ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kelos omos1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kelos omos1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975''' หรือเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า "The Dismissal" (การปลดนายกรัฐมนตรี) ถือเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองและวิกฤตรัฐธรรมนูญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน[[ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย]] เหตุการณ์เริ่มขึ้นวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) เมื่อ[[นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย|นายกรัฐมนตรี]] [[กอฟ วิทแลม]] รวมทั้ง[[คณะรัฐมนตรีออสเตรเลีย|คณะรัฐมนตรี]]จาก[[พรรคแรงงาน (ประเทศออสเตรเลีย)|พรรคแรงงานออสเตรเลีย]] (Australian Labor Party ย่อว่าพรรค ALP) ถูกปลดออกจากตำแหน่งโดย[[ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลีย|ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] เซอร์ [[จอห์น เคอร์]] ก่อนที่จะแต่งตั้ง[[ผู้นำฝ่ายค้านออสเตรเลีย|ผู้นำฝ่ายค้าน]] [[มัลคอล์ม เฟรเซอร์]] จาก[[พรรคเสรีนิยมแห่งออสเตรเลีย|พรรคเสรีนิยม]] (Liberal Party) ขึ้นดำรงตำแหน่ง[[รักษาการณ์]]นายกรัฐมนตรี
 
รัฐบาลพรรคแรงงานของวิทแลมได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในปี 1972 โดยมีเสียงข้างมากใน[[สภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย|สภาผู้แทนราษฎร]]มากกว่าพรรคฝ่ายค้านเพียง ในขณะที่ใน[[วุฒิสภาออสเตรเลีย|วุฒิสภา]] พรรคแรงงานประชาธิปไตย (Democratic Labor Party) ที่มักจะสนับสนุนฝ่ายค้านของพรรคเสรีนิยมและพรรคชนบท (Country Party) เป็นผู้กุมสมดุลอำนาจ การเลือกตั้งครั้งต่อมาในปี 1974 ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่รัฐบาลของวิทแลมดำเนินนโยบายและโครงการใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ข่าวอื้อฉาวและความผิดพลาดทางการเมืองส่งผลให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1975 พรรคฝ่ายค้านใช้อำนาจที่ตนมีในวุฒิสภาเพื่อยับยั้ง[[ร่างกฎหมายจัดสรรงบประมาณ|ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรงบประมาณ]]ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ มาแล้ว พรรคฝ่ายค้านยืนยันที่จะยับยั้งการผ่านร่างกฎหมายต่อไปนอกเสียจากว่าวิทแลมจะประกาศให้มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนฯ และเรียกร้องให้เคอร์ปลดวิทแลมออกหากวิทแลมไม่ยินยอม วิทแลมเชื่อว่าเคอร์จะไม่สั่งปลดอย่างแน่นอน ในขณะที่เคอร์เองก็ไม่เคยแจ้งให้วิทแลมทราบถึงเจตนาที่จะปลดมาก่อนเช่นกัน
บรรทัด 12:
 
=== ภูมิหลังทางการเมือง ===
รัฐบาลพรรคแรงงานของ กอฟ วิทแลม ได้รับการเลือกตั้งในปี 1972 หลังจากที่มีรัฐบาลพันธมิตรพรรคผสม (Coalition) ประกอบด้วยพรรคเสรีนิยมและพรรคชนบท บริหารมา 23 ปี รัฐบาลพรรคแรงงานได้รับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรมา 9 ที่นั่ง แต่ไม่มีเสียงข้างมากในวุฒิสภา ตามที่ได้สัญญาไว้ก่อนได้รับเลือกตั้ง รัฐบาลวิทแลมได้ทำการเปลี่ยนแปลงนโยบายและออกกฎหมายใหม่เป็นจำนวนมาก พรรคฝ่ายค้านที่คุมวุฒิสภาอยู่ ยอมให้ร่างกฎหมายบางฉบับจากรัฐบาลผ่านความเห็นชอบในวุฒิสภา ในขณะเดียวกันก็ยับยั้งร่างกฎหมายฉบับอื่น
 
