ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 167:
|latitude=|longitude=
}}
'''การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563''' เป็นการประท้วงที่กำลังดำเนินอยู่ต่อรัฐบาลนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] แรกเริ่มเกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบ[[พรรคอนาคตใหม่]]ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 การประท้วงเกิดขึ้นในพื้นที่สถานศึกษาทั้งหมด และหยุดไปช่วงหนึ่งจาก[[การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563|การระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019COVID-19 ในประเทศไทย]] และมีการออกคำสั่งปิดสถานศึกษาเพื่อควบคุมโรค
 
การประท้วงกลับมาอุบัติขึ้นอีกครั้งในวันที่ 18 กรกฎาคม ในรูปแบบการเดินขบวนซึ่งจัดระเบียบภายใต้กลุ่ม "เยาวชนปลดแอก" ในพื้นที่[[กรุงเทพมหานคร]] มีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,500 คน นับเป็นการชุมนุมใหญ่สุดในรอบ 6 ปี มีการยื่นข้อเรียกร้อง 3 ประการต่อรัฐบาล ได้แก่ ให้ยุบ[[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25|สภาผู้แทนราษฎร]] หยุดคุกคามประชาชน และร่าง[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย|รัฐธรรมนูญ]]ฉบับใหม่ การประท้วงในเดือนกรกฎาคมนั้นเกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด-19 และการบังคับใช้[[พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548]] (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) นับแต่นั้นทำให้ต่อมาการประท้วงได้ลามไปอย่างน้อย 44 จังหวัดทั่วประเทศ จนวันที่ 3 สิงหาคม กลุ่มผู้ประท้วงจัดปราศรัยเกี่ยวกับประเด็นพระราชอำนาจและเพิ่มข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ นำไปสู่การจับกุมตัวผู้ประท้วง 2 คน เหตุการณ์นี้ทำให้สื่อเรียกว่า "ขยายเพดาน"
 
หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ประเด็นพระราชอำนาจดูเหมือนเข้ามารวมอยู่ในเป้าหมายการประท้วงด้วย กลุ่มประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลจัดการชุมนุมตอบโต้ โดยกล่าวหาผู้ประท้วงว่าถูกยุยงปลุกปั่นมีเจตนาแฝงล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนนักวิชาการจำนวนหนึ่งและ[[พรรคก้าวไกล]]ออกแถลงการณ์สนับสนุนสิทธิในการเรียกร้องของผู้ประท้วง ราวกลางเดือนกันยายน 2563 มีการเสนอเตรียมจัดเสวนาสาธารณะในสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ นับเป็นการอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ การประท้วงในวันที่ 19 กันยายนมีผู้เข้าร่วม 20,000–100,000 คนและสื่อต่างประเทศขนานนามว่าเป็นการต่อต้านพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเปิดเผย หลังรัฐสภาลงมติเลื่อนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในปลายเดือนกันยายนทำให้เกิดการแสดงออกนิยมสาธารณรัฐอย่างเปิดเผยหมู่ครั้งแรกในประเทศไทย วันที่ 15 ตุลาคม นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร โดยอ้างเหตุขวางขบวนเสด็จฯ แต่ก็ถูกกล่าวหาว่าทางการจงใจจัดขบวนเสด็จฯ ฝ่าผู้ชุมนุม
บรรทัด 182:
[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562]] ถูกมองว่า "เสรีบางส่วนและไม่เป็นธรรม" และเป็นอำนาจนิยมแบบมีการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism)<ref name=":02">{{Cite journal|last=Sawasdee|first=Siripan Nogsuan|date=2019-12-12|title=Electoral integrity and the repercussions of institutional manipulations: The 2019 general election in Thailand|url=http://dx.doi.org/10.1177/2057891119892321|journal=Asian Journal of Comparative Politics|volume=5|issue=1|pages=52–68|doi=10.1177/2057891119892321|issn=2057-8911}}</ref> ทำให้ คสช. สิ้นสุดลงแต่ในนาม อย่างไรก็ดี ระบบการเมืองเดิมยังดำเนินต่อในรูปพรรคทหารแบบประเทศเมียนมาร์<ref name=":02" /> กองทัพยังคงดำเนินนโยบายและปฏิบัติตามคำสั่งของ คสช. พรรคร่วมรัฐบาลประกอบด้วยพรรคที่สนับสนุนประยุทธ์และพรรคเล็กที่ได้รับผลประโยชน์จากการตีความกฎหมายเลือกตั้งโดย[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)|คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช.<ref name=":0" /> อีกทั้งยังมีพรรคพวกใน[[วุฒิสภาไทย|วุฒิสภา]] [[ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)|ศาลรัฐธรรมนูญ]] [[องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย|องค์กรตามรัฐธรรมนูญต่าง ๆ]] และเจ้าหน้าที่ใน[[เขตการปกครองของประเทศไทย|ราชการปกครองส่วนท้องถิ่น]] ที่ถูกแต่งตั้งตามกลไกของ คสช. ผู้มีอำนาจจำนวนมาก รวมทั้งผู้มีส่วนในอาชญากรรมที่มีการจัดตั้ง (organized crime) ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสำคัญ<ref name=":02" /><ref>{{Cite journal|last=McCargo|first=Duncan|date=2019|title=Southeast Asia's Troubling Elections: Democratic Demolition in Thailand|url=http://dx.doi.org/10.1353/jod.2019.0056|journal=Journal of Democracy|volume=30|issue=4|pages=119–133|doi=10.1353/jod.2019.0056|issn=1086-3214}}</ref><ref>{{Cite journal|last=McCargo|first=Duncan|last2=Alexander|first2=Saowanee T.|date=2019|title=Thailand's 2019 Elections: A State of Democratic Dictatorship?|url=http://dx.doi.org/10.1353/asp.2019.0050|journal=Asia Policy|volume=26|issue=4|pages=89–106|doi=10.1353/asp.2019.0050|issn=1559-2960}}</ref>
 
ระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2562 พรรคอนาคตใหม่ได้รับเสียงตอบรับดีจากผู้มีความคิดก้าวหน้าและเยาวชน ซึ่งมองว่าเป็นทางเลือกสำหรับพรรคการเมืองแบบเก่าและต่อต้าน คสช.<ref>{{Cite journal|last=McCARGO|first=DUNCAN|date=2019|title=Anatomy: Future Backward|url=https://www.jstor.org/stable/26798844|journal=Contemporary Southeast Asia|volume=41|issue=2|pages=153–162|doi=10.2307/26798844|issn=0129-797X}}</ref> เผยให้เน้นการแบ่งแยกทางเศรษฐกิจและสังคมตามรุ่นวัย<ref name=":02" /> หลังรัฐบาลผสมอายุได้ 11 เดือน [[พรรคอนาคตใหม่]]ซึ่งเป็นฝ่ายค้านถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคในห้วงที่[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]]กำลังมี[[การอภิปรายไม่ไว้วางใจ|ญัตติไม่ไว้วางใจ]]รัฐบาล<ref>{{Cite web|last=News|first=A. B. C.|title=Court in Thailand orders popular opposition party dissolved|url=https://abcnews.go.com/International/wireStory/thai-court-orders-popular-opposition-party-dissolved-69120382|access-date=2020-08-23|website=ABC News|language=en}}</ref> อดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่เปิดโปงการมีส่วนร่วมของรัฐบาลใน [[1MDB]]<ref name="bbc32">{{Cite web|date=2020-02-28|title=แฟลชม็อบนักเรียน-นักศึกษา ประกายไฟในกระทะ หรือ เพลิงลามทุ่ง|trans-title=Student flash mobs: sparks in pan or spreading fire?|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-51640629|url-status=live|access-date=2020-07-25|website=BBC Thai}}</ref>
 
