ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สตาร์ เทรค: ฝ่าสงครามยึดโลก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patseaza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Patseaza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 31:
* [[เจมส์ ครอมเวล]]
* [[อลิซ คริจ]]}}
| music = [[เจอร์รี โกลด์สมิธสมิท]]
| cinematography = [[แมตทิว เอฟ. ลีโอเนตติ]]
| editing = {{Plainlist|
บรรทัด 48:
 
หลังภาพยนตร์ ''[[สตาร์ เทรค ผ่ามิติจักรวาลทลายโลก]]'' ฉายในปี ค.ศ. 1994 [[พาราเมาต์พิกเจอส์]] มอบหมายให้นักเขียนบท [[แบรนนอน บรากา]]และ[[โรนัลด์ ดี. มัวร์]] พัฒนาบทสำหรับภาพยนตร์เรื่องถัดไปในภาพยนตร์ชุด บรากาและมัวร์ต้องการใส่บอร์กเข้าไปในเนื้อเรื่อง ขณะที่ผู้อำนวยการสร้าง [[ริก เบอร์แมน]] ต้องการเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเวลา ผู้เขียนบททั้งสองคนได้รวมสองแนวคิดนี้เข้าด้วยกัน โดยในตอนแรก พวกเขาเขียนบทให้ภาพยนตร์ดำเนินเรื่องในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรป แต่ได้เปลี่ยนช่วงเวลาเป็นกลางศตวรรษที่ 21 แทน หลังจากกลัวว่าแนวคิดยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาจะ "ไร้ค่าเกินไป" หลังผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงสองคน ปฏิเสธกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ นักแสดง [[โจนาทาน เฟรกส์]] ได้รับเลือกให้กำกับภาพยนตร์ เพื่อให้มั่นใจว่างานจะตกอยู่กับคนที่เข้าใจ ''สตาร์ เทรค''
 
บทภาพยนตร์เรื่องนี้จำเป็นต้องมีการออกแบบยานอวกาศใหม่ รวมไปถึงยาน ยูเอสเอส ''เอนเทอร์ไพรส์'' ลำใหม่ ผู้ออกแบบงานสร้าง [[เฮอร์แมน ซิมเมอร์แมน]] และ นักวาดภาพ [[จอห์น อีฟส์]] ร่วมมือกันสร้างยานอวกาศใหม่ที่ดูโฉบเฉี่ยวมากกว่ายาน ''เอนเทอร์ไพรส์'' ก่อนหน้านี้ การถ่ายทำที่แอริโซนาและแคลิฟอร์เนียหลายสัปดาห์ ก่อนที่จะย้ายกองถ่ายไปถ่ายทำฉากภายในยานอวกาศ บอร์กได้รับการออกแบบใหม่ ให้ดูเหมือนว่าพวกเขาถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องจักรจากภายในสู่ภายนอก การแต่งหน้าใหม่ใช้เวลานานถึงสี่เท่า มากกว่าการปรากฏตัวของพวกเขาในละครโทรทัศน์ บริษัทสร้างเอฟเฟกต์ [[อันดัสเชียลไลต์แอนด์แมจิก]] เร่งสร้างเทคนิคพิเศษของภาพยนตร์ให้เสร็จภายในเวลาไม่ถึงห้าเดือน เทคนิคเอฟเฟกต์แสงแบบดั้งเดิมถูกเสริมด้วยภาพที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ [[เจอร์รี โกลด์สมิท]] และ [[โจเอล โกลด์สมิท|โจเอล]] ลูกชายของเขา ร่วมมือกันแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ ถึงแม้ว่าจะมีเพียงเจอร์รีเท่านั้นที่มีชื่อในเครดิตภาพยนตร์
 
==อ้างอิง==