ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคว้นกาสี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Series King (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:02, 11 ตุลาคม 2563

แคว้นกาสี เป็นอาณาจักรโบราณของประเทศอินเดีย มีเมืองหลวง คือ พาราณสี อาณาเขตด้านหลังล้อมรอบด้วย แม่น้ำวรุณ และแม่น้ำอาสี เป็นหนึ่งในมหาชนบท 16 แคว้น รัฐใหญ่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของอินเดียเมื่อต้นศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตศักราช อาณาจักรกาสีใหญ่กว่าพาราณสี พรมแดนด้านตะวันออกสุดคือแม่น้ำซอน ซึ่งเป็นพรมแดนด้านตะวันตกของ แคว้นมคธ ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของ Eastern UP ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพาราณสีในปัจจุบันและทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นมคธ ปัจจุบัน พาราณสีมีฐานะเป็นจังหวัด หรือเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของรัฐอุตตรประเทศ ซึ่งมีลัคเนาว์ เป็นเมืองหลวง เป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีการคมนาคมติดต่อกับเมืองอื่น ๆ ทั้งทางเครื่องบิน รถยนต์ และรถไฟ อยู่ห่างจากเดลีโดยทางรถไฟ 763 กิโลเมตร จากกัลกัตตา 678 กิโลเมตร จากบอมเบย์ 1,495 กิโลเมตร จากปัฏนา 229 กิโลเมตรและจาก คยา 220 กิโลเมตร

แคว้นกาสี

แคว้นกาสี และแคว้นอื่นๆใน ยุคพระเวท ปลาย
แคว้นกาสี และแคว้นอื่นๆใน ยุคพระเวท ปลาย
Kashi and other Mahajanapadas in the Post Vedic period.
Kashi and other Mahajanapadas in the Post Vedic period.
เมืองหลวงพาราณสี
ศาสนา
ศาสนาฮินดู
พระพุทธศาสนา
ศาสนาเชน
การปกครองราชาธิปไตย
ถัดไป
Kosala

ใน นิทานชาดก กล่าวถึงเมืองพาราณสึว่าเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องความเจริญรุ่งเรืองและความมั่งคั่ง[1] เรื่องราวเหล่านี้บอกถึงการแข่งขันทางความเจริญรุ่งเรืองที่ยาวนานระหว่างอาณาจักรกาสีและอาณาจักรใกล้เคียง อาทิเช่น แคว้นโกศล และบางครั้งแคว้นกาสีเองก็เกิดความขัดแย้งกับ แคว้นอังคะ และ แคว้นมคธ ในอดีต แคว้นกาสีเคยเป็นหนึ่งในรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในอินเดียตอนเหนือ[1] จนกระทั่งกษัตริย์พรหมทัตแห่งแคว้นกาสี สามารถเอาชนะแคว้นโกศลได้ ในช่วงสมัยพุทธกาล แคว้นกาสีถูกรวมเข้ากับแคว้นโกศลโดยกษัตริย์กังสะ[2] จึงทำให้ชาวกาสี พร้อมด้วยชาวโกศล และชาววิเทหะ เป็นชนชาติที่กล่าวถึงในตำราพระเวทและดูเหมือนจะเป็นพันธมิตรกันอย่างใกล้ชิด

พระโคตมพุทธเจ้า เริ่มประกาศพระพุทธศาสนา ที่แคว้นกาสีเป็นที่แรก โดย ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ อยู่ที่แคว้นกาสีนี้ ปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ เป็นเขตชานเมืองพาราณสี อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร ในสมัยโน้น ระยะทางจากพุทธคยาถึงสารนาถ (คือจากอุรุเวลาเสนานิคมถึงอิสิปตนะมฤคทายวัน) มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ว่า 18 โยชน์ พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศคำสอนของพระองค์เป็นครั้งแรกที่นี่ ทรงได้พระสาวกองค์แรกถึงองค์ที่ 60 ที่นี่ ทรงเริ่มงานประกาศพระศาสนาด้วย การส่งพระสาวกรุ่นแรก 60 ท่านดังกล่าว ซึ่งเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ให้แยกย้ายกันไปยังที่ต่าง ๆ จากที่นี่

ที่อิสิปตนะมฤคทายวัน หรือสารนาถนี้ นอกจากปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้ว พระพุทธองค์ยังได้ทรงแสดงพระสูตรอื่น ๆ อีกหลายสูตร ในต่างโอกาสต่างวาระกัน อาทิเช่น อนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปัญจสูตร ปาสสูตร กฏุวิยสูตร รถการสูตร ซึ่งมีชื่ออย่างอื่นอีกว่า ปเจตนสูตร หรือจักกวัตติสูตร กับสมยสูตร และธัมมทินนสูตรผลแห่งการที่ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนะมฤคทายวันนี้ ทำให้พระโกณฑัญญะ ผู้เป็นหัวหน้าของปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน แล้วได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุจากพระพุทธองค์ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นอันได้มีพระภิกษุสาวกองค์แรกขึ้นในพระพุทธศาสนา และได้ทำให้พระสังฆรัตนะอันเป็นองค์หนึ่งแห่งพระรัตนตรัยเกิดขึ้นในโอากสนั้น ทำให้พระรัตนตรัยเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ผลแห่งการที่ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร หรือปัญจสูตร ทำให้พระปัญจวัคคีย์ซึ่งทั้งหมดได้รับอุปสมบทแล้ว ได้บรรลุอรหัตผลเป็นพระอรหันตบุคคลในพระศาสนา

