ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kelos omos1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kelos omos1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 120:
 
{{quote|
ตามที่พวกเราเข้าใจสถานการณ์ในตอนนี้ รัฐธรรมนูญออสเตรเลียมอบพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ไว้กับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างเด็ดขาด ในฐานะตัวแทนสมเด็จพระราชินีนาถแห่งออสเตรเลีย บุคคลเดียวที่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้คือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และสมเด็จพระราชินีนาถทรงไม่มีส่วนในการตัดสินใจของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ต้องทำตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พระองค์ในพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งออสเตรเลียทรงทอดพระเนตรเหตุการณ์ในแคนเบอร์ราด้วยความสนพระทัยและตั้งพระทัยเป็นอย่างยิ่ง และคงจะไม่เป็นการเหมาะสมที่พระองค์จะทรงแทรกแซงด้วยพระองค์เองในเรื่องที่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าเป็นอำนาจของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์{{sfn|Kerr|1978|pp=374–375}}
}}
 
บรรทัด 150:
 
{{quote|
<nowiki>[เคอร์]</nowiki> ควรที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อองค์พระมหากษัตริย์และต่อรัฐธรรมนูญอย่างกล้าหาญและไม่หวั่นเกรง เขาควรจะพูดตรง ๆ กับนายกรัฐมนตรีที่เขารับผิดชอบอยู่ตั้งแต่ต้น เขาควรที่จะเตือนที่ไหนก็ตามและเมื่อไรก็ตามที่เหมาะสม เขาควรที่จะรู้ว่า ไม่ว่าเขาจะมีความกลัวอย่างไร ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะปฏิบัติตนเป็นอื่น{{sfn|Kelly|1995|p=301}}
}}
 
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก่อนเคอร์ เซอร์พอล แฮสลัค เชื่อว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตขึ้นคือการขาดความเชื่อใจและไว้วางใจระหว่างวิทแลมและเคอร์ และบทบาทที่เหมาะสมของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือการให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ และให้คำเตือน
 
==คำกล่าวหาว่ามีความเกี่ยวข้องกับซีไอเอ==
ระหว่างที่เกิดวิกฤต วิทแลมกล่าวหาว่าหัวหน้าพรรคชนบท ดัก แอนโธนี มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ[[สำนักข่าวกรองกลาง]]ของสหรัฐฯ หรือ ซีไอเอ ต่อมามีการกล่าวหาว่าเคอร์ทำตามคำสั่งของรัฐบาลสหรัฐฯ ให้ปลดวิทแลม คำกล่าวหาที่มีมากที่สุดคือซีไอเอมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเคอร์ ในปี 1966 เคอร์เข้าร่วมกลุ่มคอนเกรสฟอร์คัลเชอรัลฟรีดอม (Congress for Cultural Freedom) ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนอย่างลับ ๆ จากซีไอเอ คริสโตเฟอร์ บอยซ์ ที่ต้องโทษข้อหาเป็นสายลับให้กับ[[สหภาพโซเวียต]] พูดว่าซีไอเอ ต้องการเอาวิทแลมออกจากตำแหน่งเพราะเขาขู่ว่าจะปิดฐานทัพสหรัฐฯ ในออสเตรเลีย รวมถึงฐานทัพไพน์แก็ป บอยซ์เป็นลูกจ้างอายุ 22 ปี เป็นพนักงานในบริษัทผู้รับจ้างในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของสหรัฐฯ ในขณะที่เกิดการปลดนายกรัฐมนตรี เขาพูดว่าซีไอเอพูดถึงเคอร์ว่าเป็น "เคอร์คนของเรา" ตามที่โจนาธาน ควิทนีย์จากหนังสือพิมพ์[[เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล]] กล่าวว่าซีไอเอ "ออกค่าเดินทางให้กับเคอร์ สร้างสมบารมีให้ เคอร์ยังคงไปเอาเงินกับซีไอเอ" ในปี 1974 ทำเนียบขาวส่ง มาร์แชล กรีน มาเป็นเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำออสเตรเลีย ผู้เป็นที่รู้จักในฉายา "เจ้าแห่งการรัฐประหาร" เนื่องด้วยบทบาทสำคัญในการรัฐประหารปี 1965 เพื่อนโค่นล้มประธานาธิบดีอินโดนีเซีย [[ซูการ์โน]]
 
วิทแลมเขียนในเวลาต่อมาว่า เคอร์ไม่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากซีไอเอ อย่างไรก็ตาม เขายังกล่าวว่าในปี 1977 ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา วอร์เร็น คริสโตเฟอร์ เดินทางมาซิดนีย์เป็นการพิเศษ เพื่อพบกับเขา และบอกเขาว่า ในนามของประธานาธิบดีสหรัฐฯ [[จิมมี คาร์เตอร์]] เขาพร้อมที่จะร่วมงานกับรัฐบาลใด ๆ ก็ตามที่ประชาชนออสเตรเลียเลือกตั้งเข้ามา และสหรัฐฯ จะไม่แทรกแซงกระบวนการทางประชาธิปไตยของออสเตรเลียอีก เคอร์ปฏิเสธว่าตนเองเกี่ยวกับข้องซีไอเอ และไม่มีหลักฐานว่าเขาเกี่ยวข้อง ในบันทึกส่วนตัวของเขา อดีตอธิบดีองค์การข่าวกรองความมั่นคงออสเตรเลีย เซอร์เอ็ดเวิร์ด วูดเวิร์ด ปฏิเสธความคิดที่ว่าซีไอเอเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ผู้พิพากษาโรเบิร์ต โฮป ผู้อยู่ในคณะกรรมธิการสอบสวนหน่วยข่าวกรองออสเตรเลียถึงสองครั้ง พูดในปี 1998 ว่าเขาพยายามที่จะตามหาและสัมภาษณ์พยานที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ให้หลักฐานจากกล้องถ่ายภาพให้กับคณะกรรมาธิการเชิร์ช ในเรื่องของความเกี่ยวข้องของซีไอเอในการปลดนายกรัฐมนตรี แต่ไม่สามารถหาพยานหรือคำให้การได้ ในปี 2015 นักประวัติศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ปีเตอร์ เอ็ดเวิร์ดส ปฏิเสธคำอ้างที่กล่าวหา ซึ่งเขาเรียกว่าเป็น "ทฤษฎีสมคบคิดที่อยู่มาอย่างยาวนาน"
 
จดหมายลับระหว่างเคอร์กับชาร์เทอริสที่ถูกเผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 เปิดเผยว่าเคอร์คิดว่าคำกล่าวหาว่าเขาเกี่ยวพันกับซีไอเอเป็น "เรื่องไร้สาระ" และเขายืนยันอย่างสม่ำเสมอถึง "ความจงรักภักดีเรื่อยมา" ต่อพระมหากษัตริย์
 
==ความเกี่ยวข้องของวัง==
ทั้งวิทแลมและเคอร์ไม่เคยเสนอแนะว่าวังเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ในทางลับ ตามที่เจนนี ฮ็อกคิง เล่า บันทึกของเคอร์จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติออสเตรเลียเปิดเผยว่าเขาพูดคุยเรื่องอำนาจพิเศษที่เขามี และความเป็นไปได้ว่าเขาจะใช้มันเพื่อปลดรัฐบาลวิทแลมกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลสในเดือนกันยายน ค.ศ. 1975
 
==อ้างอิง==