=== สาเหตุพื้นเดิม ===
ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระราชอำนาจเพิ่มขึ้นกว่าพระราชอำนาจตามประเพณีที่ทรงอำนาจอยู่แล้วนับแต่รัชกาลก่อน พระองค์ทรงมีความเห็นในรัฐธรรมนูญ และนำไปสู่การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญทั้งที่ผู้ออกเสียงลงคะแนนรับร่างรัฐธรรมนูญนั้นแล้ว<ref>{{Cite news|date=2017-01-13|title=Thai parliament approves king's constitutional changes request, likely delaying elections|language=en|work=Reuters|url=https://www.reuters.com/article/us-thailand-king-constitution-idUSKBN14X0IF|access-date=2020-08-23}}</ref> ในปี พ.ศ. 2561 มีการแก้ไขให้พระองค์เป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งตามกฎหมายถือว่าเป็นของสาธารณะ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 คณะรัฐมนตรีชุดใหม่สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง โดยสมาชิกคณะรัฐมนตรีนั้นกล่าวสวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ได้กล่าวถึงรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นการละเมิดการสาบานก่อนเข้ารับตำแหน่งโดยไม่ยอมกล่าวแก้ไข<ref name=":0" /> ในปี พ.ศ. 2563 รัฐบาลโอนหน่วยทหาร 2 หน่วยให้เป็นส่วนราชการในพระองค์ ซึ่งดูเหมือนว่ากระทำในพระปรมาภิไธย<ref>{{Cite web|date=2017-05-02|title=Thai king takes control of five palace agencies|url=https://www.businesstimes.com.sg/government-economy/thai-king-takes-control-of-five-palace-agencies|access-date=2020-08-23|website=The Business Times|language=en}}</ref> ในช่วงเดียวกัน พระองค์ยังถูกกล่าวหาว่าพยายามลบประวัติศาสตร์ โดยมีการทำลายอนุสรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ[[คณะราษฎร]]และ[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]]<ref name=":0" />
 
การใช้บังคับ[[ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย|กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย]]เป็นหัวข้อถกเถียงมาตั้งแต่รัชกาลก่อน จำนวนคดีได้เพิ่มสูงสุดหลังรัฐประหารปี พ.ศ. 2557<ref name="2014highest">[http://prachatai.com/english/node/4218 2014 coup marks the highest number of lèse-majesté prisoners in Thai history]. ''Prachatai''.</ref> นักวิจารณ์มองว่ากฎหมายนี้เป็นอาวุธทางการเมืองที่ใช้ปราบปรามผู้เห็นต่าง และจำกัดเสรีภาพในการพูด แม้ไม่มีคดีใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ซึ่งประยุทธ์กล่าวว่าทรงเป็นพระราชประสงค์ แต่ก็มีการใช้กฎหมายความมั่นคงอื่นแทน เช่น กฎหมาย[[การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง]] (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116), [[พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550]] หรือความผิดฐานอั้งยี่ ซึ่งทั้งหมดล้วนมีโทษร้ายแรงพอ ๆ กับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 การบังคับสูญหายของ[[วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์]] ซึ่งสันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ในประเทศกัมพูชา ได้รับความสนใจและเห็นใจในโลกออนไลน์<ref>{{Cite news|last=Wright|first=George|last2=Praithongyaem|first2=Issariya|date=2020-07-02|title=The satirist who vanished in broad daylight|language=en-GB|work=BBC News|url=https://www.bbc.com/news/world-asia-53212932|access-date=2020-08-23}}</ref>
 
