ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49:
ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1945 เหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นที่ชื่นชอบของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป ใน[[แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|แนวรบด้านตะวันตก]] ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ต่อสู้รบในเยอรมนีด้วยการทัพต่อ[[แนวซีคฟรีท]] นับตั้งแต่[[ยุทธการที่อาเคิน]]และ[[ยุทธการที่ป่าเฮือร์ทเกิน]]ในปลายปี ค.ศ. 1944 และในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 ได้ผลักดันเยอรมันกลับไปยังจุดเริ่มต้นในช่วง[[ยุทธการตอกลิ่ม]] ด้วยความล้มเหลวของการรุกครั้งนี้ทำให้กองกำลังสำรองทางยุทธศาสตร์ของเยอรมนีหมดลง ซึ่งไม่พร้อมที่จะต่อต้านการทัพครั้งสุดท้ายของฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป ความสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นใน[[ไรน์ลันด์]]ยิ่งทำให้[[กองทัพบกเยอรมัน (แวร์มัคท์)|กองทัพบกเยอรมัน]]อ่อนแอลง โดยหน่วยทหารที่แตกกระจายออกไป เพื่อปกป้องฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ ในวันที่ 7 มีนาคม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึด[[สะพานลูเดินดอร์ฟ|สะพาน]]แห่งสุดท้ายที่ยังคงสภาพสมบูรณ์เพื่อข้ามแม่น้ำไรน์ที่[[เรมาเกิน]] และได้สร้างหัวสะพานขนาดใหญ่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ในช่วงปฏิบัติการลัมเบอร์แจ็ค [[ปฏิบัติการพลันเดอร์]]และปฏิบัติการอันเดอร์โทนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 เยอรมันได้ประสบความสูญเสียในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ค.ศ. 1945 ประมาณ 400,000 นาย รวมทั้ง 280,000 นายที่ถูกจับกุมเป็นเชลยสงคราม{{sfn|Zaloga|Dennis|2006|p=88}}
 
ใน[[แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|แนวรบด้านตะวันออก]] [[กองทัพแดง]][[โซเวียต]] (รวมทั้ง[[กองทัพโปแลนด์ในตะวันออก]]ภายใต้บัญชาการของโซเวียต) พร้อมกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ได้เข้า[[การรุกวิสตูลา–โอเดอร์|ยึดครองส่วนใหญ่ของโปแลนด์]]และเริ่มการรุกเข้าสู่เยอรมนีตะวันออกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 และในเดือนมีนาคมซึ่งอยู่ห่างไม่ไกลจาก[[กรุงเบอร์ลิน]] การรุกครั้งแรกในการเข้าสู่โรมาเนีย การรุกยาช–คีชีเนฟครั้งที่หนึ่งในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ค.ศ. 1944 ได้ประสบความล้มเหลว [[การรุกยาช–คีชีเนฟครั้งที่สอง]]ในเดือนสิงหาคมซึ่งประสบความสำเร็จ กองทัพแดงยังรุกเข้าลึกไปยังฮังการี([[การรุกบูดาเปสต์]]) และทางตะวันออกของ[[เชโกสโลวาเกีย]] และหยุดเคลื่อนทัพชั่วคราวไว้ที่[[แนวโอเดอร์-นีสเซ]] บริเวณชายแดนระหว่างเยอรมัน-โปแลนด์ในยุคปัจจุบัน การรุกอบย่างอย่างรวดเร็วในแนวรบด้านตะวันออกได้ทำลายหน่วยรบของเยอรมันที่ผ่านศึกมามากขึ้นและจำกัดขีดความสามารถของผู้นำเยอรมัน [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] อย่างสาหัสเพื่อเสริมกำลังในการป้องกันแม่น้ำไรน์ เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้เตรียมการครั้งสุดท้ายสำหรับการรุกที่ทรงพลังของพวกเขาในการเข้าไปยังใจกลางของเยอรมัน ชัยชนะกำลังใกล้เข้ามาแล้ว
 
== อ้างอิง ==