ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ติรุวัฬฬุวรร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
'''ติรุวัลลุวร''' (Thiruvalluvar) หรือที่นิยมเรียกว่า '''วัลลุวร''' (Valluvar) เป็นกวีและ[[นักปราชญ์]][[ชาวทมิฬ]]ที่ได้รับการเชิดชูอย่างมาก เป็นที่รู้จักในฐานะผู้นิพนธ์ ''[[Tirukkuṟaḷ|ติรุกกุรัฬ]]'' (Tirukkuṟaḷ) หนังสือรวมงานเขียนด้วยประโยคคู่ (couplets) เกี่ยวกับจริยศาสตร์, การเมือง, เศรษฐกิจ และความรักเป็นที่ยอมรับกันว่างานเขียนชุดนี้โดดเด่นและเป็นที่ชื่นชอบมากในบรรดา[[วรรณกรรมทมิฬ]]{{sfn|Kamil Zvelebil|1975|pp=123–124}}
 
[[Kamil Zvelebil|กมิล ซเวเลบิล]] นักวิชาการด้านวรรณกรรมทมิฬระบุว่าแทบจะไม่มีข้อมูลดั้งเดิมชิ้นใดเลยที่หลงเหลืออันเกี่ยวกับวัลลุวร{{sfn|Kamil Zvelebil|1975|p=124}} ชีวิตและปูมหลังของเขานั้นได้มาจากการตีความจากงานเขียนของเขาโดยนักอัตชีวประวัติมากมาย นิกาย ความเชื่อ ไปจนถึงศาสนาต่างๆ ของอินเดียและพื้นเมือง รวมถึงบรรดามิชชันนารีคริสต์ล้วนเคยอ้างว่างานเขียนของวัลลุวรได้รับแนวคิดบันดาลใจมาจากความเชื่อของตนอย่างเปิดเผยหรืออย่างอ้อม ๆ{{sfn|Kamil Zvelebil|1975|p=125}} แทบไม่เป็นที่ทราบเลยว่าวัลลุวรมีพื้นหลังทางครอบครัว อาชีพการงาน และนับถือในลัทธิใด เชื่อกันว่าเขาเคยอาศัยอยู่ใน[[Mylapore|ไมลาปอร์]] (ปัจจุบันเป็นย่านหนึ่งใน[[เจนไน]]) ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต เชื่อกันส่าว่างานเขียนเขาเริ่มเขียนขึ้นในช่วง 400 ปีก่อนคริสต์กาลจนถึงต้นศตวรรษที่ 5 เมื่อประเมินจากบันทึกท้องถิ่นและการวิเคราะห์ภาษาศาสตร์ในวานเขียนของเขา กมิล ซเวเลบิล อ้างจากติรุกกุรัฬว่าติลุวัลลุวรน่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 5<ref>{{harvnb|Kamil Zvelebil|1973|pp=155–156 (c. 450–550 CE)}};<br>{{harvnb|Kamil Zvelebil|1974|p=119 (c. 450–500 CE)}};<br>{{harvnb|Kamil Zvelebil|1975|p=124 (c. 500 CE)}}</ref>{{sfn|Stuart Blackburn|2000|p=454}}
 
วัลลุวรได้มีอิทธิพลต่อนักวิชาการในวงกว้างเป็นเวลายาวนาน ทั้งในแนวคิดในแง่มุมของจริยศาสตร์สังคม การเมือง เศรษฐศาสตร์ ศาสนา ประชญา และจิตวิญญาณ{{sfn|Velusamy and Faraday, 2017|pp=7–13}}{{sfn|Sundaramurthi, 2000|p=624}} ติลุวัลลุวรได้รับการยกย่องเป็นฤาษีที่ยิ่งใหญ่ และงานเขียนของท่านได้รับการยกย่องในฐานะวรรณกรรมทมิฬที่เป็นคลาสสิก{{sfn|Kamil Zvelebil|1973|p=168}}