ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูรเสน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
 
แคว้นสุรเสนะ อาณาเขตของแคว้นไม่มีบอกไว้ชัดเจนมากนัก แคว้นนี้มักได้รับการกล่าวถึงร่วมกับ[[แคว้นกุรุ]] และ[[แคว้นมัจฉะ]]เสมอ ๆ สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกัน โดยพระเจ้าแผ่นดินของแคว้นสุรเสนะใน[[สมัยพุทธกาล]] ในบันทึกปรากฏพระนามว่า '''พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร''' ซึ่งสันนิษฐานตามพระนามนี้ว่า พระราชมารดาอาจจะเป็นเจ้าหญิงจากแคว้นอวันตี โดยมถุรา (หรือ มธุรา) เมืองหลวงของแคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ทางฝั่งขวา หรือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยมุนา และอยู่กึ่งกลางของเส้นทางติดต่อระหว่างกรุง[[อินทรปรัสถ์]] เมืองหลวงของแคว้นกุรุ กับ[[โกสัมพี]] เมืองหลวงของ[[แคว้นวังสะ]]ในสมัยนั้น ซึ่งในปัจจุบันเมืองนี้ เมืองต่างๆนี้ก็ยังคงชื่อเดิมอยู่ อยู่ใน[[รัฐอุตตรประเทศ]] เหนือ[[อัคระ]] เมืองแห่ง[[ทัชมาฮาล]]ขึ้นไปประมาณ 56 กิโลเมตร หรือ 35 ไมล์ อยู่ใต้กรุง[[เดลี]]ลงมาประมาณ 141 กิโลเมตร หรือ 88 ไมล์ แต่ตัวเมืองมถุราปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ ณ ที่เดิมเลยเสียทีเดียว พื้นที่เมืองมถุราแต่เดิมนั้น บัดนี้เป็นซากเรียกกันว่า '''มโหลิ''' อยู่ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 8 กิโลเมตร หรือ 5 ไมล์
 
ใน[[สมัยพุทธกาล]] [[พระพุทธศาสนา]]ยังไม่แพร่หลายนักในแคว้นสุรเสนะ มีกล่าวไว้ในพระบาลีว่า พระพุทธองค์เคยเสด็จสู่เมืองมถุรา แต่ไม่ปรากฏชัดว่าได้ประทับที่นั่นหรือ ณ ที่อื่นในแคว้นนี้หรือไม่ [[พระมหากัจจายนะ]] พระสาวกชั้นผู้ใหญ่และสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง ผู้ซึ่งได้รับยกย่องจาก[[พระโคตมพุทธเจ้า|พระพุทธองค์]]ว่า เป็นยอดแห่งพระภิกษุ ผู้มีความสามารถอธิบายความแห่งคำที่ย่อให้พิสดาร เคยพำนักอยู่ที่ป่าคุนทาวันใกล้มถุรา พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตรได้เสด็จไปหา และทรงถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องวรรณะ สดับธรรมกถาของท่านแล้ว ทรงมีความเลื่อมใส แสดงพระองค์เป็นอุบาสก ความในพระสูตรแสดงว่า เรื่องเกิดขึ้นเมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จปรินิพพานแล้ว กล่าวกันว่า พระพุทธศาสนาตั้งหลักได้ ในแคว้นสุรเสนะ ด้วยผลแห่งความสามารถของท่านพระมหากัจจายนะ
 
เมื่อหลวงจีนฟาเหียนและ[[พระถังซัมจั๋ง]] เดินทางมาสืบทอดพระศาสนาในอินเดียในตอนกลางพุทธศตวรรษที่ 10 และตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ตามลำดับ ท่านได้พบว่าพระพุทธศาสนาที่มถุราในสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งมถุราในปัจจุบัน ซึ่งมีศิลปวัตถุโบราณทั้งของพุทธและอื่น ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก มีพระพุทธรูปหินในท่าประทับยืน ซึ่งได้รับยกย่องว่างดงามมากอยู่องค์หนึ่ง<ref>[http://www.vichadham.com/buddha/city16.html มหาชนบท 16 แคว้น แคว้นสำคัญในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล] จากเว็บ '''vichadham.com'''</ref>
 
==อ้างอิง==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ศูรเสน"