ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 6 ตุลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 310:
สุวรรณ แสงประทุมกับพวกรวม 18 คนที่ถูกจำคุกมาตั้งแต่แรกโดยไม่มีการตั้งข้อหา จนถูกฟ้องฐานก่อกบฏ ก่อจลาจล ต่อสู้และพยายามฆ่าเจ้าหน้าที่รัฐ และรวมกันกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ และอีก 1 คนถูกฟ้องศาลพลเรือนข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ<ref name="ฝ่ายขวา"/>{{rp|434}} คดีเริ่มในศาลทหารตามคำสั่งของคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2520 หรือประมาณ 10 เดือนหลังถูกจับ รัฐบาลกำหนดให้ต้องหาไม่มีสิทธิใช้ทนายความ แต่มีผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศเข้าร่วมสังเกตการณ์ในดดีเพื่อให้เกิดความโปร่งใส<ref name="Thongchai-2002" />{{RP|254}} ต่อมา หลังรัฐบาลธานินทร์ล้มไป นักวิชาการและผู้นำพลเรือน ทนายความ ชาวไทยในต่างประเทศ รัฐและองค์การระหว่างประเทศจำนวนมากเข้าชื่อเรียกร้องให้นิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดี<ref name="Thongchai-2002" />{{RP|254}} ผู้ต้องหาค่อยได้รับอนุญาตให้มีทนายความ<ref name="ฝ่ายขวา"/>{{rp|434}} การพิจารณาคดีทุกครั้งมีผู้เข้าร่วมนับพันคน ข้อเท็จจริงได้รับการเปิดเผยมากขึ้น ฝ่ายผู้เกี่ยวข้องได้รับการชี้ความผิดและข้อน่าสงสัยจนเป็นผู้เสียประโยชน์เอง<ref name="ฝ่ายขวา"/>{{rp|434–5}}
 
รัฐบาลเร่งผ่านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ กรณี 6 ตุลาอย่างรวดเร็วจนตราในวันที่ 16 กันยายน 2521<ref name="ฝ่ายขวา"/>{{rp|435}} จำเลยในคดีถูกปล่อยตัวและถอนข้อหาทั้งหมด<ref name=Haberkorn-2015>Haberkorn, Tyrell (2015). "The Hidden Transcript of Amnesty: The 6 October 1976 Massacre and Coup in Thailand". ''Critical Asian Studies'', Vol. 47, No. 1.</ref>{{RP|44}} นับเป็นการเคลื่อนไหวทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สังหารหมู่และรัฐประหารไม่ต้องถูกดำเนินคดีใด ๆ ในอนาคต<ref name=Haberkorn-2015/>{{rp|64}} กฎหมายยังระบุด้วยว่าจำเลยกระทำความผิดเนื่องจากด้อยประสบการณ์<ref name="Thongchai-2002" />{{RP|254}} เกรียงศักดิ์ย้ำว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานอภัยโทษให้ จำเลยควรสำนักสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเตือน "ไม่ให้ผิดซ้ำอีก"<ref name="Thongchai-2002" />{{RP|254}}
 
=== ปฏิกิริยาและมติมหาชน ===