=== เหตุการณ์ประจวบ ===
{{ดูเพิ่มที่|การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563}}
รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม และสั่งเคอร์ฟิวเพื่อจำกัดการระบาด รัฐบาลยังสั่งงดเดินทางเข้าประเทศจากต่างประเทศ<ref>{{Cite web|url=https://thethaiger.com/coronavirus/cv19-news-and-updates/national-curfew-announced-takes-effect-tomorrow|title=National curfew announced. Takes effect tomorrow.|first=Greeley|last=Pulitzer|date=2 April 2020|website=The Thaiger}}</ref> แม้ประเทศค่อนข้างประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคแล้ว เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุขที่ทนทาน<ref>{{Cite web|last=Abuza|first=Zachary|date=21 April 2020|title=Explaining Successful (and Unsuccessful) COVID-19 Responses in Southeast Asia|url=https://thediplomat.com/2020/04/explaining-successful-and-unsuccessful-covid-19-responses-in-southeast-asia/|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=10 June 2020|website=The Diplomat}}</ref><ref>{{Cite web|last=Bello|first=Walden|date=3 June 2020|title=How Thailand Contained COVID-19|url=https://fpif.org/how-thailand-contained-covid-19/|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=10 June 2020|website=Foreign Policy In Focus}}</ref> แต่รัฐบาลยังไม่ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน และข้อจำกัดทางเศรษฐกิจที่รุนแรง อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีความสำคัญของประเทศได้รับผลกระทบหนัก [[กองทุนการเงินระหว่างประเทศ]]ทำนายว่าจีดีพีไทยจะหดตัวลงร้อยละ 6.7 ในปี พ.ศ. 2563<ref>{{cite news |last1=Paweewun |first1=Oranan |title=IMF: Thai GDP down 6.7% |url=https://www.bangkokpost.com/business/1900795/imf-thai-gdp-down-6-7- |accessdate=10 June 2020 |work=Bangkok Post |date=16 April 2020}}</ref> รัฐบาลกู้ยืมเงินและประกาศเงินกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านบาท (60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่มีผู้ได้รับประโยชน์จริงจำนวนน้อย<ref>{{cite news |last1=Theparat |first1=Chatrudee |title=Cabinet gives green light to B1.9tn stimulus |url=https://www.bangkokpost.com/business/1894985/cabinet-gives-green-light-to-b1-9tn-stimulus |work=Bangkok Post |date=7 April 2020}}</ref>
 
== การประท้วงระยะแรก (เดือนกุมภาพันธ์) ==
บรรทัด 197:
[[ไฟล์:มศว_คนรุ่นเปลี่ยน_ประท้วงการยุบพรรคอนาคตใหม่_01.jpg|left|thumb|การประท้วงที่[[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] [[อำเภอองครักษ์|วิทยาเขตองครักษ์]] เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ โดยตัวเลขที่ถูกขีดฆ่าหมายถึง จำนวนคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศที่เลือกให้กับ[[พรรคอนาคตใหม่]] ที่ถูกขีดทิ้ง]]
 
การประท้วงระยะแรกเกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบ[[พรรคอนาคตใหม่]] พรรคการเมืองฝ่ายค้านซึ่งได้รับความนิยมในหมู่เยาวชน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563<ref>{{Cite web |date=2020-01-20 |title= Thailand’s Future Forward Party Has the Support of Young Thais. A Court Could Disband It Entirely |url= https://time.com/5756668/thailand-future-forward-party/ |access-date=2020-07-25 |website=[[Time (magazine)|Time]]|language=en}}</ref> จึงเกิดการเดินขบวนในมหาวิทยาลัย วิทยาลัยและโรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศตั้งแต่นั้นมา การประท้วงเหล่านี้มี[[แฮชแท็ก]]ที่จำเพาะกับสถาบันของพวกตน การประท้วงในช่วงแรก ๆ เกิดขึ้นใน[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] และ[[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]]ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ โรงเรียนที่ประท้วงด้วย เช่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนศึกษานารีวิทยา อย่างไรก็ดี การประท้วงเหล่านี้จำกัดอยู่ในสถาบันของตนเท่านั้น<ref>{{Cite web |date=2020-02-27 |title= A Popular Thai Opposition Party Was Disbanded. What Happens Next? |url= https://www.cfr.org/in-brief/thailand-future-forward-party-disbanded-thanathorn-protest |access-date=2020-07-25 |website=CFR|language=en}}</ref><ref>{{Cite web |date=2020-02-26 |title= Tจุดติด-ไม่ติด : แฮชแท็กและการชุมนุมประท้วงของนิสิตนักศึกษาบอกอะไรเราบ้าง |url= https://themomentum.co/students-protest-after-after-future-forward-party-disbanded/ |access-date=2020-07-25 |website=The Momentum Co.|language=en}}</ref> ด้านบุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระบุว่า การประท้วงบนถนนไม่เคยสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย หากกองทัพยังอยู่ข้างรัฐบาล<ref name = bbc3/>
 
[[แฮชแท็ก]]ที่เกิดขึ้นในการประท้วงเดือนกุมภาพันธ์ เช่น ใน[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ใช้ #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป, ใน[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] ใช้ #เกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ, ใน[[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] ใช้ #มศวคนรุ่นเปลี่ยน อีกจำนวนหนึ่งใช้แสดงออกถึงความเป็นปรปักษ์กับกลุ่มผู้สนับสนุนเผด็จการ เช่น #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ, #KKUขอโทษที่ช้าโดนสลิ่มลบโพสต์, #ศาลายางดกินของหวานหลายสี, #พระจอมเกล้าชอบกินเหล้าไม่ชอบกินสลิ่ม
 
