ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฌัก แนแกร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{Infobox officeholder
| name = ฌัก แนแกร์<br>{{small|Jacques Necker}}
| image = Necker, Jacques - Duplessis.jpg
| office = [[นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส|มุขมนตรีแห่งรัฐฝรั่งเศส]]
บรรทัด 42:
ในปี ค.ศ. 1777 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการพระคลังหลวง ({{lang|fr|''directeur général du Trésor royal''}}) ซึ่งเทียบเท่ารัฐมนตรีคลัง<ref>M. Adcock, Analysing the French Revolution, [[Cambridge University Press]], Australia 2007.</ref> ซึ่งในช่วงแรกเขาได้รับความเชื่อถืออย่างมากจากการปฏิรูปจัดเก็บภาษีรายหัวให้มีความเท่าเทียม และแทนที่จะขึ้นภาษี เขากลับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้สูง<ref>Donald F. Swanson and Andrew P. Trout, "Alexander Hamilton, 'the Celebrated Mr. Neckar,' and Public Credit," ''The William and Mary Quarterly'' 47, no. 3 (1990): 424.</ref> ทำให้ได้เงินฝากมหาศาลมาปล่อยกู้แก่ราชสำนักฝรั่งเศสมาใช้จ่าย เขายังสนับสนุนเงินกู้แก่การมีส่วนร่วมของฝรั่งเศสใน[[สงครามปฏิวัติอเมริกา]]<ref>Nicola Barber, ''The French Revolution'' (London: Hodder Wayland, 2004), 11.</ref> อย่างไรก็ตาม การก่อหนี้มหาศาลไปกับสงครามในอเมริกาทำให้วิกฤตการคลังขึ้นในปี 1781<ref>George Taylor, review of ''Jacques Necker: Reform Statesman of the Ancien Regime,'' by Robert D. Harris, ''Journal of Economic History'' 40, no. 4 (1980): 878.</ref> ขณะเดียวกัน นโยบายปฏิรูปต่าง ๆ ของเขาก็สร้างศัตรูไปทั่วราชสำนักโดยเฉพาะกับพระนาง[[มารี อ็องตัวแน็ต]] ซึ่งคอยขัดขวางการปฏิรูปของแนแกร์ฝ่านทางพระราชสวามีมาตลอด แนแกร์จึงตัดสินใจลาออก
 
แนแกร์ถูกเรียกตัวกลับมาดำรงตำแหน่งมุขมนตรีแห่งรัฐ ({{lang|fr|''principal ministre d'État''}}) และขุนคลังเอก ({{lang|fr|''Contrôleur général des finances''}}) ในปี ค.ศ. 1788 ในห้วงเวลาที่วิกฤติทางการเมืองและสังคมกำลังก่อตัวในสังคมฝรั่งเศส เขาถูกมองว่าจะเป็นผู้ช่วยฝรั่งเศสให้พ้นภัย แต่ความพยายามต่าง ๆ ของเขาก็ไม่สามารถหยุดยั้ง[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]]ไว้ได้ เขาถูปลดจากตำแหน่งในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 แต่หลังจากนั้นสามวันก็เกิด[[การทลายคุกบัสตีย์]]ขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเรียกตัวเขากลับมาเป็นหัวหน้ารัฐมนตรีมุขมนตรี
 
แนแกร์ยอมรับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลโดยตั้งเงื่อนไขกับพระเจ้าหลุยส์ว่าต้องให้อำนาจยับยั้งชั่วคราว (วีโต) แก่เขา และปฏิเสธที่จะทำงานร่วมกับรัฐบุรุษคนอื่น ๆ อย่าง[[Honoré Gabriel Riqueti, comte de Mirabeau|มีราโบ]] หรือ[[ฌีลแบร์ ดูว์ มอตีเย เดอ ลา ฟาแย็ต|ลา ฟาแย็ต]] เขาได้ออกพระราชกฤษฎีกา 7 พฤศจิกายน ซึ่งเปิดทางให้คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการสรรหาและเลือกโดยสภา กฎหมายฉบับนี้เป็นการปิดโอกาสไม่ได้เกิดฝ่ายบริหารที่มีอำนาจมากล้นจนเกินไป อย่างไรก็ตาม ความพยายามต่าง ๆ ของเขาดูจะไร้ผล จนผู้คนเริ่มหมดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวเขาทำให้เขาตัดสินใจลาออกในปี ค.ศ. 1790<ref>Furet and Ozuof, ''A Critical Dictionary,''288.</ref><ref>Doyle, William. The French Revolution. A Very Short Introduction. </ref>