ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 6 ตุลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 342:
ประวัติศาสตร์กระแสหลักแทบไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา ในปี 2562 หนังสือพิมพ์''ประชาไท'' ได้สำรวจแบบเรียนสังคมศึกษาระดับมัธยมจำนวน 23 เล่ม ที่ใช้หลักสูตรปี 2544, 2559 และ 2560 มี 17 เล่ม (74%) ที่ไม่กล่าวถึงเลย, 2 เล่ม (8.5%) กล่าวถึงในลักษณะพาดพิงเท่านั้น, 4 เล่ม (17.5%) ให้รายละเอียดและบริบทมากน้อยต่างกัน<ref>[https://prachatai.com/journal/2019/01/80694#_ftnref4 ฉันไม่รู้จัก 6 ตุลา (1): สำรวจแบบเรียน-ความเข้าใจของนักเรียนไทยในปี 2562]</ref> ตัวอย่างของความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีอยู่น้อย เช่น การระบุว่าภาพที่ถ่ายโดยนีล อูเลวิชนั้น เป็นภาพถ่ายร่างของวิชิตชัย อมรกุล ซึ่งเพิ่งมาทราบว่าผิดเมื่อโครงการ 6 ตุลาตีแผ่<ref name="ไม่รู้">[https://prachatai.com/journal/2019/01/80738 ฉันไม่รู้จัก 6 ตุลา (2): นักสืบประวัติศาสตร์ผู้(กำลัง)ทำงานแข่งกับเวลา]</ref> ศาสตราจารย์ [[ธงชัย วินิจจะกูล]] หนึ่งในผู้ประท้วงนักศึกษา เขียนว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาเป็นเหตุการณ์ที่อยู่ผิดที่ทางในประวัติศาสตร์นิพนธ์ของไทย เพราะเบี่ยงเบนไปจากวาทกรรมปกติอย่างมาก ส่วนหนึ่งเพราะไทยฆ่ากันเองอย่างรุนแรงจนบุคคลทั่วไปคาดไม่ถึง และเป็นการกระทำในนามของสามสถาบันหลักของไทย ทั้งยังสั่นคลอนความเชื่อว่าประเทศไทยมีแต่ความสงบสุข<ref name="Thongchai-2002" />{{RP|265}} แม้แต่ชื่อ "เหตุการณ์ 6 ตุลา" ก็ยังกำกวมเพราะส่อความเลื่อนลอยและบดบังอดีต<ref name=Thongchai-2002>Thongchai Winichakul (2002). "[https://www.academia.edu/9881279/2002_Remembering_Silencing_the_Traumatic_Past_the_Ambivalent_Memories_of_the_October_1976_Massacre_in_Bangkok_ Remembering/ Silencing the Traumatic Past]". In Shigeharu Tanabe and Charles F. Keyes eds., ''Cultural Crisis and Social Memory: Modernity and Identity in Thailand and Laos''. Honolulu: University of Hawaii Press.</ref>{{RP|265}} ประวัติศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ของเหตุการณ์ไม่อาจเขียนขึ้นภายใต้[[ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]]<ref name="Thongchai-2002" />{{RP|253}} ธงชัยเสนอเหตุผลที่ทำให้ไม่มีประวัติศาสตร์สาธารณะของเหตุการณ์ 6 ตุลาว่าส่วนหนึ่งเพราะเหตุการณ์นี้เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ไม่ได้มีผู้ร้ายเป็นเผด็จการทหารฝ่ายเดียวเหมือนกับ[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]] จึงมักมีการแบ่งแยกสองเหตุการณ์นี้ นอกจากนี้แม้สังคมไทยจะเปลี่ยนทัศนคติจากที่มองว่านักศึกษากระทำผิดเป็นเหยื่อ แต่กระแสหลักของสังคมกำหนดให้เลิกตั้งข้อสงสัยต่าง ๆ "เพื่อสมานฉันท์สังคม"<ref name="ใจ"/>{{rp|23}} อนุสรณ์ในปี 2539 เป็นการหยุดการปิดปากเงียบที่สำคัญ แต่ยังงดกล่าวถึงกองทัพหรือองค์การอนุรักษนิยม<ref name="Thongchai-2002" />{{RP|274}} แม้แต่การประณามความรุนแรงโดยรัฐก็เลี่ยงไม่โทษบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพียงยกย่องการเสียสละตนของผู้เสียหายเท่านั้น<ref name="Thongchai-2002" />{{RP|274–5}} ด้านไทเรล ฮาเบอร์คอร์น สันนิษฐานว่า เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช]]เสด็จสวรรคตในปี 2559 คงทำให้เอ่ยถึงผู้ลงมือได้ยากยิ่งขึ้นเพราะรัชกาลของพระองค์จะถูกทำให้เป็นอุดมคติ<ref name="tyrell">{{cite journal |last1=Haberkorn |first1=Tyrell |title=The Anniversary of a Massacre and the Death of a Monarch |journal=The Journal of Asian Studies |date=2017 |volume=76 |issue=2 |page=269 |doi=10.1017/S0021911817000018 |url=http://bellschool.anu.edu.au/sites/default/files/publications/attachments/2017-06/tyrell_haberkorn_2017_anniversary_of_a_massacre_and_the_death_of_a_monarch.pdf |accessdate=3 April 2020}}</ref>{{rp|271}}
 
มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519" ราวเดือนกรกฎาคม 2543 โดยมีศาสตราจารย์ (พิเศษ) ชลธิชา สัตยาพัฒนาเป็นประธาน คณะกรรมการฯ ได้รับฟังข้อมูลจากผู้มาให้ปากคำ 62 คนในเดือนกันยายน 2543<ref name="ใจ"/>{{rp|8–9}} ประกอบกับใช้หลักฐานอื่น เช่น คำให้การของตำรวจ แหล่งข้อมูลตีพิมพ์ และเทปบันทึกภาพและเสียง จนได้รายงานออกมาสองเล่ม คือ ''อาชญกรรมรัฐ ในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง'' และ ''กรีดแผล กลัดหนอง กรองความจริง โดยผู้หญิง 6 ตุลาฯ''<ref name="ใจ"/>{{rp|10}} ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการ ''ฟ้าเดียวกัน'' เป็นผู้พบเอกสารที่หอจดหมายเหตุของสำนักงานอัยการสูงสุดเมื่อราวปี 2540 แล้วคัดลอกออกมาเท่าที่ได้<ref name="ไม่รู้"/> พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งโครงการหอจดหมายเหตุ (archive) "บันทึก 6 ตุลา"<ref name="bkp"/> การค้นหาข้อมูลของโครงการฯ ได้ชุดภาพถ่ายของเหตุการณ์จากหลายแหล่ง ส่วนหนึ่งได้มาจากแฟรงค์ ลอมบาร์ด อดีตนักข่าวสถานีวิทยุนิวซีแลนด์ที่เป็นภาพสีถ่ายด้วยตนเอง ส่วนหนึ่งได้มาจากปฐมพร ศรีมันตะ ซึ่งได้มาจากผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง เมื่อดูจากมุมมองที่ถ่ายแล้วน่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐถ่าย<ref name="ไม่รู้"/> ข้อมูลจากเอกสารชันสูตรพลิกศพของ[[โรงพยาบาลศิริราช]]ทำให้สามารถระบุรูปพรรณของผู้ถูกแขวนคอได้อีก 1 คน<ref name="ไม่รู้"/> การค้นหาข้อมูลจากเอกสารราชการเพิ่มเติมอาจไม่สามารถกระทำต่อไปได้แล้วเพราะกฎหมายให้ทำลายเอกสารราชการที่มีอายุเกิน 25 ปี<ref name="ไม่รู้"/> สำหรับการสืบสวนหลักฐานที่มูลนิธิร่วมกตัญญูพบว่าภาพถ่ายเหตุการณ์ถูกทำลายไปแล้วในปี 2535<ref name="ไม่รู้"/> ส่วนมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งไม่อนุญาตให้เข้าถึงภาพนั้นเพราะเป็นเรื่องการเมือง<ref name="ไม่รู้"/> ภัทรกรติดต่อญาติผู้เสียชีวิตเพื่อขอสัมภาษณ์ พบว่ามีปฏิกิริยาทั้งยินดี โกรธ กลัวและเย็นชา บางครอบครัวมองว่าการเปิดเผยข้อมูลไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร ส่วนบางครอบครัวบอกว่าต้องการความจริง<ref>[https://prachatai.com/journal/2016/10/68177 40 ปีผ่าน เจอข้อมูลใหม่ 6 ตุลา! คนถูกแขวนคอสนามหลวงมีมากกว่า 2 คน]</ref> ภาพถ่ายของอูเลวิชเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดภาพยนตร์และลครละครเวทีหลายเรื่อง และกลายเป็น[[อินเทอร์เน็ตมีม]]เสียดสีที่ใช้กับความคิดเชิงต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์<ref>{{cite news|last1=Rithdee|first1=Kong|title=In the eye of the storm|url=http://www.bangkokpost.com/lifestyle/art/1098817/in-the-eye-of-the-storm|accessdate=5 October 2016|work=Bangkok Post|publisher=Post Publishing|date=30 September 2016}}</ref> ความพยายามตามหาชายที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ปรากฏในภาพของอูเลวิชในปี 2560 นั้นไม่เป็นผล<ref>[https://prachatai.com/english/node/7726 Puangthong Pawakapan : A Record of the Search for the Chair Man]</ref> ในปี 2562 พวงทองนำประตูแดงอันเป็นที่พบศพพนักงานการไฟฟ้าในจังหวัดนครปฐมมาเก็บไว้เป็นหลักฐานประวัติศาสตร์<ref>[https://prachatai.com/journal/2019/06/83050 รื้อประตูแดงชนวนเหตุ ‘6 ตุลา’ รอแสดงนิทรรศการบันทึกความรุนแรงรัฐต่อ ปชช.]</ref>
 
[[สมัคร สุนทรเวช]]ปฏิเสธว่าไม่เคยมีการสังหารหมู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาว่ามีผู้เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุเพียงคนเดียว โดยอ้างถึง "ชายโชคร้ายคนหนึ่งถูกทุบตีและเผาที่สนามหลวง" (คือศิลปิน [[มนัส เศียรสิงห์]] ซึ่งร่างถูกลากออกมาจากกองศพและถูกตัดแขนขาต่อหน้าผู้เห็นเหตุการณ์ที่ยืนเชียร์)<ref name="Samak">[http://edition.cnn.com/2008/WORLD/asiapcf/02/18/talkasia.samak/index.html Interview with Samak Sundaravej] (recovered 8:06 PM 2/22/2008)</ref><ref>Bryce Beemer, [http://www2.hawaii.edu/~seassa/explorations/v1n1/art6/v1n1-frame6.html Forgetting and Remembering "Hok Tulaa", the October 6 Massacre]</ref>