ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kelos omos1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kelos omos1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 101:
 
{{quote|
พวกเราพูดกันเถิดได้ว่า "ขอให้พระเจ้าคุ้มครององค์พระราชินี" เพราะไม่มีสิ่งใดจะช่วยคุ้มครองผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ พระราชโองการที่พวกคุณเพิ่งได้ยินเลขาธิการสำนักงานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มี มัลคอล์ม เฟรเซอร์ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการ ผู้ที่จะต้องถูกจารึกลงในประวัติศาสตร์ออสเตรเลียในวันที่ระลึกปี 1975 ว่าเป็นสุนัขรับใช้เคอร์ พวกเขาจะไม่ทำให้เสียงรอบอาคารรัฐสภาเงียบลงไปได้ แม้ว่าภายในอาคารจะเงียบลงไปมาสองสามสัปดาห์แล้ว รักษาความโกรธแค้นและความแข็งขันของพวกคุณเอาไว้เพื่อการหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงวันเลือกตั้ง{{sfn|Kelly|1995|p=275}}<ref name="Shaw 2005">{{citation
| last = Shaw
| first = Meaghan
บรรทัด 129:
ผลสำรวจถูกเผยแพร่ท้ายสัปดาห์แรกของการหาเสียง และแสดงให้เห็นว่าพรรคแรงงานตามหลังอยู่เก้าจุด ในตอนแรกทีมงานหาเสียงของวิทแลมไม่เชื่อ แต่ผลสำรวจอื่น ๆ ที่ตามมาทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้เลือกตั้งกำลังออกห่างพรรคแรงงาน ฝ่ายพันธมิตรพรรคโจมตีพรรคแรงงานในประเด็นสภาพเศรษฐกิจ และปล่อยโฆษณาทางโทรทัศน์ชุด "สามปีอันมืดมน" (The Three Dark Years) ที่แสดงภาพจากข่าวอื้อฉาวในรัฐบาลวิทแลม แคมเปญหาเสียงของพรรคแรงงาน มุ่งประเด็นไปยังเรื่องการปลดวิทแลม แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องเศรษฐกิจจนกระทั่งเหลือไม่กี่วันก่อนวันเลือกตั้ง เมื่อถึงตอนนั้น เฟรเซอร์ซึ่งมั่นใจแล้วว่าจะชนะ พอใจที่จะถอยฉาก หลีกเลี่ยงที่จะลงรายละเอียด และระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด แทบไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นเลยระหว่างช่วงหาเสียง เว้นแต่ระเบิดในซองจดหมายที่ถูกส่งทางไปรษณีย์ ฉบับหนึ่งระเบิดในสำนักงานของเบลย์เคอ-ปีเตอร์เซน ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 2 คน ในขณะที่สองฉบับ ที่ส่งไปให้เคอร์และเฟรเซอร์ ถูกสกัดและปลดชนวนก่อนที่จะระเบิด
 
ระหว่างการหาเสียง ครอบครัวเคอร์ซื่อซื้ออพาร์ทเมนต์ในซิดนีย์ ในขณะที่เซอร์จอห์นเตรียมตัวที่จะลาออกจากตำแหน่งในกรณีที่พรรคแรงงานชนะการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งวันที่ 13 ธันวาคม ฝ่ายพันธมิตรพรรคชนะการเลือกตั้งมากเป็นประวัติการณ์ โดยได้ 91 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ในขณะที่พรรคแรงงานได้ไปเพียง 36 ที่นั่ง ส่วนในวุฒิสภาก็ได้เสียงข้างมากที่ห่างขึ้นไปอีกเป็น 35 ต่อ 27
 
===ปฏิกิริยา===
การปลดนายกรัฐมนตรีถือว่าเป็นวิกฤตทางรัฐธรรมนูญและทางการเมืองที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย ในปี 1977 รัฐบาลเฟรเซอร์เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 มาตราผ่านการลงประชามติ ซึ่งผลคือประชาชนลงคะแนนให้ผ่าน 3 มาตรา หนึ่งในมาตราที่เสนอร่างแก้ไขคือการกำหนดให้วุฒิสมาชิกที่ถูกแต่งตั้งเพื่อดำรงตำแหน่งแทนเก้าอี้ที่ว่างลงต้องมาจากพรรคเดียวกับวุฒิสมาชิกที่ออกไปเท่านั้น วุฒิสภายังคงมีอำนาจในการยับยั้งงบประมาณ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ยังมีอำนาจในการปลดรัฐมนตรี (รวมถึงนายกรัฐมนตรี) อย่างไรก็ตาม นับแต่นั้นเป็นต้นมา ไม่มีการใช้อำนาจเหล่านั้นอีกเลยเพื่อบีบให้คณะรัฐมนตรีออกจากการเป็นรัฐบาล
 
เมื่อเกิดการปลดนายกรัฐมนตรี พรรคแรงงานก็หันไปโกรธแค้นเคอร์ มีการชุมนุมในทุกที่ที่เขาปรากฎตัว ส่วนสมาชิกรัฐสภาที่เหลืออยู่ของพรรคแรงงานคว่ำบาตรไม่เข้าร่วมพิธีเปิดอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วิทแลม ผู้กลายเป็นผู้นำฝ่ายค้านแล้ว ปฏิเสธทุกคำเชิญไปงานที่ทำเนียบยาร์ราลัมลา ซึ่งครอบครัวเคอร์ยังคงเชิญอยู่เรื่อย ๆ จนกระทั่งเขาปฏิเสธคำเชิญไปพิธีถวายการต้อนรับสมเด็จพระราชินีนาถในปี 1977 ที่ทำให้ครอบครัวเคอร์รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องพยายามอีกต่อไป วิทแลมไม่พูดกับเคอร์อีกเลย แม้แต่สมาชิกรัฐสภาพรรคแรงงานที่เคยเป็นเพื่อนกับเคอร์ก็ตัดขาดความสัมพันธ์ เนื่องจากรู้สึกว่าเคอร์ทรยศพรรคแรงงานและลอบกัดวิทแลม เลดีเคอร์กล่าวว่าเธอและสามีของเธอต้องเผชิญกับ "ฉากใหม่อันไร้ซึ่งเหตุผล เต็มไปด้วยศัตรูในพริบตา"
 