ต่อมาการประท้วงหยุดไปจากสถานการณ์[[การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563|การระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019COVID-19 ในประเทศไทย]] และมีคำสั่งให้ปิดสถานศึกษาทั่วประเทศเพื่อควบคุมโรค โดยให้จัดการเรียนการสอนทางออนไลน์แทน
 
== การประท้วงทางออนไลน์ ==
การรณรงค์ให้หยุดก่อม็อบลงถนนหลังกรณี[[พรรคอนาคตใหม่#ยุบพรรค|ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่]]เพราะกลัวให้เป็นข้ออ้างในการปราบปราม​สังหารประชาชนหรือการรัฐประหารซ้อน​<ref>[https://prachatai.com/journal/2020/03/86815 ถอดรหัส​แฮชแท็ก​ #เว้นเซเว่นทุก​Wednesday และ #pausemob] prachatai.17 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563</ref> การติด[[แฮชแท็ก]]ใน[[ทวิตเตอร์]]เริ่มเป็นที่นิยมในชื่อ save เพื่อให้มีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากรัฐ เช่น #saveวันเฉลิม ([[วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์]] ผู้ลี้ภัยในประเทศกัมพูชา)<ref>[https://prachatai.com/journal/2020/06/88215 #saveโรม ขึ้นอันดับ 1 เทรนด์ทวิตเตอร์ หลังเดินหน้าตามปม 'วันเฉลิม-หมู่อาร์ม'] prachatai.2020-06-19 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563</ref>, #saveทิวากร ผู้สวมเสื้อ ''เราหมดศรัทธา​สถาบันกษัตริย์​แล้ว''​<ref>[https://prachatai.com/journal/2020/07/88573 #saveทิวากร ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังมีข่าวผู้สวมเสื้อ 'เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว' ถูกจับเข้าจิตเวช] prachatai.2020-07-14 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563</ref>
 
[[สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล]] นักวิชาการประวัติศาสตร์และผู้ลี้ภัยทางการเมือง ทวีตตั้งคำถามเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 พร้อมใส่แฮชแท็กดังกล่าว จนนำไปสู่การที่กลุ่มเยาวชนกล้าพูดในเรื่องที่สุ่มเสี่ยงที่สุด คือ #กษัตริย์มีไว้ทำไม<ref>[https://prachatai.com/journal/2020/03/86933 ส่องปรากฏการณ์ #กษัตริย์มีไว้ทำไม กับ 'แอคหลุม-มีม' เซฟโซนสีเทาของคนรุ่นใหม่] prachatai.2020-03-26 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563</ref> เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ผู้ใช้ทวิตเตอร์ "นิรนาม_"ถูกจับกุมที่ทวิตภาพและข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 และถูกฝากขังที่ศาลพัทยา และไม่ได้รับการอนุญาตให้ประกันตัว โดยใช้การตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากบริษัท[[ทรู คอร์ปอเรชั่น|ทรู]]<ref>[https://www.bbc.com/thai/thailand-51577352 ตร.พัทยา อ้าง พ.ร.บ.คอมฯ จับผู้ใช้ทวิตเตอร์บัญชี "นิรนาม_"] 20 กุมภาพันธ์ 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563</ref>
 