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1974 หลังจากที่ความพยายามที่จะผ่านร่างพระราชบัญญัติจัดสรรงบประมาณถูกยับยั้งในวุฒิสภาโดยฝ่ายค้านที่นำโดยบิลลี สเน็ดเด็นหลายต่อหลายครั้ง วิทแลมจึงขอและได้รับความเห็นชอบจากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น เซอร์ พอล แฮสลัค ในการยุบสองสภา ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พรรคแรงงานได้รับการเลือกตั้งกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งโดยที่นั่งลดลง 5 เสียง กลุ่มพรรคพันธมิตรพรรคและพรรคแรงงานต่างก็มี 29 เสียงในวุฒิสภา โดยมีวุฒิสมาชิกอิสระ 2 เสียงเป็นผู้กุมสมดุลอำนาจอยู่
 
=== เรื่องอื้อฉาวและตำแหน่งที่ว่างลง ===
บรรทัด 47:
ในวันที่ 15 ตุลาคม ผู้ว่าราชการรัฐควีนส์แลนด์ เซอร์คอลิน ฮันนาห์ กล่าวสุนทรพจน์โจมตีรัฐบาลวิทแลม ซึ่งขัดกับธรรมเนียมที่ผู้ว่าราชการรัฐจะต้องทำตัวเป็นกลาง ฮันนาห์ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารเครือรัฐ ซึ่งเป็นการแต่งตั้งที่ระงับไว้ โดยจะขึ้นมารักษาการณ์ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ต่อเมื่อเคอร์ถึงแก่อนิจกรรม ลาออก หรือไม่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย วิทแลมจึงติดต่อกับ[[พระราชวังบัคกิงแฮม]] เพื่อถอดถอนตำแหน่งที่ระงับไว้ของฮันนาห์ทันที โดยใช้เวลาสิบวันกว่าฮันนาห์จะพ้นจากตำแหน่ง แม้ว่าวิทแลมจะอ้างว่าตัวเขาเองไม่เคยคิดที่จะปลดเคอร์ในระหว่างวิกฤต แต่ในวันที่ 16 ตุลาคม ระหว่างที่เขาพูดคุยกับเคอร์ และพบกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย [[อับดุล ราซัก ฮุซเซน|ตุน อับดุล ราซัก]] เขากล่าวกับเคอร์ว่าถ้าวิกฤตนี้ยังคงดำเนินต่อไป "คงจะขึ้นอยู่กับว่าผมจะไปเข้าเฝ้าพระราชินีก่อนเพื่อเรียกตัวท่านกลับไป หรือท่านจะเข้าเฝ้าพระราชินีก่อนเพื่อปลดผม" เคอร์เห็นว่าคำพูดนี้คือคำขู่ แต่วิทแลมได้กล่าวในเวลาต่อมาว่าสิ่งที่พูดออกไปเป็นแค่การ "หยอกเล่น" และพูดเพียงเพื่อที่จะเปลี่ยนเรื่องเท่านั้น
 
ในวันที่ 16 และ 17 ตุลาคม วุฒิสภา ด้วยเสียงเป็นเอกฉันท์จากพันธมิตรพรรคผสมที่เป็นเสียงข้างมาก ลงคะแนนให้เลื่อนการอนุมัติร่างพระราชบัญญติจัดสรรงบประมาณออกไป ฝ่ายพันธมิตรพรรคผสมมีจุดยืนว่าเคอร์สามารถปลดวิทแลมออกจากตำแหน่งได้ถ้าฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถผ่านงบประมาณได้ นายบ็อบ เอลลิค็อทท์ อดีตรองอธิบดีอัยการในรัฐบาลของวิทแลม ซึ่งในขณะนั้นเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรของพรรคเสรีนิยม ลงความเห็นทางกฎหมายในวันที่ 16 ตุลาคมไว้ว่า ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มีอำนาจในการปลดวิทแลม และควรจะทำเช่นนั้นโดยทันทีหากวิทแลมไม่สามารถชี้แจงได้ว่าจะผ่านงบประมาณได้อย่างไร เอลลิค็อทท์ยังกล่าวในเชิงชี้นำว่า วิทแลมปฏิบัติต่อเคอร์ราวกับว่าเคอร์ไม่มีวิจารณญาณเป็นของตัวเอง แต่ต้องปฏิบัติตามคำเสนอแนะของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สามารถและควรที่จะปลดคณะรัฐมนตรีที่ไม่สามารถผ่านงบประมาณได้ เอลลิค็อทท์กล่าวว่าเคอร์
 
{{quote|
บรรทัด 54:
 
