ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รอบประจำเดือน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นตัวกำหนดรอบประจำเดือน<ref name=Women2014Men/> การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยใช้[[ยาคุมกำเนิด|การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน]]เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์<ref>{{cite journal | vauthors = Klump KL, Keel PK, Racine SE, Burt SA, Burt AS, Neale M, Sisk CL, Boker S, Hu JY | display-authors = 6 | title = The interactive effects of estrogen and progesterone on changes in emotional eating across the menstrual cycle | journal = Journal of Abnormal Psychology | volume = 122 | issue = 1 | pages = 131–7 | date = February 2013 | pmid = 22889242 | pmc = 3570621 | doi = 10.1037/a0029524 }}</ref> รอบหนึ่งแบ่งออกเป็นสามระยะตามเหตุการณ์ในรังไข่ (รอบรังไข่) หรือในมดลูก (รอบมดลูก)<ref name=Silverthorn /> รอบรังไข่ประกอบด้วยระยะถุงน้อย (follicular), การตกไข่ และระยะลูเทียม (luteal) ขณะที่รอบมดลูกแบ่งออกเป็นระยะมีประจำเดือน ระยะเพิ่มจำนวน (proliferative) และระยะหลั่ง (secretory)
 
การขับเลือดประจำเดือนหยุดเมื่อปริมาณเอสโตรเจนค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในระยะถุงน้อย และเยื่อบุมดลูกหนาตัวขึ้น ถุงน้อยในรังไข่เริ่มเติบโตภายใต้อิทธิพลของอันตรกิริยาระหว่างฮอร์โมนหลายชนิด และหลังผ่านไปหลายวัน ถุงน้อยจะเด่น (dominant) ขึ้นมาหนึ่งหรือสองถุง ส่วนถุงน้อยที่เหลือฝ่อลงและตายไป ประมาณกลางรอบ 24–36 ชั่วโมงหลังจากการเพิ่มขึ้นกระทันหันของฮอร์โมนลูทีไนซิง (luteinizing hormone, "ทำให้เหลือง") ถุงน้อยเด่นจะปล่อยเซลล์ไข่ออกมา เรียกเหตุการณ์นี้ว่า การตกไข่ หลังการตกไข่ เซลล์ไข่อยู่ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมงหากไม่มีการปฏิสนธิ ส่วนถุงน้อยเด่นที่เหลืออยู่ในรังไข่จะกลายเป็นคอร์ปัสลูเทียม (corpus luteum, "กายเหลือง") ซึ่งมีหน้าที่หลักในการผลิต[[โปรเจสเตอโรน]]ปริมาณมาก ภายใต้อิทธิพลของโปรเจสเตอโรน เยื่อบุมดลูกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมรับการฝังตัวของเอ็มบริโอที่อาจเกิดขึ้นเพื่อทำให้เกิดการตั้งครรภ์ หากการฝังไม่เกิดขึ้นภายในประมาณสองสัปดาห์ คอร์ปัสลูเทียมจะม้วนเข้า ทำให้ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็ว การลดลงของฮอร์โมนทำให้มดลูกสลัดเยื่อบุทิ้ง เป็นกระบวนการที่เรียก การมีประจำเดือน การมีประจำเดือนยังเกิดขึ้นในไพรเมตที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ด้วย คือ [[เอป|ลิงไม่มีหาง]]และ[[ลิง]]<ref name=Kris2013>{{cite book|first1=Kristin H. | last1=Lopez | name-list-format = vanc |title=Human Reproductive Biology|date=2013|publisher=Academic Press|isbn=9780123821850|page=53|url=https://books.google.com/books?id=M4kEdSnS-pkC&pg=PA53}}</ref>
 
{{TOC limit|3}}