ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเดินขบวนสู่แวร์ซาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: ไฟล์:A Versailles, à Versailles 5 octobre 1789 - Restoration.jpg|300px|thumb|การเดินขบวนของสตรีสู่แวร์ซา...
 
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:A Versailles, à Versailles 5 octobre 1789 - Restoration.jpg|300px|thumb|การเดินขบวนของสตรีสู่แวร์ซาย]]
 
'''การเดินขบวนสู่แวร์ซาย''' ({{lang-en|March on Versailles}}) บ้างเรียก '''การเดินขบวนเดือนตุลาคม''' เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของ[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]] เป็นการเดินขบวนของสตรีชาวปารีสเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1789 สู่[[พระราชวังแวร์ซาย]] ที่พำนักของกษัตริย์และสถานที่ประชุม[[สภาร่างธรรมนูญแห่งชาติ]]
 
วิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรงได้ส่งผลกระทบต่อสตรีซึ่งมีหน้าที่หาอาหารให้สามีและสมาชิกครอบครัว พวกเธอมองเห็นงานเลี้ยงอันใหญ่โตฟุ่งเฟือยในราชสำนักขณะที่ตัวเองกลับอดอยาก กลุ่มสตรีหลายพันคนซึ่งประกอบด้วยหญิงหาเช้ากินค่ำ, แม่ค้า, ช่างหัตกรรม, หญิงข้างถนน ตลอดจนโสณีชั้นสูง<ref>[https://www.silpa-mag.com/history/article_12771 บทบาท “สตรี” กับการ “ปฏิวัติ” ฝรั่งเศส (1)] ศิลปวัฒนธรรม. 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2560</ref> รวมตัวกันที่[[ออแตลเดอวีล]] (ศาลาว่าการกรุงปารีส)<ref name=Doyle121>Doyle, p. 121.</ref> ในเช้าวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1789 จนกระทั่งมีจำนวนราว 7,000–9,000 คน จึงเริ่มเดินขบวนสู่แวร์ซายพร้อมด้วยอาวุธและปืนใหญ่ที่ยึดมาจาก[[ออแตลเดแซ็งวาลีด]]และ[[การทลายคุกบัสตีย์]]เมื่อสองเดือนก่อนหน้า
 
[[ไฟล์:MarchWomenVersailles5-6october1789.jpg|300px|thumb|การเดินขบวนของสตรีสู่แวร์ซาย]]
กลุ่มผู้ชุมนุมใช้เวลาเดินเท้าจากปารีสไปแวร์ซายราวหกชั่วโมงท่ามกลางสายฝนในฤดูใบไม้ร่วง พวกเธอเต็มไปด้วยความโกรธแค้นต่อราชวงศ์ หวังจะคุมองค์กษัตริย์กลับปารีสและต้องการคุยกับพระนาง[[มารี อ็องตัวแน็ต]] เมื่อพวกเธอไปถึงพระราชวังแวร์ซาย ก็พบกับผู้ชุมนุมอีกกลุ่มหนึ่งที่รายล้อมพระราชวังอยู่ก่อน<ref name=Schama462>Schama, p. 462.</ref> พวกเธอสมาชิกสภาบางส่วนออกมาเชิญให้ผู้ชุมนุมเข้าไปหลบฝนและพักผ่อนในชานระเบียงห้องประชุมสภา เหล่าฝูงชนต่างไปนั่งพักบนม้านั่งของพระราชวังสมาชิกสภาอย่างเหน็ดเหนื่อย แกนนำของพวกเธอพูดกับผู้แทนใน[[สภาร่างธรรมนูญแห่งชาติ]]ว่าพวกเธอมาล้อมสภาเพื่อขอขนมปังเพียงเท่านั้น ประธานในช่วงนี้มีสมาชิกสภาจึงนำตัวแกนนำผู้ชุมนุมจำนวนหกหลายคนไปพบองค์กษัตริย์ในพระราชวัง<ref>Carlyle pp. 257–258.</ref><ref name=Schama465>Schama, p. 465.</ref> องค์กษัตริย์แสดงความเห็นใจออกมาต้อนรับและเข้าไปกอดปลอบพวกเธอ<ref name=Hibbert99>Hibbert, p. 99.</ref> ทรงสัญญาว่าจะปันส่วนอาหารส่วนหนึ่งจากคลังหลวงให้ กำลังใจฝูงชนจึงพอใจและเดินเท้ากลับปารีส<ref>Hibbert, p.หนึ่งในนั้นคือ[[มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์]] 100.</ref>ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีอำนาจ
 
[[Jean Joseph Mounier|ฌ็อง โฌแซ็ฟ มูว์นีเย]] ประธานสภาร่างธรรมนูญนำตัวแกนนำผู้ชุมนุมจำนวนหกคนไปเข้าเฝ้าองค์กษัตริย์ในพระราชวัง<ref>Carlyle pp. 257–258.</ref><ref name=Schama465>Schama, p. 465.</ref> องค์กษัตริย์แสดงความเห็นใจและปลอบปละโลมพวกเธอจนบางคนถึงกับล้มลงไปร้องให้ที่พื้น<ref name=Hibbert99>Hibbert, p. 99.</ref> ทรงสัญญาว่าจะปันส่วนอาหารส่วนหนึ่งจากคลังหลวงให้ ฝูงชนบางส่วนจึงพอใจและเดินเท้ากลับปารีส<ref>Hibbert, p. 100.</ref> อย่างไรก็ตาม ฝูงชนส่วนใหญ่ยังคงปักหลักอยู่ และมีข่าวลือว่ากษัตริย์ให้สัญญาหลอกๆ เมื่อพระเจ้าหลุยส์ทรงตระหนักถึงอันตรายที่รายล้อม จึงปรึกษากับข้าราชบริพาร ในเวลาหกโมงเย็น พระองค์ทรงประกาศยอมรับกฤษฎีกาสิงหาคม (กฎหมายเลิกระบบศักดินา) และทรงยอมรับ[[ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง]]โดยไม่มีเงื่อนไข<ref name=Schama465/> เพื่อคลายความไม่พอใจของฝูงชน
 
เช้าวันต่อมา ผู้ประท้วงบางส่วนค้นพบประตูขนาดเล็กของพระราชวังที่ไม่มียามเฝ้า พวกเขาจึงแอบเข้าไปในเขตพระราชฐานและเดินตามหาห้องบรรทมขององค์ราชินี ราชองค์รักษ์กรู่เข้ามาทั่วเขตพระราชฐานและยิงผู้บุกรุกตายไปหลายคน<ref name=Hibbert101>Hibbert, p. 101.</ref> ฝูงชนจึงโกรธเคืองและพากันบุกเข้าเขตพระราชฐาน<ref name=Carlyle273>Carlyle, p. 273.</ref><ref>Schama, pp. 467–468.</ref> ความโกลาหลในจึงเกิดขึ้นในพระราชวัง ราชองครักษ์สู้ไม่ได้และถูกฆ่าตายไปอย่างน้อยหนึ่งนาย หน่วยของนายพล[[ฌีลแบร์ ดูว์ มอตีเย เดอ ลา ฟาแย็ต|ลาฟาแย็ต]] ต้องเข้ามาห้ามปราม ลาฟาแย็ต ทหารผู้ได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่าย ต้องตื่นขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางจนเหตุการณ์คลี่คลายลง<ref name=Carlyle273/><ref>Schama, pp. 467–468.</ref> อย่างไรก็ตาม การชุมนุมนอกพระราชวังยังคงดำเนินต่อไป
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง|2}}
 
{{การปฏิวัติฝรั่งเศส}}