ณ ที่นี้ พระพุทธองค์ได้ทรงมีพระบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ สืบเนื่องจากการที่นางสุปปิยาอุบาสิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนาอย่างแรงกล้า ได้เฉือนเนื้อจากขาของตนให้ปรุงเป็นน้ำต้มเนื้อ ถวายแก่พระภิกษุรูปหนึ่งผู้มีความต้องการน้ำต้มเนื้อ ทั้งนี้โดยที่นางได้ปวารณาว่าจะจัดถวาย แต่แล้วก็ไม่สามารถจะหาเนื้อตามปกติในท้องตลาดได้

พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเศรษฐีบิดาพระยสะ และท่านเศรษฐีได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ได้แสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต เป็นอุบาสกคนแรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และเป็นคนแรกแห่งอุบาสกบริษัทที่ได้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลมารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ ได้สดับพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโปรดแล้ว ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ได้ปฏิญาณตนเป็นอุบาสิกาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ทั้งสองท่านเป็นอุบาสิกาคู่แรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และเป็นคู่แรกในฝ่ายอุบาสิกาบริษัท ที่ได้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล โดยนัยเดียวกันกับฝ่ายอุบาสกพระพุทธรัตนะ และพระธรรมรัตนะ เกิดที่แคว้นมคธ พระสังฆรัตนะ เกิดที่แคว้นกาสี พระรัตนตรัยเกิดขึ้นสมบูรณ์ที่แคว้นกาสีพระภิกษุสาวกองค์แรก และอุบาสกอุบาสิกาถึงไตรสรณคมน์เป็นครั้งแรกมีขึ้นที่แคว้นกาสี อุบาสกอุบาสิกาที่ถึงไตรสรณคมน์เป็นครั้งแรก เกิดที่แคว้นกาสี

มีเรื่องกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบทว่า เมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นันททิยมาณพ แห่งพาราณสี ผู้ใจบุญและมีศรัทธาในพระศาสนาอย่างแรงกล้า ได้สร้างวิหารอย่างวิจิตรสวยงาม ณ อิสิปตนะมฤคทายวัน แล้วมอบถวายแด่พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ ด้วยผลแห่งกรรมดีดังกล่าว ได้มีวิมานสำหรับนันทิยะเกิดขึ้นคอยท่าในสวรรค์ ตั้งแต่นันทิยะยังไม่ตายในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช คือเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้วได้ 200 ปีเศษ อิสิปตนะมฤคทายวันได้เป็นวัดหรือสำนักใหญ่โต พระเจ้าอโศกได้ทรงสร้างสถูปเจดีย์และเสาศิลาจารึกไว้ บางสิ่งยังคงมีปรากฏให้เห็นในบัดนี้

อิสิปตนะมฤคทายวัน ดำรงความเป็นสำนักใหญ่โตและเป็นศูนย์กลางการพระศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งตลอดมา จวบจนกระทั่งถูกมุสลิมเตอร์กทำลาย เมื่อจวนจะสิ้นคริสต์ศตรวรรษที่ 12 คือเมื่อประมาณพุทธศักราช 1737 หรือคริสต์ศักราช 1194 จากนั้นก็ถูกทอดทิ้งตลอดมาเป็นเวลากว่า 700 ปี ไม่มีโอกาสฟื้นตัวได้อีก เช่นเดียวกับนาลันทาและสำนักทางพุทธศาสนาอื่น ๆ ซึ่งก็ได้ถูกทำลายลงในระยะไล่เลี่ยกัน การถูกทำลายในยุคนี้ ถือว่าเป็นการถูกประหัตประหารอย่างไม่มีครั้งใดรุนแรงเท่ามีผลทำให้พระพุทธศาสนาต้องถึงกับเป็นสิ่งถูกลืม และหมดไปจากอินเดียในที่สุด

ปัจจุบันซากแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ที่สารนาถหรืออิสิปตนะมฤคทายวัน ได้รับการขุดค้นขึ้นมาให้ปรากฏ ผลจากการขุดค้นสำรวจทำให้ได้พบสิ่งต่าง ๆ มากมาย ที่ควรระบุชื่อโดยเฉพาะก็เช่น สถูปหมายจุดที่พระพุทธองค์เสด็จมาพบพระปัญจวัคคีย์ มูลคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธองค์ สถูป หมายจุดที่ทรงแสดงปฐมเทศนา เสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศก มหาราชซากสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้าง กับซากกุฏิ วิหารและเจดีย์ใหญ่น้อยจำนวนมาก รวมทั้งพระพุทธรูปบางปฐมเทศนา ซึ่งได้รับยกย่องว่ามีความงามเป็นเลิศ และสิงห์หัวเสาพระเจ้าอโศก ซึ่งสลักอย่างสวยงามจากหินก้อนเดียว ให้เป็นสิงห์สี่ตัวนั่งหันหลังเข้าหากัน และทางอินเดียได้นำมาเป็นตราแผ่นดิน หรือตราของทางราชการ เช่นที่เห็นกันอยู่ในบัดนี้[3]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Singh, Upinder (2008). A history of ancient and early medieval India: from the Stone Age to the 12th century. Pearson Education. pp. 258–262. ISBN 9788131711200.
  2. https://sreenivasaraos.com/tag/history-of-kashi/
  3. มหาชนบท 16 แคว้น แคว้นสำคัญในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล จากเว็บ ข้vichadham.com