ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงชาติไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 9086797 โดย Jeabbabe: obvious nonsenseด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 96:
# การมีสีของสถาบันพระมหากษัตริย์ในธงชาติ จะเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงพระองค์ในวาระที่ชาติสยามเข้าสู่เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ
 
พระองค์ได้ทรงทดลองเขียนแบบธงตามบทความดังกล่าวแล้วทรงเห็นว่างดงามดีและเห็นด้วยกับบทความดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีน้ำเงินนั้นนอกจากจะเป็นสีแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์แล้วยังเป็นสีทรงโปรดเพราะเป็นสิริแก่พระชนมวารตามคติโหราศาสตร์ไทยอีกด้วย<ref>ดูรายละเอียดเรื่องสีประจำวันเกิดตามหลักภมูทักษาในคติโหราศาสตร์ไทยได้ที่ http://horoscope.sanook.com/41909/</ref> ต่อมาทรงมอบหมายให้[[เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)|เจ้าพระยารามราฆพ]] (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาประสิทธิศุภการ)]] เข้าเฝ้า[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]] เสนาธิการทหารบกในเวลานั้น เพื่อนำแบบธงไปถวายเพื่อทูลขอความเห็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นั้นทรงเห็นชอบเช่นกัน และมีรับสั่งว่าถ้าเปลี่ยนในขณะนั้นจะได้เป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วย รัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีภูริปรีชา เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ร่างประกาศแก้แบบธงชาติ และได้ทรงนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะเสนาบดีเพื่อฟังความเห็น ที่ประชุมลงมติเห็นชอบแบบธงชาติสยามที่คิดขึ้นใหม่ และประกาศใช้ตามความในธงพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460 เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460
 
ธงชาติแบบใหม่นี้ได้อวดโฉมต่อสายตาชาวโลกครั้งแรกใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ซึ่งกองทหารอาสาของไทยได้ใช้เชิญไปเป็น[[ธงไชยเฉลิมพล]]ประจำหน่วย อย่างไรก็ตาม ธงไตรรงค์ที่สร้างขึ้นสำหรับกองทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นไม่ใช่ลักษณะอย่างธงไตรรงค์ตามที่กำหนดให้ใช้ในปัจจุบันและโดยทั่วไป แต่มีการเพิ่มรูปสัญลักษณ์พิเศษลงในธงด้วย โดยด้านหน้าธงนั้นเป็นรูป[[ช้างเผือก]]ทรงเครื่องยืนแท่นในวงกลมพื้นสีแดง ลักษณะอย่างเดียวกับ[[ธงราชนาวีไทย]] (ทั้งนี้กำหนดแบบใหม่ให้ใช้พร้อมกันในคราวประกาศเปลี่ยนธงชาติด้วย) ด้านหลังเป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ร.ร. ๖ สีขาบ ภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมีสีเหลืองในวงกลมพื้นสีแดง ที่แถบสีแดงทั้งแถบบนแถบล่างทั้งสองด้านจารึก[[พระคาถาพาหุง|พุทธชัยมงคลคาถา]]บทแรก ([[ภาษาบาลี]]) เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทหารอาสาของไทยใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] โดยัชกาลที่โดยรัชกาลที่ 6 ด้ได้พระราชนิพนธ์แก้ไขในตอนท้ายจาก "ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ" (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน) เป็น "ตนฺเตชสา ภวตุ เม ชยสิทฺธินิจฺจํ" (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยชนะจงมีแก่ข้าพเจ้าเสมอ)
 
{{Clear}}