=== การปรึกษาหารือและการเจรจา ===
คนสำคัญที่เคอร์ไว้วางใจและเป็นที่ปรึกษาอย่างลับ ๆ ในเรื่องของการปลดนายกรัฐมนตรีคือ ผู้พิพากษาในศาลสูงและเพื่อนของเคอร์ เซอร์แอนโทนี เมสัน โดยที่บทบาทของเขาไม่ถูกเปิดเผยจนกระทั่งปี 2012 เมื่อนักเขียนชีวประวัติของวิทแลม เจนนี ฮ็อกคิง เปิดเผยรายละเอียดของบันทึกการปรึกษาหารือระหว่างเคอร์และเมสัน ที่เคอร์เป็นผู้เก็บไว้ เคอร์ระบุว่าเมสัน "มีบทบาทสำคัญที่สุดต่อความคิดของข้าพเจ้า" และเขียนถึงเมสันโดยเล่าความลับ "เพื่อเตรียมใจในสิ่งที่ข้าพเจ้ากำลังจะทำ" บทบาทของเมสันนั้นรวมไปถึงการร่างคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งให้เคอร์ และเขายังอ้าวว่าเคยให้คำปรึกษาเคอร์ว่า "เพื่อความยุติธรรม" เคอร์ควรที่จะเตือนวิทแลมก่อนถึงเจตนาที่จะให้เขาพ้นจากตำแหน่ง แต่เคอร์ไม่ได้ทำตาม เมสันเขียนว่าการสนทนากับเคอร์เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1975 และจบลงในบ่ายวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 เขาปฏิเสธคำขอร้องของเคอร์ที่จะอนุญาตให้เปิดเผยบทบาทของเขาสู่สาธารณะ เคอร์โทรศัพท์หาวิทแลมในวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม เพื่อขออนุญาตปรึกษากับหัวหน้าผู้พิพากษาศาลสูง เซอร์การ์ฟีลด์ บาร์วิค เกี่ยวกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในเวลานั้น วิทแลมแนะนำไม่ให้เคอร์ทำเช่นนั้น โดยตั้งข้อสังเกตว่าไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คนไหนที่ขอคำปรึกษาจากหัวหน้าผู้พิพากษาในสภาวะการณ์ที่คล้ายกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1914 สมัยที่ประเทศออสเตรเลียยังอยู่ในช่วงต้นของการสร้างรัฐธรรมนูญ วิทแลมยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า ในบรรดาคำร้องที่ผ่านมาทั้งหมดต่อศาลสูงที่ต้องการคัดค้านกฎหมายของฝ่ายรัฐบาลแต่ไม่สำเร็จ บาร์วิคนั้นอยู่ในเสียงข้างน้อยที่ตัดสินในทางตรงข้ามกับฝ่ายรัฐบาล ในวันที่ 21 ตุลาคม เคอร์โทรศัพท์หาวิทแลมเกี่ยวกับความคิดเห็นของเอลลิค็อทท์และถามว่า "ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องโกหกทั้งเพใช่ไหม" วิทแลมตอบในทางที่เห็นด้วยกับเคอร์ จากนั้นเคอร์จึงขอให้ฝ่ายรัฐบาลลงความเห็นทางกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อตอบโต้ความเห็นของเอลลิค็อทท์ แต่เคอร์ไม่ได้รับหนังสือข้อเสนอแนะดังกล่าวจากรัฐบาลจนกระทั่งวันที่ 6 พฤศจิกายน นักข่าวและนักเขียน พอล เคลลี ผู้เขียนหนังสือสองเล่มเกี่ยวกับวิกฤตนี้ ระบุว่าความล่าช้านี้เป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวงของวิทแลม เนื่องจากเคอร์มีภูมิหลังมาจากฝ่ายตุลาการ ในวันเดียวกัน เคอร์ยังขออนุญาตวิทแลมที่จะสัมภาษณ์เฟรเซอร์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้อนุญาตในทันที และเคอร์กับเฟรเซอร์ก็พบปะกันในคืนเดียวกัน เฟรเซอร์บอกเคอร์ว่าฝ่ายค้านตั้งใจที่จะยับยั้งการอนุมัติงบประมาณ เฟรเซอร์บอกเป็นนัยว่าการตัดสินใจของฝ่ายค้านที่จะเลื่อนการอนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ แทนที่จะตีตกไปเลย เป็นการตัดสินใจทางยุทธวิธี เนื่องจากเมื่อทำเช่นนั้น ร่างพระราชบัญญัติก็จะอยู่ในการควบคุมของวุฒิสภาและหลังจากนั้นจะอนุมัติเมื่อไรก็ได้ เขากล่าวว่ากลุ่มพันธมิตรพรรคผสมเห็นด้วยกับความคิดเห็นของเอลลิค็อทท์ และเสนอให้เลื่อนอนุมัติงบประมาณต่อไประหว่างรอให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น สื่อมวลชนไม่ทราบถึงเนื้อหาของการสนทนานี้ จึงรายงานไปเพียงว่าเคอร์พบกับเฟรเซอร์เพื่อตำหนิการยับยั้งการอนุมัติงบประมาณ ทำให้สำนักผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว
 
ตลอดวิกฤตที่เกิดขึ้น เคอร์ไม่ได้แจ้งวิทแลมให้ทราบถึงความกังวลที่ตนเองมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งยังไม่เคยเสนอแนะว่าเขาอาจปลดวิทแลม เคอร์เชื่อว่าไม่ว่าเขาจะพูดสิ่งใดก็คงไม่สามารถเปลี่ยนใจวิทแลมได้ และกลัวว่า หากวิทแลมเห็นว่าเขามีโอกาสที่จะเป็นศัตรู นายกรัฐมนตรีก็อาจจะขอพระบรมราชานุญาติให้พระราชินีทรงมีพระราชโองการให้เขาพ้นจากตำแหน่ง เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว แม้ว่าเคอร์จะเข้าหาวิทแลมอย่างเป็นมิตร แต่เขาไม่เคยบอกให้นายกรัฐมนตรีทราบถึงความคิดของเขาเลย วุฒิสมาชิกพรรคแรงงาน โทนี มัลวิฮิลล์ เล่าว่า "วิทแลมจะกลับมายังการประชุมผู้บริหารพรรคในแต่ละครั้ง และพูดว่า "ฉันไปพบท่านผู้สำเร็จราชการฯ มา ไม่ต้องห่วงหรอก ท่านก็เป็นของท่านอย่างนั้นแหละ" ไม่เคยเลยที่เขาจะบอกว่าท่านผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทำหน้าบึ้งตึงแม้แต่ครั้งเดียว
บรรทัด 63:
 
=== การตัดสินใจ ===
{{quote|text=เนื่องด้วยลักษณะทางสหพันธรัฐของรัฐธรรมนูญของเรา และเพราะเนื่องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น มอบอำนาจทางรัฐธรรมนูญให้กับวุฒิสภาในการไม่อนุมัติหรือเลื่อนการอนุมัติงบประมาณของรัฐบาล เนื่องด้วยหลักการรัฐบาลที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา นายกรัฐมนตรีที่ไม่สามารถผ่านงบประมาณ ซึ่งรวมถึงเงินที่ใช้ในการดำเนินบริการทั่วไปของรัฐบาล จักต้องถวายคำแนะนำให้มีการเลือกตั้งทั่วไปหรือลาออก หากนายกรัฐมนตรีเขาปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น ข้าพเจ้ามีอำนาจและเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของข้าพเจ้าในการถอนแต่งตั้งให้เขาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สภาพในประเทศออสเตรเลียนั้นค่อนข้างแตกต่างจากสภาพในสหราชอาณาจักร ณ ที่นี้ รัฐบาลจักต้องได้รับความไว้วางใจจากทั้งสองสภาเพื่อคงไว้ซึ่งบทบัญญัติ ในสหราชอาณาจักรต้องการเพียงแค่ความไว้วางใจจากสภาสามัญชนก็เพียงพอ แต่ทั้งที่นี้และในสหราชอาณาจักร หน้าที่ของนายกรัฐมนตรีล้วนเหมือนกันในเกณฑ์ที่สำคัญที่สุด หากนายกรัฐมนตรีเขาไม่สามารถผ่านงบประมาณได้ก็ต้องลาออกหรือถวายคำแนะนำให้มีการเลือกตั้ง|author=ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จอห์น เคอร์|source= แถลงการณ์ (ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975)<ref name=kerr>{{cite web|last1=Kerr|first1=John|title=Statement from John Kerr (dated 11 November 1975) explaining his decisions.|url=http://whitlamdismissal.com/documents/kerr-statement.shtml|website=WhitlamDismissal.com|accessdate=11 January 2017|archive-url=https://web.archive.org/web/20120223060041/http://whitlamdismissal.com/documents/kerr-statement.shtml|archive-date=23 February 2012|url-status=dead}}</ref>}}
 
