ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 6 ตุลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 62:
ช่วงปี 2518 ถึง 2519 [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]]ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเป็นรัฐบาลผสม 12 พรรค เขาวางนโยบายให้สหรัฐถอนทหารออกจากไทย<ref name="ใจ"/>{{rp|67}} รัฐประหารเป็นไปไม่ได้ตราบเท่าที่รัฐบาลยังได้รับการหนุนหลังจากพลเอก [[บุญชัย บำรุงพงศ์]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]] ผู้อยู่ในอุปถัมภ์ของพลเอก [[กฤษณ์ สีวะรา]] ซึ่งเป็นวีรบุรุษที่ได้รับความนิยมจากบทบาทในเหตุการณ์ 14 ตุลา; ฐานะของสหรัฐในอินโดจีนล้มลงอย่างรวดเร็ว [[การยึดกรุงไซ่ง่อน|กรุงไซ่ง่อนแตก]]และเกิดการรวมประเทศเวียดนามที่เป็นคอมมิวนิสต์ในเดือนเมษายน 2518 และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยึดอำนาจของ[[ขบวนการปะเทดลาว]]อันเป็นคอมมิวนิสต์ในประเทศลาวในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีผลใหญ่หลวงต่อมติมหาชนของไทย หลายฝ่ายเกรงว่าประเทศไทยจะเป็นเป้าหมายต่อไปของคอมมิวนิสต์<ref name="ใจ"/>{{rp|126–7}} รัฐบาลคึกฤทธิ์ได้เปลี่ยนนโยบายการทูตที่สำคัญโดยเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2518<ref name="ใจ"/>{{rp|81}}
 
ผลลัพธ์ทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์ของเหตุการณ์ 14 ตุลาทำให้ฝ่ายซ้ายมีสำนึกความรื่นเริงและความคิดสร้างสรรค์ ส่วนฝ่ายขวามองภาพลวงว่ารัฐบาลเสรีนิยมที่เพิ่งตั้งขึ้นเป็นสาเหตุของการระบาดของความคิดบ่อนทำลายประเทศ และโทษประชาธิปไตยสำหรับความล้มเหลวของเผด็จการทหารหลายทษวรรษทศวรรษก่อนหน้านี้<ref name="Ben"/>{{rp|15}} [[ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย]] (ศนท.) เป็นองค์การประสานงานระหว่างองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ และมีบทบาทมาตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลา ได้มีการรณรงค์เพื่อเป้าหมายทางสังคมอื่นอยู่เรื่อย ๆ<ref name="ใจ"/>{{rp|93–4}} ฝ่ายขวาได้รณรงค์ข่มขู่ ทำร้ายร่างกายและลอบฆ่าเป็นเวลาสองปี<ref name="Ben">{{cite journal |last1= Anderson |first1= Ben |date= 1977 |title= Withdrawal symptoms: Social and cultural aspectsof the October 6 coup |url= https://www.tandfonline.com/doi/pdf/10.1080/14672715.1977.10406423 |journal= Bulletin of Concerned Asian Scholars, |volume=9 |issue=3 |pages= |doi= 10.1080/14672715.1977.10406423 |access-date= 2020-07-22}}</ref>{{rp|13}} การโฆษณาใส่ร้าย ศนท. รวมถึงเพลงอย่าง "[[เราสู้]]", "[[หนักแผ่นดิน]]"<ref name="ใจ"/>{{rp|130}} มีการกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาตั้งแต่ปี 2517<ref name="ใจ"/>{{rp|132–3}}
 
วันที่ 2 มกราคม 2519 กรรมกรทั่วกรุงเทพมหานคร[[การนัดหยุดงานทั่วไป|นัดหยุดงานทั่วไป]]เป็นจำนวนหลายหมื่นคนเพื่อคัดค้านนโยบายเลิกจำหน่ายข้าวสารราคาถูกแก่ประชาชน<ref name="ใจ"/>{{rp|88}} ชวนให้นายทหารที่เคยถือรัฐธรรมนูญนิยมหลายคนมองว่า รัฐประหารอาจจำเป็นเพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพ คึกฤทธิ์ยอมตามข้อเรียกร้องของสหภาพทำให้ฝ่ายขวาเดือดดาล การชุมนุมจำนวน 15,000 คน ซึ่งจัดโดยกลุ่มกึ่งทหาร[[นวพล]] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลตรี [[ประมาณ อดิเรกสาร]] เรียกร้องให้คืนอำนาจแก่ทหาร<ref name="Handley"/>{{rp|229}} การชุมนุมดังกล่าวนำโดย[[พระกิตติวุฒโฑ]] พระภิกษุเจ้าของวาทะ "ฆ่าคอมมิวนิสต์ ไม่บาป" กลุ่มสมาชิกรัฐสภาเสรีนิยมจากพรรคประชาธิปัตย์แตกกับรัฐบาลผสมและเข้ากับฝ่ายค้านซึ่งเป็นฝ่ายซ้าย<ref name="Neher"/>{{rp|376}} พลเอก [[บุญชัย บำรุงพงศ์]] คัดค้านความคิดรัฐบาลผสมเอียงซ้าย ซึ่งบีบให้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัด[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519|การเลือกตั้งใหม่กำหนดมีขึ้นวันที่ 4 เมษายน]]<ref name="Neher">Neher, Clark D., ''Modern Thai politics: from village to nation'' (1979).</ref>{{rp|376}} ซึ่งกระชั้นเกินไปแม้สำหรับนายทหารสายกลาง ตัวอย่างรัฐบาลผสมเอียงซ้ายของลาวที่พ่ายต่อคอมมิวนิสต์ยังสดใหม่ พลเรือเอก [[สงัด ชลออยู่]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพไทย|ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] จึงยื่นแผนรัฐประหาร<ref name="Handley"/>{{rp|230}} ศาสตราจารย์ [[บุญชนะ อัตถากร]] เล่าว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 พลเรือเอกสงัดนำความบ้านเมืองกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่[[พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์]]ว่าอาจมีความจำเป็นต้องรัฐประหาร บุญชนะบันทึกว่าสงัดได้สนทนากับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังนี้