อำเภอแม่ประจันต์” ซึ่งอำเภอแห่งนี้ตั้งอยู่ได้ประมาณ 20 ปี ทางการเห็นว่าอยู่ไกลจากย่านชุมชนจึงได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ต.ยางหย่อง (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 2 ต.ท่าแลง) และเรียกชื่อใหม่ว่า “อำเภอยางหย่อง” แต่ที่แห่งนี้มีโจรผู้ร้ายชุกชุมสร้างความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก ทางการจึงย้ายที่ตั้งอำเภออีกครั้งในปี พ.ศ.2460 โดยย้ายไปตั้งอยู่ในที่หมู่ 1 บ้านท่ายาง บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี แต่ยังคงเรียกอำเภอยางหย่องตามเดิม
 
กระทั่งต่อมาในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2482 ทางการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอยางหย่องเป็น “อำเภอท่ายาง” พร้อมทั้งสร้างสถานบริการสาธารณสุขแห่งแรกคือ “สุขศาลาชั้น 2” มีที่ทำการอยู่บริเวณถนนเพชรเกษม ริมคลองชลประทานสาย 3 ก่อนยกฐานะเป็นสถานีอนามัยชั้น 2, อนามัยอำเภอ, พยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์, สถานีอนามัยชั้น 1, ศูนย์การแพทย์และอนามัย แล้วเปลี่ยนมาเป็น “โรงพยาบาลท่ายาง” และย้ายมาตั้งอยู่ริมถนนสายท่ายาง-บ้านหนองบ้วย จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการสร้างโรงเรียนบ้านท่ายางประชาสรรค์ขึ้นอีก 1 แห่ง พร้อมพัฒนาปรับปรุงเส้นทางเดินและป่ากล้วยขยายเป็นถนนใหญ่เส้นหลักเชื่อมต่อถนนเพชรเกษมที่สามแยกท่ายาง คู่ขนานกับถนนริมน้ำหรือถนนราษฎร์บำรุง
 
ในปี พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์ ได้ส่งหน่วยลาดตระเวนขึ้นรถไฟมาลงที่สถานีรถไฟหนองจอก อ.ท่ายาง สำรวจพื้นที่โดยรอบเพื่อพิจารณาหาเส้นทางเคลื่อนกองทัพบุกเข้าประเทศพม่าและอินเดีย กองทัพญี่ปุ่นเล็งเห็นว่าท่ายางเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ทางรถไฟ ทางน้ำ และถนน จึงได้ก่อสร้างสนามบินขึ้นที่หนองบ้วย(หลังญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามจึงได้โอนสนามบินให้กองทัพอากาศรับผิดชอบ ปัจจุบันเป็นตลาดกลางสหกรณ์การเกษตรหนองบ้วย และสนามกีฬาของเทศบาลตำบลท่ายาง) และใช้พื้นที่บริเวณถนนสาย 19 หรือถนนเพชรเกษมปัจจุบัน สร้างค่ายพักและตำบลรวบรวมเชลยศึก ส่วนใหญ่เป็นชาวออสเตรเลีย เพื่อนำแรงงานไปสร้างทางรถไฟสายมรณะที่กาญจนบุรี ส่งผลให้ชาวบ้านที่อาศัยแถบถนนเพชรเกษมต้องเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ถนนสายหลักบริเวณซอย 1 และซอย 2 เริ่มมีการก่อสร้างอาคารไม้ และตลาดนัดป้าหวานขึ้น เช่นเดียวกับนางไน้ กิมฮะ มารดาของตน ก็ได้ย้ายมาเช่าที่นางบ่วยปลูกบ้านและเปิดเป็นร้าน(ร้านเฉลียวพาณิชย์ปัจจุบัน) ขายของอุปโภค บริโภค เช่นขี้ใต้ น้ำมันจุดตะเกียงสำหรับเรือในแม่น้ำเป็นต้น
 