เฟรเซอร์เป็นประธานในการประชุมผู้นำพันธมิตรพรรคในวันที่ 2 พฤศจิกายน แถลงการณ์ร่วมจากการประชุมสนับสนุนให้วุฒิสมาชิกจากพันธมิตรพรรคยับยั้งการอนุมัติงบประมาณต่อไป และยังขู่ว่า หากเคอร์ยินยอมให้วิทแลมจัดการเลือกตั้งครึ่งวุฒิสภา มุขมนตรีของรัฐที่มาจากพันธมิตรพรรคจะถวายคำแนะนำให้ผู้ว่าราชการรัฐระงับการออกหมาย ไม่ให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในรัฐสี่รัฐที่ไม่ได้มีมุขมนตรีจากพรรคแรงงาน หลังจากการประชุม เฟรเซอร์ยื่นข้อเสนอประนีประนอม โดยฝ่ายค้านจะยอมอนุมัติงบประมาณหากวิทแลมตกลงที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรพร้อมกับการเลือกตั้งครึ่งวุฒิสภา วิทแลมปฏิเสธข้อเสนอนั้น
 
ในวันที่ 22 ตุลาคม วิทแลมสั่งการให้อธิบดีอัยการ เค็ป เอ็นเดอร์บี ร่างเอกสารตอบโต้ความเห็นของเอลลิค็อทท์เพื่อเสนอให้กับเคอร์ เอ็นเดอร์บีมอบหมายงานนี้ให้กับรองอธิบดีอัยการ มัวริซ ไบเออร์สและเจ้าหน้าที่คนอื่น ในวันที่ 6 พฤศจิกายน เอ็นเดอร์บีมีกำหนดเข้าพบเคอร์เพื่อเสนอความเห็นทางกฎหมาย ว่าด้วยแผนทางเลือกของรัฐบาลในกรณีงบประมาณหมดลง จะมีการออกใบรับรองให้กับพนักงานเครือรัฐและผู้รับจ้างแทนเช็ค เพื่อนำไปขึ้นเงินกับธนาคารหลังจากที่วิกฤตสิ้นสุดลง เป็นการทำธุรกรรมที่ธนาคารชั้นนำจะไม่ยอมรับและพิจารณาว่าเป็นธุรกรรมที่ "มีมลทินจากสถานะผิดกฎหมาย" เอ็นเดอร์บีตัดสินใจที่จะเสนอข้อโต้แย้งเอลลิค็อทท์ต่อเคอร์ เมื่อเอ็นเดอร์บีอ่านทวนเอกสาร เขาพบว่า ในขณะที่เอกสารดังกล่าวโต้แย้งให้ฝ่ายรัฐบาล แต่ในเนื้อความทั้งยอมรับว่าวุฒิสภามีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญในการยับยั้งงบประมาณ และยอมรับว่าอำนาจสำรองนั้นยังคงมีอยู่ ทั้งสองประเด็นนี้เอ็นเดอร์บีไม่เห็นด้วย เขาจึงเสนอข้อโต้แย้งต่อเคอร์ แต่ขีดฆ่าลายเซ็นของไบเออร์สและแจ้งเคอร์ให้ทราบถึงความเห็นต่าง เอนเดอร์บีบอกเคอร์ว่าข้อโต้แย้งของไบเออร์สเป็นเพียงปูมหลังของหนังสือคำเสนอแนะอย่างเป็นทางการ ซึ่งวิทแลมจะเป็นผู้เสนอ ในเวลาต่อมาในวันเดียว เคอร์พบกับเฟรเซอร์อีกครั้ง หัวหน้าฝ่ายค้านบอกเขาว่าหากเคอร์ยังไม่ปลดวิทแลม ฝ่ายค้านจะวิจารณ์เขาในรัฐสภา ฐานที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่
 