ต่อมาในวันที่ 24 เมษายน [[สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย]] ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ระบุว่า สนท. ขอเชิญชวนชาวไทยทุกคนร่วมประท้วงออนไลน์ โดยการถ่ายรูปถือป้ายแสดงความรู้สึกต่อรัฐบาลพร้อมติด #MobFromHome "โควิดหายมาไล่รัฐบาลกันไหม?"<ref>{{Cite web|url=https://www.brighttv.co.th/news/social/mob-from-home|title=สนท. ชวนประท้วงรัฐบาลผ่านออนไลน์ พร้อมติด #MobFromHome|author=Bright Today|website=www.brighttv.co.th|date=25 April 2020|accessdate=28 August 2020}}</ref> ส่งผลให้ในวันต่อมา (25 เมษายน) #MobFromHome พุ่งติดเทรนด์ยอดนิยมอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ประเทศไทย โดยมีผู้ใช้ทวิตเตอร์แต่ละบัญชีต่างออกมาระบายความอัดอั้นตันใจที่มีต่อรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์<ref>{{Cite web|url=https://covid-19.kapook.com/view224969.html|title=โซเชียลไทยเดือด ผุด #MobFromHome ประท้วงรัฐบาล พุ่งเทรนด์อันดับ 1 ทวิตเตอร์|author=[[กระปุก.คอม]]|website=kapook.com|date=25 April 2020|accessdate=28 August 2020}}</ref>
บรรทัด 250:
วันที่ 9 สิงหาคม มีการจัดการชุมนุม "เชียงใหม่จะไม่ทน" ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีอานนท์ นำภาปราศรัยเรื่องข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์อีกครั้ง มีผู้ชมุนมประมาณ 500–1,000 คน<ref>{{cite web |title=ทนายอานนท์ปราศรัยที่เชียงใหม่ ส่วนผู้จัดที่พิษณุโลกบอกถูกเจ้าหน้าที่ขอร้องไม่ให้จัด |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-53713996 |website=BBC ไทย |accessdate=10 August 2020}}</ref>
 
วันที่ 10 สิงหาคม คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเข้ายื่นร่างพระราชบัญญัติออกเสียงลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีศูนย์กลางประสานงานนักศึกษา อาชีวะ ประชาชน ปกป้องสถาบันฯ (ศอปส.) ชุมนุมประท้วงตอบโต้ โดยกล่าวหาว่านักศึกษาถูกยุยงให้โจมตีรัฐบาลและกองทัพ และดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้อง อีกทั้งคิดล้มระบอบการปกครอง กลุ่มของตนจะใช้วิธีบีบบังคับทางสังคมเปิดโปงชื่อบุคคลให้สาธารณะทราบ<ref>{{cite web |title=ครช.ยื่นร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ร่าง รธน.ใหม่ ฝ่ายค้านรับเร่งเสนอในสัปดาห์นี้ |url=https://prachatai.com/journal/2020/08/88979 |website=prachatai.com |accessdate=10 August 2020}}</ref> นอกจากนี้ กลุ่ม ศอปส. ยังประกาศจัดตั้งในทุกจังหวัด<ref>{{cite web |title=“ประชาชนปกป้องสถาบันฯ” ผุด ศอปส. ทุกจังหวัด จับผิด-เปิดเผยตัวตน “คนชังชาติ” |url=https://www.bbc.com/thai/53719669 |website=BBC News ไทย |accessdate=10 August 2020 }}</ref> ด้าน ศ. [[นิธิ เอียวศรีวงศ์]] นักประวัติศาสตร์ไทย แสดงความกังวลว่าหากปล่อยเวลาไปอีก 6 เดือน กอ.รมน. อาจจัดตั้งฝ่ายต่อต้านได้สำเร็จเหมือนกับครั้งในปี พ.ศ. 2519<ref>{{cite news |title=นิธิ เอียวศรีวงศ์ หวั่น 6 ตุลา รอบใหม่ |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-53739725 |accessdate=12 August 2020 |work=BBC ไทย }}</ref>
 