วิทแลมด่าว่าเคอร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกี่ยวกับบทบาทของเขาในการปลด เมื่อเคอร์ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1977 วิทแลมแสดงความเห็นว่า "เหมาะสมดีที่[[ราชวงศ์บูร์บง|บูร์บง]]คนสุดท้ายจะคำนับอำลาใน[[วันบัสตีย์]]" หลังจากที่เคอร์ลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เขายังต้องการที่จะดำรงตำแหน่งในราชการอยู่ โดยให้เหตุผลว่าเป็นความตั้งใจของเขาที่จะดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นเวลา 10 ปี อย่างไรก็ตาม ความพยายามของเฟรเซอร์ที่จะแต่งตั้งเคอร์ให้เป็นฑูตองค์การ[[ยูเนสโก]] (ตำแหน่งที่วิทแลมขึ้นมาเป็นในเวลาต่อมา) ทำให้เกิดแรงต่อต้านจากสาธารณชนอย่างรุนแรงจนต้องถอนการเสนอชื่อออกไป ครอบครัวเคอร์ใช้เวลาอีกหลายปีอยู่ในทวีปยุโรป และเมื่อเขาถึงแก่อนิจกรรมในประเทศออสเตรเลียในปี 1991 ไม่มีการประกาศการอนิจกรรมจนกระทั่งหลังจากที่เขาถูกฝัง ในปี 1991 วิทแลมกล่าวว่าคงไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คนใดในอนาคตที่จะทำเหมือนเคอร์ ถ้าผู้นั้นไม่อยากกลายเป็นที่ถูกประณามและต้องอยู่อย่างเดียวดาย ในปี 1997 เขาพูดว่าพระราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งมีข้อบกพร่องเนื่องด้วยเป็นการด่วนตัดสิน ตัดสินใจโดยฝ่ายเดียว มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และเกิดขึ้นในที่ลับ" ในปี 2005 วิทแลมเรียกเคอร์ว่าเป็น "คนที่น่ารังเกียจ" ในอีกฝั่งหนึ่ง หัวหน้าพรรคชนบทและรองนายกรัฐมนตรี ดัก แอนโธนี พูดว่า "ผมให้อภัยกอฟไม่ได้ที่จับเขาตรึงกางเขน" เซอร์การ์ฟีลด์ บาร์วิค ก็ไม่เว้นที่จะถูกวิทแลมผรุสวาทใส่ โดยอดีตนายกรัฐมนตรีพรรณนาว่าเขา "ชั่วร้าย"
 
วิทแลมลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานหลังจากที่พรรคประสบกับความพ่ายแพ้ติดต่อกันเป็นครั้งที่สองในการเลือกตั้งปี 1977 เฟรเซอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 7 ปี และลาออกจากตำแหน่งผู้นำพรรคเสรีนิยมหลังจากที่ฝ่ายพันธมิตรพรรคพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1983 หลายปีต่อมา วิทแลมและเฟรเซอร์เลิกความบาดหมางต่อกัน วิทแลมเขียนในปี 1997 ว่าเฟรเซอร์ "ไม่ได้จงใจจะหลอกลวงผม" ทั้งสองออกมารณรงค์ร่วมกันเพื่อสนับสนุนการลงประชามติในปี 1999 เพื่อทำให้ออสเตรเลียกลายเป็นสาธารณรัฐ ตามที่ แกรห์ม ฟรอยเด็นเบิร์ก นักเขียนสุนทรพจน์ให้กับวิทแลม เล่าไว้ว่า "ความเคียดแค้นที่สะสมมาจากพฤติกรรมของตัวแทนพระราชินี มาเจอทางลงที่สร้างสรรค์ในแนวร่วมสนับสนุนสาธารณรัฐออสเตรเลีย"
 
ฟรอยเด็นเบิร์ก สรุปชะตากรรมกับเคอร์ หลังจากเหตุการณ์ปลดนายกรัฐมนตรีไว้ดังนี้
 
{{quote|
ผู้ได้รับผลประโยชน์จากการปลดนายกรัฐมนตรีแทบไม่สนใจที่จะปกป้องเคอร์และในท้ายที่สุดแล้วก็ทอดทิ้งเขาไป ในแง่ส่วนบุคคล เซอร์จอห์น เคอร์กลายเป็นเหยื่อที่แท้จริงของการปลดนายกรัฐมนตรี และประวัติศาสตร์เห็นตามความเป็นจริงที่โหดร้ายและอาจจะเจ็บแสบจากคำประกาศของวิทแลมที่ขั้นบันไดอาคารรัฐสภาในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 ว่า "พวกเราพูดได้ว่า "ขอให้พระเจ้าคุ้มครององค์พระราชินี" เพราะไม่มีสิ่งใดจะคุ้มครองผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้"{{sfn|Freudenberg|2009|p=416}}
}}
 
 
==อ้างอิง==