ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงชาติไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 61:
แต่ต่อมามีการค้นพบหลักฐานใหม่เป็นหนังสือพิมพ์ Supplement of The Singapore Free Press ฉบับวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2386 โดยได้อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ The Canton Press ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2386 ระบุว่า มีกองเรือของ[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3 จำนวน 3 ลำ นำ[[เครื่องราชบรรณาการ]]มาแวะที่ท่าเรือ[[นิคมช่องแคบ|สิงคโปร์]]เพื่อที่จะเดินทางไปยัง[[ราชวงศ์ชิง|ประเทศจีน]] เพื่อถวาย[[เครื่องราชบรรณาการ]]แด่[[จักรพรรดิเต้ากวง|องค์จักรพรรดิจีน]] ซึ่งท้ายเรือนั้นมีการประดับธงช้างเผือกแบบไม่มีจักร จึงเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าได้เริ่มการใช้ธงช้างเผือกเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
และต่อมามีการค้นพบหลักฐานใหม่เป็นผังธงโลก ซึ่งมีรูปธงช้างเผือกปรากฏอยู่ด้วยอีก 34 ชุด และระบุเวลาที่เก่าแก่ลงมาเรื่อย ๆ ดังนี้
 
# ผังธงโลกโบราณ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2383 ที่[[ประเทศฝรั่งเศส]] ซึ่งได้รับการยืนยันแล้ว<ref>{{Cite web|url=https://artsandculture.google.com/asset/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/UAHacKbZcdBOWA?hl=th|title=ผังธงโลกพิมพ์ในฝรั่งเศสปี พ.ศ. 2383|author=พฤฒิพล ประชุมผล|website=artsandculture.google.com|accessdate=28 กันยายน 2562}}</ref>
# ผังธงโลกโบราณ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2375<ref>{{Cite web|url=https://www.facebook.com/www.thaiflag.org/posts/2481825821883893|title=บันทึกประวัติศาสตร์ธงช้างเผือกใหม่|author=พฤฒิพล ประชุมผล|website=www.facebook.com|date=19 สิงหาคม 2562|accessdate=28 กันยายน 2562}}</ref> แต่ยังไม่ได้รับการยืนยัน
# ผังธงโลกโบราณ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2373 ค้นพบที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเยอรมนี แต่โดยผังธงโลกนี้ระบุชื่อธงใต้ธงช้างเผือกผิด โดยระบุเป็น[[ธงชาติพม่า]] ซึ่งขณะนั้นพม่าใช้ธงนกยูงสมัย[[ราชวงศ์โกนบอง]]เป็นธงชาติ ธงช้างเผือกนี้จึงต้องเป็นธงชาติของสยาม แต่ยังไม่ได้รับการยืนยัน จึงเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดอย่างไม่เป็นทางการในปัจจุบัน<ref>{{Cite web|url=https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2521204297946045&set=a.1131895730210249&type=3&theater|title=ผังธงโลก 2373|author=พฤฒิพล ประชุมผล|website=www.facebook.com|date=10 กันยายน 2562|accessdate=28 กันยายน 2562}}</ref>
# ผังธงโลกโบราณ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2380 ที่[[ประเทศฝรั่งเศส]] และถือเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการในปัจจุบัน<ref>{{Cite web|url=https://www.facebook.com/www.thaiflag.org/posts/3469746233091842|title=ข่าวดีของประเทศไทย|author=พฤฒิพล ประชุมผล|website=www.facebook.com|date=5 ตุลาคม 2563|accessdate=3 ตุลาคม 2563}}</ref>
<center>
<gallery heights="120" perrow="3" widths="180">
เส้น 75 ⟶ 76:
 