ในช่วงเย็นถึงหัวค่ำ มีการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี ชื่อ "#ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" มีผู้เข้าร่วมจากหลายกลุ่มและหลายมหาวิทยาลัย และมีกลุ่มอาชีวะมาช่วยรักษาความปลอดภัยให้<ref>{{cite web |title=ม็อบนศ.ฮือต้าน"รัฐบาลลุงตู่"แน่น ม.ธรรมศาสตร์ |url=https://www.posttoday.com/politic/news/630387 |website=posttoday.com|accessdate=10 August 2020}}</ref> รวมประมาณ 3,000 คน<ref name="AP">{{cite news |last1=Press |first1=Associated |title=Student Protest at Thammasat the Largest Rally in Months |url=https://www.khaosodenglish.com/politics/2020/08/11/student-protest-at-thammasat-the-largest-rally-in-months/ |accessdate=11 August 2020 |work=Khaosod English |date=11 August 2020}}</ref> และใช้สโลแกนว่า "เราไม่ต้องการปฏิรูป เราต้องการ[[ปฏิวัติ]]" มีตัวแทนสหภาพแรงงานร่วมปราศรัย เล่าถึงปัญหาความไม่เสมอภาคและสัญญายกระดับคุณภาพชีวิตของรัฐบาลที่ทำไม่ได้จริง<ref name="ประชาไท">{{cite web |title=ประมวลชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน 'เราไม่ต้องการปฏิรูปเราต้องการปฏิวัติ' |url=https://prachatai.com/journal/2020/08/88977 |website=prachatai.com |accessdate=10 August 2020 }}</ref> นอกจากนี้ มีการปราศรัยของอานนท์ นำภา, เปิดคลิปของ[[ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์]] พร้อมกับยื่นข้อเสนอ 10 ข้อเพื่อปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อให้บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยสอดคล้องกับระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ<ref name="ประชาไท"/> ตามข้อมูลของเอพี ผู้ประท้วงในงานรู้สึกคละกันเกี่ยวกับข้อเรียกร้องดังกล่าว<ref name="AP"/> กลุ่มผู้ประท้วง มธ. แจ้งยกเลิกนัดหมายชุมนุมในวันที่ 12 สิงหาคมเนื่องจากทราบมาว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดี<ref>{{cite news |title=รวมปฏิกิริยาต่อ 10 ข้อเรียกร้องของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-53737348 |accessdate=12 August 2020 |work=BBC ไทย}}</ref>
บรรทัด 288:
ก่อนหน้าชุมนุมที่มีการนัดหมายในวันที่ 19 กันยายน เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยปิดประตู<ref>[https://www.thairath.co.th/news/politic/1932727 คล้องกุญแจ ปิดประตู ม.ธรรมศาสตร์ แล้ว จับตาความเคลื่อนไหวม็อบพรุ่งนี้] ไทยรัฐ. 18 September 2020. สืบค้นเมื่อวันที่19 September 2020</ref> คณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร แถลงว่ามีอาสาสมัครดตั้งเต้นท์ศูนย์อำนวยการติดตามการชุมนุม<ref>[https://siamrath.co.th/n/183236 พท. ตั้งเต้นท์เกาะสถานการณ์ชุมนุม 19 กย. พร้อมเตรียมเอกสารช่วยประกันตัวนิสิต-นศ. สยามรัฐ.] สยามรัฐ. 18 September 2020. สืบค้นเมื่อวันที่19 September 2020</ref>
 