“ด้วยข้อได้เปรียบของที่ตั้งซึ่งมีความเหมาะสมในหลาย ๆ ด้าน ทำให้ชุมชนท่ายางขณะนั้นเป็นจุดศูนย์กลางทางการค้า และจุดแลกเปลี่ยนสินค้าสำคัญของเพชรบุรี มีชาวบ้านที่ทำไร่ ทำสวนจากพื้นที่เหนือน้ำของอำเภอท่ายาง เช่น แก่งกระจาน หนองเตียน เขาลูกช้าง หนองชุมแสง ท่าขาม ได้ล่องเรือนำผลิตผลทางการเกษตรมาขึ้นที่ท่าน้ำบริเวณศาลเจ้าพ่อกวนอู และศาลเจ้าแม่ทับทิม เพื่อเจรจาซื้อขายกับพ่อค้า แม่ค้าจากเมืองเพชร บ้านลาด และบ้านแหลม ที่นำอาหารทะเลมาขายที่ตลาดป้าบ่วย(บริเวณพื้นที่อาคารพาณิชย์ด้านทิศเหนือของนัดล่างปัจจุบัน) นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงหาบของกระเดียดกระจาด และเข็นรถรุน(รถสาลี่) มาตั้งขายอยู่ทั่วไป และในช่วงเวลาที่กองทัพญี่ปุ่นอยู่ที่ท่ายาง ทหารญี่ปุ่นมักจะขับรถมาจอดบริเวณหน้าอำเภอท่ายางแล้วลงมาจับจ่ายใช้สอยซื้อข้าวของที่ตลาดกันอย่างคึกคักอีกด้วย”
 
เวลาล่วงเลยมากว่า 10 ปี ภาพชุมชนท่ายางที่เคยรุ่งเรืองและเต็มไปด้วยบ้านเรือนและร้านค้าได้มลายหายไปชั่วพริบตาในช่วงปี พ.ศ. 2495 เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ใหญ่ตลาดท่ายาง รถดับเพลิงไม่สามารถเข้าไปได้ ส่งผลให้เพลิงลุกไหม้เผาผลาญบ้านเรือนเสียหายทั้งหมด ชาวบ้านในชุมชนต้องสิ้นเนื้อประดาตัว บ้านก็ไม่มีที่ซุกหัวนอน ทรัพย์สินเงินทองของมีค่าก็ไม่มีติดตัว ทำให้ต่างคนต้องพยายามดิ้นรนออกไปรับจ้างทำงานทุกอย่าง ทั้งรับจ้างทำไร่ ขายของเร่ตามงาน บ้างก็รับจ้างล้างไม้ฝาบ้านเพื่อจะได้ฝาบ้านที่เหลือเป็นค่าจ้าง และเมื่อได้เงินพอก็นำมาปลูกสร้างบ้านแทนบ้านเดิม ส่วนนางไน้ แม่ของตนก็ได้นำเงินทุนจากการรับจ้างมาปลูกสร้างอาคารไม้พาณิชย์จำนวน 3 ห้องเช่นกัน
 
หลังไฟไหม้ใหญ่ในครั้งนั้น ชุมชนท่ายางตกอยู่ในสภาวะเงียบเหงา ไม่คึกคักเหมือนก่อน ภาพในช่วงเย็นย่ำค่ำสนธยาที่เคยมีชาวบ้านมารวมกลุ่มหาความบันเทิงด้วยการสีซอร้องเพลงหรือสนทนากันอยู่หน้าบ้านก็ไม่มีให้เห็น กระทั่งในช่วงปี พ.ศ.2511 ความเจริญเริ่มเข้ามาเยือน ไฟฟ้าประปาก็เริ่มเข้ามามีใช้ ผู้มีอันจะกินอย่าง เจ๊นที เจ๊แหม่ม และ บ้านหมอแขก ได้ซื้อโทรทัศน์ขาวดำมาดูเป็นบ้านแรก ๆ สถานีโทรทัศน์ในยุคนั้นมีเพียง 2 ช่อง คือช่อง 4 และช่อง 7
 
ต่อมาไม่นานมีผู้มาลงทุนสร้างวิกหนังหรือโรงภาพยนตร์ชื่อ “เกษมสุข” ขึ้นที่นัดบน(ปัจจุบันไม่ได้เปิดทำการฉายแล้ว) และวิก “เฉลิมชาติ” หรือ “วิกตาชาติ” ที่ถนนใหญ่ (ปัจจุบันรื้อไปแล้ว) ค่าดูหนังแต่ละเรื่องเด็ก 1 บาท ผู้ใหญ่ 2 บาท เด็ก ๆ คนไหนไม่มีเงินซื้อตั๋วหนังก็จะไปคอยยืนอยู่ที่ปากประตู เพื่อรอให้ผู้ใหญ่พาเข้าไปในลักษณะแถม ขณะนั้นข้าวแช่ถ้วยละ 1 สลึง กล้วยทอดห้าชิ้นสลึง โอเลี้ยงถ้วยละ 3 สลึง น้ำอัดลมขวดละ 1 บาท นอกจากนี้ในแต่ละเทศกาลก็มีหนังกลางแปลง และงิ้วที่หน้าศาลเจ้าพ่อและศาลเจ้าแม่อยู่เป็นประจำ
 