=== ธงแดงขาว 5 ริ้ว (พ.ศ. 2459) ===
ธงช้างเผือกเปล่าได้ใช้เป็นธงชาติสยามสืบมานานถึง 84 ปี กินระยะเวลารวมถึง 4 รัชกาล จนกระทั่งในวันที่ 13 สิงหาคมกันยายน พ.ศ. 2459 เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดเขาสะแกกรัง (ปัจจุบันคือ[[วัดสังกัสรัตนคีรี]]) ใน[[เมืองอุทัยธานี]] ซึ่งขณะนั้นประสบเหตุอุทกภัย และในยุคนั้นธงช้างถือว่าเป็นของหายาก มีราคาแพง เพราะต้องสั่งทำจากต่างประเทศ อีกทั้งธงช้างที่มีขายบางแบบนั้นผลิตมาจากประเทศที่ไม่รู้จักช้าง รูปร่างของช้างที่ปรากฏจึงไม่น่าดู แม้กระนั้น ก็ยังมีราษฎรคนหนึ่งซึ่งตั้งใจรอรับเสด็จหาธงช้างมาได้ แต่ด้วยความประมาทจึงประดับธงผิดด้าน กลายเป็นประดับกลับหัว ซึ่งเป็นการสื่อเจตนาที่เสื่อมเสียแก่พระเกียรติยศ เนื่องจากเป็นลักษณะของช้างเผือกล้ม ซึ่งส่อให้เห็นเป็นลางร้ายได้ว่าพระมหากษัตริย์อาจเสด็จสวรรคตเร็วกว่าปกติ พระองค์ทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์ดังนั้นจึงทรงมีพระราชดำริว่า ธงชาติต้องมีรูปแบบที่สมมาตร และราษฎรสามารถทำใช้เองได้จากวัสดุภายในประเทศ เพื่อมิให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปแบบธงชาติ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบยาวสีแดง 3 แถบ สลับกับแถบสีขาว 2 แถบ ซึ่งเหมือนกับธงชาติไทยในปัจจุบัน แต่มีเพียงสีแดงสีเดียว ซึ่งธงนี้เรียกว่า ''ธงแดงขาว 5 ริ้ว'' (ชื่อในเอกสารราชการเรียกว่า ''ธงค้าขาย'') ทั้งนี้ สำหรับหน่วยงานราชการของรัฐบาลสยามยังคงใช้ธงช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ แต่เป็นแบบทรงเครื่องยืนแท่น ซึ่งแต่เดิมธงนี้เป็นธงสำหรับเรือหลวงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2440 และมีฐานะเป็นธงราชการอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2453
 
แต่ต่อมามีการค้นพบหลักฐานใหม่ ซึ่งพบว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชประสงค์ในการเปลี่ยนและเพิ่มแบบธงสำหรับธงสำหรับชาติสยามใหม่ สำหรับประชาชนเพื่อใช้ในการค้าขาย ล่องเรือระหว่างประเทศและใช้ประดับบนบก ซึ่งมีบันทึกอยู่ใน เรื่องเปลี่ยนธงสำหรับชาติสยาม (๘ พ.ค. - ๖ มิ.ย. ๒๔๕๙)<ref>ปัจจุบันถูกเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ</ref> โดยมีการบันทึกว่า "เพราะ การค้าขายของเรานั้นเห็นว่าจะเจริญแล้ว จึงได้ใช้ธงชนิดนี้ขึ้นใหม่สำหรับการค้าขาย และเป็นธงทั่วไปด้วย นอกจากธงราชการ" แต่โดยที่ผ่านมา เรากลับได้ยึดเอาหลักฐานการเปลี่ยนธงชาติจากหนังสือ[[วชิราวุธานุสรณ์ ๒๔๙๖]] ซึ่งเป็นบันทึกของ[[จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช)]] โดยได้บันทึกว่าในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2459 ได้มีการประดับธงช้างเผือกกลับหัวรับเสด็จ อันเป็นเหตุยุติการใช้ธงช้างเผือก แต่ในต่อมาหลักฐานใหม่ที่ถูกค้นพบคือจดหมายเหตุรายวัน เล่ม ๒ พระพุทธศักราช ๒๔๕๙ วันที่ ๑๔ กันยายน ถึง วันที่ ๑๐ มีนาคม ซึ่งเป็นลายพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ระบุว่า "วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ (กันยายน 2459) เวลาเข้า ๔ โมงเศษ ไปลงเรือเก่ากึ่งยามที่[[ท่าวาสุกรี]] เรือกลไฟจึงขึ้นมาตามลำน้ำ แวะกินกลางวันที่วัดไก่เตี้ย แขวง[[จังหวัดปทุมธานี|เมืองประทุมธานี]], และเดินเรือต่อมาจนค่ำถึง[[อำเภอบางปะอิน|บางปะอิน]]; พักแรม ๑ คืน" ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่จมื่นอมรดรุณารักษ์ได้บันทึกไว้ ถือว่าและเนื่องจากจดหมายเหตุรายวันเป็นลายพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 6 จึงมีหลักฐานหนาแน่นกว่า และเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีปรากฏใน[[ข่าวในพระราชสำนัก]]ประจำวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2459 ใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]อีกด้วย โดยระบุว่า "วันนี้เวลาป่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิรโดยรถยนต์พระทีนั่งยังสนามฟุตบอลสโมสรเสือป่า ทอดพระเนตร์การแข่งขันฟุตบอล ระหว่างสโมสรฟุตบอลกรมมหรศพ กับสโมสรฟุตบอลกระทรวงยุติธรรม เมื่อเสร็จการแข่งขันแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานถ้วยหลวงใหญ่แก่สำรับกรมมหรศพ ซึ่งเปนพวกทีชนะในการแข่งขันฟุตบอลสำหรับถ้วยหลวงใหญ่ปีนี้ เมื่อพระราชทานรางวัลเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับทอดพระเนตร์กระบวนแห่ถ้วยหลวงใหญ่ แห่ถ้วยไปยังสโมสรสถานกรมมหรศพ" จึงเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดเขาสะแกกรังในวันดังกล่าวตามที่จมื่นอมรดรุณารักษ์ได้บันทึกไว้
 
<center>