วันที่ 19 กันยายน กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จัดการชุมนุมภายใต้ชื่อ "19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร" แต่เป็นการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกที่เชิญชวนประชาชนให้ปักหลักค้างคืน<ref name=":1">[https://www.bbc.com/thai/thailand-54217719 ชุมนุม 19 กันยา: มวลชนยึดสนามหลวงเป็นที่ชุมนุมได้สำเร็จ ตร. ตรึงกำลังห้ามเข้าใกล้เขตพระราชฐาน] BBC News. 19 September 2020.สืบค้นเมื่อวันที่ 19 September 2020</ref> มีการเจรจาระหว่างผู้ประท้วงกับเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยจนสามารถเข้าไปในพื้นที่ได้สำเร็จ<ref>[https://www.naewna.com/politic/519481 ม็อบเคลื่อนขบวนออกจาก'ธรรมศาสตร์' ดาหน้าบุกยึดท้องสนามหลวงแล้ว] แนวหน้า. 19 September 2020. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 September 2020</ref> ในเวลาบ่าย ผู้ชุมนุมย้ายไปปักหลักที่[[ท้องสนามหลวง]] โดยมีเจ้าหน้าที่กั้นรั้วรอบพื้นที่พระบรมมหาราชวัง<ref name=":1" /> ในช่วงเย็น มีประมาณการผู้ร่วมชุมนุมระหว่าง 20,000–100,000 คนแล้วแต่แหล่งข้อมูล<ref>{{Cite web|title=Massive Crowd Gathers in Bangkok for Weekend of Pro-Democracy Protests|url=https://www.benarnews.org/english/news/thai/big-protest-09192020122528.html|access-date=2020-09-19|website=BenarNews|language=en}}</ref><ref>{{cite news |title=Scenes From Thailand’s Massive Protests Demanding Reform |url=https://thediplomat.com/2020/09/scenes-from-thailands-massive-protests-demanding-reform/ |accessdate=23 September 2020 |work=Diplomat}}</ref> ฝ่ายตำรวจมีการระดมเจ้าพนักงานกว่า 10,000 นายเข้ามาในพื้นที่<ref>{{cite news |title='ปรับแผน-เพิ่มกำลัง' รับมือชุมนุมวันนี้ ตร.ตรึง 1 หมื่นนาย ม็อบลั่นปิดเกมก่อนเที่ยง 20 ก.ย. |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/898544 |accessdate=20 September 2020 |work=Bangkokbiznews }}</ref> เช้าวันที่ 20 กันยายน มีการทำพิธีฝัง[[หมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2]] เพื่อรำลึกถึง[[หมุดคณะราษฎร]]เดิมที่หายไปในปี พ.ศ. 2560<ref>{{Cite news|date=2020-09-20|title=Thai activists challenge monarchy by laying plaque|language=en-GB|work=BBC News|url=https://www.bbc.com/news/world-asia-54222524|access-date=2020-09-20}}</ref><ref>{{Cite web|date=2020-09-20|title=Protesters install 'new plaque' at Sanam Luang|url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1988567/protesters-install-new-plaque-at-sanam-luang|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=2020-09-20|website=Bangkok Post}}</ref> และผู้ประท้วงเปลี่ยนแผนจากการเคลื่อนไปทำเนียบรัฐบาล เป็นเคลื่อนไปทำเนียบองคมนตรีแทน และยื่นข้อเรียกร้องต่อประธานองคมนตรีผ่านผู้บัญชาการตำรวจนครบาลก่อนสลายตัว<ref name="bkp209">{{Cite web|date=2020-09-20|title=Activists end rally after submitting demands|url=https://www.bangkokpost.com/thailand/politics/1988583/protesters-end-rally-after-submitting-demands-to-city-police-chief|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=2020-09-20|website=Bangkok Post}}</ref> ไม่มีรายงานเหตุการณ์ความรุนแรง โดยพริษฐ์ ชิวารักษ์ ประกาศนัดชุมนุมอีกในวันที่ 14 ตุลาคม<ref name="bkp209" /> หมุดดังกล่าวถูกนำออกจากบริเวณภายใน 24 ชั่วโมง<ref>{{cite web|date=2020-09-21|title=Plaque installed by Thai protesters near palace removed|url=https://www.aljazeera.com/news/2020/09/plaque-installed-thai-protesters-palace-removed-200921022619555.html|access-date=2020-09-21|work=Al Jazeera}}</ref> สื่อต่างประเทศบางสำนักระบุว่าการประท้วงครั้งนี้เป็นการประท้วงต่อการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเปิดเผย<ref>{{cite news |title=Protests continue to target Thai monarchy |url=https://www.scmp.com/video/asia/3102339/weekend-anti-government-protests-thai-capital-bangkok-continue-challenge |accessdate=21 September 2020 |work=South China Morning Post}}</ref>
 
วันที่ 24 กันยายน ซึ่งเป็นวันลงมติในญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มีการชุมนุมเพื่อกดดันสมาชิกวุฒิสภา สุดท้ายรัฐสภามีมติตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ อันเป็นผลให้เลื่อนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญออกไปอย่างน้อย 1 เดือน ทำให้เกิดทวีต #RepublicofThailand (สาธารณรัฐไทย) ติดอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ในคืนนั้น นับเป็นการแสดงออกนิยมสาธารณรัฐแบบหมู่สาธารณะครั้งแรกในประเทศไทย<ref>{{cite news |last1=Reed |first1=John |title=#RepublicofThailand trends as protesters maintain push on monarchy |url=https://www.ft.com/content/f16dea09-1763-4a7a-b159-d7dd8a672d69 |accessdate=25 September 2020 |work=Financial Times}}</ref>