ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kelos omos1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kelos omos1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 127:
พรรคแรงงานเชื่อว่าตัวเองมีโอกาสชนะการเลือกตั้ง และการปลดนายกรัฐมนตรีจะเป็นข้อได้เปรียบในการเลือกตั้งสำหรับพวกเขา อย่างไรก็ตาม นักยุทธศาสตร์ของพรรคแรงงานบางคนเชื่อว่าพรรคกำลังมุ่งสู่หายนะ เพราะมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จเพียงไม่กี่อย่าง และอารมณ์ของผู้เลือกตั้งคงจะเย็นลงไปแล้วก่อนถึงวันเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี วิทแลมผู้เริ่มหาเสียงเกือบจะทันทีหลังจากที่โดนปลด ได้รับการต้อนรับจากมวลชนอย่างล้นหลามในทุกที่ที่เขาไป มีมวลชน 30,000 คนมาเข้าร่วมงานเปิดตัวหาเสียงของทางพรรคจนล้นสนามโดเมนในซิดนีย์ในวันที่ 24 พฤศจิกายน ในค่ำวันนั้น วิทแลม กล่าวสุนทรพจน์ครั้งสำคัญที่หอแสดงเฟสติวัลฮอลล์ต่อหน้า 7,500 คนและมีผู้ชมทางโทรทัศน์ทั่วประเทศ เขาเรียกวันที่ 11 พฤศจิกายน ว่าเป็น "วันอัปยศของเฟรเซอร์ เป็นวันที่จะอยู่ในความอัปยศ"
 
ผลสำรวจความเห็นถูกเผยแพร่ท้ายสัปดาห์แรกของการหาเสียง และแสดงให้เห็นว่าพรรคแรงงานตามหลังอยู่เก้าจุด ในตอนแรกทีมงานหาเสียงของวิทแลมไม่เชื่อ แต่ผลสำรวจอื่น ๆ ที่ตามมาทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้เลือกตั้งกำลังออกห่างพรรคแรงงาน ฝ่ายพันธมิตรพรรคโจมตีพรรคแรงงานในประเด็นสภาพเศรษฐกิจ และปล่อยโฆษณาทางโทรทัศน์ชุด "สามปีอันมืดมน" (The Three Dark Years) ที่แสดงภาพจากข่าวอื้อฉาวในรัฐบาลวิทแลม แคมเปญหาเสียงของพรรคแรงงาน มุ่งประเด็นไปยังเรื่องการปลดวิทแลม แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องเศรษฐกิจจนกระทั่งเหลือไม่กี่วันก่อนวันเลือกตั้ง เมื่อถึงตอนนั้น เฟรเซอร์ซึ่งมั่นใจแล้วว่าจะชนะ พอใจที่จะถอยฉาก หลีกเลี่ยงที่จะลงรายละเอียด และระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด แทบไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นเลยระหว่างช่วงหาเสียง เว้นแต่ระเบิดในซองจดหมายที่ถูกส่งทางไปรษณีย์ ฉบับหนึ่งระเบิดในสำนักงานของเบลย์เคอ-ปีเตอร์เซน ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 2 คน ในขณะที่สองฉบับ ที่ส่งไปให้เคอร์และเฟรเซอร์ ถูกสกัดและปลดชนวนก่อนที่จะระเบิด
 
ระหว่างการหาเสียง ครอบครัวเคอร์ซื้ออพาร์ทเมนต์ในซิดนีย์ ในขณะที่เซอร์จอห์นเตรียมตัวที่จะลาออกจากตำแหน่งในกรณีที่พรรคแรงงานชนะการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งวันที่ 13 ธันวาคม ฝ่ายพันธมิตรพรรคชนะการเลือกตั้งมากเป็นประวัติการณ์ โดยได้ 91 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ในขณะที่พรรคแรงงานได้ไปเพียง 36 ที่นั่ง ส่วนในวุฒิสภาก็ได้เสียงข้างมากที่ห่างขึ้นไปอีกเป็น 35 ต่อ 27
บรรทัด 145:
ผู้ได้รับผลประโยชน์จากการปลดนายกรัฐมนตรีแทบไม่สนใจที่จะปกป้องเคอร์และในท้ายที่สุดแล้วก็ทอดทิ้งเขาไป ในแง่ส่วนบุคคล เซอร์จอห์น เคอร์กลายเป็นเหยื่อที่แท้จริงของการปลดนายกรัฐมนตรี และประวัติศาสตร์เห็นตามความเป็นจริงที่โหดร้ายและอาจจะเจ็บแสบจากคำประกาศของวิทแลมที่ขั้นบันไดอาคารรัฐสภาในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 ว่า "พวกเราพูดได้ว่า "ขอให้พระเจ้าคุ้มครององค์พระราชินี" เพราะไม่มีสิ่งใดจะคุ้มครองผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้"{{sfn|Freudenberg|2009|p=416}}
}}
 
===การประเมิน===
ในการสำรวจปี 1995 เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวิกฤตครั้งนี้ ในหนังสือ November 1975 เคลลียกให้เป็นความผิดของเฟรเซอร์ที่ทำให้วิกฤตเริ่มต้นขึ้น และเป็นความผิดของวิทแลมที่พยายามใช้วิกฤตเพื่อทำลายเฟรเซอร์และวุฒิสภา อย่างไรก็ดี เขายกให้เคอร์มีความผิดมากที่สุด ที่ไม่ซื่อตรงกับวิทแลมในเจตนาของเขา และไม่ยอมจะให้คำเตือนอย่างชัดเจนเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะปลดวิทแลม เคลลีอธิบายไว้ดังนี้
 
{{quote|
<nowiki>[เคอร์]</nowiki>ควรที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อองค์พระมหากษัตริย์และต่อรัฐธรรมนูญอย่างกล้าหาญและไม่หวั่นเกรง เขาควรจะพูดตรง ๆ กับนายกรัฐมนตรีที่เขารับผิดชอบอยู่ตั้งแต่ต้น เขาควรที่จะเตือนที่ไหนก็ตามและเมื่อไรก็ตามที่เหมาะสม เขาควรที่จะรู้ว่า ไม่ว่าเขาจะมีความกลัวอย่างไร ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะปฏิบัติตนเป็นอื่น{{sfn|Kelly|1995|p=301}}
}}
 
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก่อนเคอร์ เซอร์พอล แฮสลัค เชื่อว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตขึ้นคือการขาดความเชื่อใจและไว้วางใจระหว่างวิทแลมและเคอร์ และบทบาทที่เหมาะสมของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือการให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ และให้คำเตือน