“มีอยู่ครั้งหนึ่งราวปี พ.ศ.2513 วงดนตรีศิษย์สุรพลมาเปิดแสดงที่ อ.ท่ายาง มีแฟนเพลงผู้หญิงคนหนึ่งเข้าไปปรารภกับคุณพนมไพร ลูกเพชร นักแต่งเพลงว่าเห็นมีแต่เพลงเอ่ยถึงสาวจังหวัดอื่น ๆ ไม่เห็นมีเพลงที่เกี่ยวกับสาวท่ายางเลย ประกอบกับช่วงนั้นเพื่อนคุณพนมไพรคนหนึ่งกำลังหลงรักสาวท่ายางอยู่ด้วย คุณพนมไพรจึงแต่งเพลงสาวท่ายางตามคำแนะนำของแฟนเพลงคนดังกล่าว เป็นเพลงที่คนเมืองเพชรและชาวท่ายางนิยมฟังกันมากในยุคนั้น” (หนังสือเพชรภูมิ เพชรนิวส์.)
 
จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี.<ref>https://district.cdd.go.th/thayang/about-us/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2/</ref> (2559). กล่าวว่า
 
เมื่อปี พ.ศ. 2435 ภูมิประเทศด้านตะวันตกของอำเภอโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบและภูเขาสูง มีไม้ใหญ่ ๆ มากมาย เช่น [[ไม้ยาง]] [[ไม้มะค่า]] [[ไม้ตะเคียน]] ฯลฯ จนได้รับการเรียกขานว่า "ท่ายาง" สภาพท้องที่เป็นป่าใหญ่ มีไข้[[มาลาเรีย]]ชุกชุม ราษฎรที่อาศัยอยู่เป็นชาว[[กะเหรี่ยง]]และ[[กะหร่าง]] ส่วนภูมิประเทศด้านตะวันออกจรดชายฝั่งทะเล[[อ่าวไทย]] เป็นที่ราบลุ่มและดินปนทราย เหมาะแก่การ[[เกษตรกรรม]]
 
ต่อมามีราษฎรจากจังหวัดอื่นเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินเป็นจำนวนมาก และมีผู้อพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ใน พ.ศ. 2436 ทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นที่หมู่บ้านวังไคร้ ริม[[แม่น้ำแม่ประจันต์]] [[ตำบลวังไคร้]] เรียกว่า '''อำเภอแม่ประจันต์''' ในพ.ศ. 2453 ได้สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่ประจัน เมืองเพชรบุรี<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/490.PDF แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่ประจัน เมืองเพชรบุรี] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ ตอนที่ ๐ ง ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๓ หน้าที่ ๔๙๐ </ref>
 
'''อำเภอแม่ประจันต์'''ตั้งอยู่ได้ประมาณ 20 ปี ทางการเห็นว่าอยู่ไกลจากย่านชุมชนจึงได้ย้ายมาตั้งที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลยางหย่อง (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 2 ตำบลท่าแลง) และเรียกชื่อว่า '''อำเภอยางหย่อง''' ตั้งอยู่ได้นานประมาณ 2 ปี จึงได้ย้ายมาตั้งที่หมู่ที่ 1 บ้านท่ายาง ริมฝั่ง[[แม่น้ำเพชรบุรี]]เมื่อราวปี พ.ศ. 2460 แต่ยังเรียกอำเภอยางหย่องตามเดิม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2482 จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า '''อำเภอท่ายาง'''<ref>{{cite journal|journal=Royal Gazette|volume=56|issue=0 ก|pages=354–364|title=พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/A/354.PDF|date=April 17 1939}}</ref> เพื่อให้ตรงกับหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งจนกระทั่งทุกวันนี้ (สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. 2559)
 
== ภูมิศาสตร์ ==
เส้น 78 ⟶ 102:
* [[ผาน้ำหยด]]
* [[วัดเกษมสุทธาราม]]
* โบสถ์มหาอุดมหาอุตม์ [[วัดท่าคอย (เพชรบุรี)|วัดท่าคอย]]
* [[วัดชายนา]]
* [[ตลาดริมน้ำท่าน้ำข้ามภพ]]