ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
พงศ์พิสุทธิ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4:
เมื่อประเทศไทยถูกดึงเข้าสู่[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]] วันที่ [[8 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2484]] กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้ามายังประเทศไทย และขณะเดียวกันนั้นก็ได้แจ้งแก่รัฐบาลไทยว่า ภาษาไทยนี้ยากมาก ทั้งการอ่าน เขียน พูด จึงขอให้เปิดโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น และบังคับให้คนไทยเรียนภาษาญี่ปุ่น เหมือนคนจีนใน[[เกาะไต้หวัน]] ทั้งๆที่ภาษาญี่ปุ่นมีความยุ่งยากทั้งในส่วนไวยกรณ์ การเขียน (มีตัวอักษรถึงสามประเภท) และการออกเสียง (ซึ่งตัวจีนตัวหนึ่งออกเสียงได้หลายแบบ) มากกว่าภาษาไทยหลายเท่า
 
จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงเรียกประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ปรึกษาหาเรือหารือเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไข เมื่อตกลงกันได้แล้ว จึงแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทย ประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งสิ้น 29 คน ซึ่งอาจารย์[[เปลื้อง ณ นคร]] และอาจารย์[[ทวี ทวีวรรธนะ]] อยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย
 
คณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยมีแนวทางส่งเสริมภาษาไทย 4 แนวทางคือ