ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยูเอชเอฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
[[สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี]] (สปน.) เริ่มดำเนินโครงการ [[สถานีโทรทัศน์]]ระบบ UHF เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีการเปิดประมูลรับสัมปทาน เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2538 โดย กลุ่มสยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่น (แปรรูปเป็น บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เมื่อได้รับอนุมัติสัมปทานแล้ว และเปลี่ยนชื่อเป็น [[บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)]] เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541) เป็นผู้ได้รับอนุมัติสัมปทานดังกล่าว โดยใช้ชื่อสถานีว่า '''[[สถานีโทรทัศน์ไอทีวี]]''' นับเป็นสถานีโทรทัศน์ระบบ UHF แห่งแรกของประเทศไทย ออกอากาศทางช่อง 26 และเปลี่ยนมาเป็นช่อง 29 ในภายหลัง โดยมีอายุสัมปทาน 30 ปี เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น '''[[สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี]]''' ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 และ '''[[สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส]]''' ตามลำดับในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551
 
ราวปลายปี พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.) ในขณะนั้น อนุมัติให้จัดสรรคลื่นความถี่ในระบบ UHF แก่[[ช่อง 3 เอชดี|'''สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3''']] เพื่อใช้ออกอากาศทดแทนคลื่นความถี่เดิม ([[วีเอชเอฟ|VHF]] ความถี่ต่ำ ทางช่องสัญญาณที่ 3) เป็นจำนวน 5 ช่องสัญญาณ โดย[[ช่อง 3 เอชดี|ช่อง 3]] ได้ทำการออกอากาศในระบบ UHF ทางช่อง 32 ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 เวลา 09:39 น. และโดยได้ยุติการออกอากาศในระบบ VHF ความถี่ต่ำเป็นการถาวรในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และได้ยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อกความถี่ UHF เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 00:01 น.
 
== ดูเพิ่ม ==