เคอร์สรุปในวันที่ 6 พฤศจิกายนว่า ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ต่างไม่มีใครยอมใคร และได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง บิล เฮย์เด็น ว่างบประมาณจะหมดลงในวันที่ 27 พฤศจิกายน ผู้สำเร็จราชการฯ ตัดสินใจว่า ในเมื่อวิทแลมไม่สามารถผ่านงบประมาณ และตั้งใจที่จะไม่ลาออกหรือถวายคำแนะนำให้จัดการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร เขาจึงจำเป็นต้องปลดนายกฯ ออก และเมื่อเคอร์กลัวว่าวิทแลมจะถวายคำแนะนำพระราชินีให้มีพระบรมราชโองการให้เขาพ้นจากตำแหน่ง เขาจึงคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะไม่เตือนวิทแลมถึงสิ่งที่เขาจะกระทำล่วงหน้า เคอร์กล่าวในเวลาต่อมาว่า หากวิทแลมต้องการที่จะปลดเขา สมเด็จพระราชินีฯ ก็จะต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ด้วยความต้องการที่จะยืนยันในการตัดสินใจของตัวเอง เขาจึงติดต่อหัวหน้าผู้พิพากษาบาร์วิคเพื่อเข้าพบแล้วถามความคิดเห็นเรื่องการปลดวิทแลม บาร์วิคให้คำแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยให้ความเห็นว่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สามารถและควรปลดนายกรัฐมนตรีที่ไม่สามารถผ่านงบประมาณ บาร์วิคลงรายละเอียดว่านายกรัฐมนตรีไม่ควรที่จะปฏิเสธที่จะลาออก หรือปฏิเสธที่จะถวายคำแนะนำให้จัดการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งทั้งหมดนี้เคอร์เห็นด้วย
 
ในวันที่ 9 พฤศจิกายน เฟรเซอร์ติดต่อวิทแลมและเชิญให้มาเข้าร่วมการเจรจากับพันธมิตรพรรค เพื่อสะสางข้อพิพาท วิทแลมตกลงและมีการนัดหมายการนัดพบเป็นวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน เวลา 9 นาฬิกา ที่อาคารรัฐสภา วันอังคารนั้นยังเป็นเส้นตายที่สามารถประกาศให้มีการเลือกตั้งได้ ถ้าต้องการที่จะจัดการเลือกตั้งก่อนเทศกาลคริสต์มาส ทั้งผู้นำของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างก็อยู่ในเมืองเมลเบิร์นในคืนวันที่ 10 พฤศจิกายนที่งานเลี้ยงของสมุหพระนครบาล เพื่อให้มั่นใจว่าผู้นำฝ่ายค้านจะมาถึงแคนเบอร์ราได้ทันเวลานัดพบ วิทแลมจึงพาพวกเขากลับมาด้วยในเครื่องบินประจำตำแหน่งของตัวเอง ซึ่งมาถึงกรุงแคนเบอร์ราในเวลาเที่ยงคืน
 
== การปลดนายกรัฐมนตรี ==
=== การนัดพบที่ทำเนียบยาร์ราลัมลา ===
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน เวลา 9 นาฬิกา วิทแลม พร้อมกับรองนายกรัฐมนตรี แฟรงค์ เครียน และผู้นำสภาผู้แทนราษฎร เฟรด ดาลี พบกับเฟรเซอร์ และหัวหน้าพรรคชนบท ดัก แอนโธนี แต่ไม่สามารถตกลงประนีประนอมได้ วิทแลมแจ้งให้ผู้นำฝ่ายพันธมิตรพรรคทราบว่าเขาจะถวายคำแนะนำให้เคอร์จัดให้มีการเลือกตั้งครึ่งวุฒิสภาในวันที่ 13 ธันวาคม และจะไม่ขออนุมัติงบประมาณชั่วคราวก่อนการเลือกตั้ง เฟรเซอร์ผู้คิดว่าเคอร์ไม่น่าจะยอมให้มีการเลือกตั้งโดยที่งบประมาณยังไม่ผ่าน จึงเตือนวิทแลมว่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อาจจะตัดสินใจในเรื่องนี้ด้วยตนเอง แต่วิทแลมมีท่าทีไม่ใส่ใจ และหลังจากสิ้นสุดการนัดพบ เขาก็โทรศัพท์หาเคอร์เพื่อขอเข้าพบ เพื่อที่จะได้ถวายคำแนะนำให้จัดการเลือกตั้งครึ่งวุฒิสภา ทั้งสองคนต่างติดภารกิจในช่วงเช้า โดยเคอร์ต้องเข้าร่วมพิธีรำลึกใน[[วันสงบศึก|วันที่ระลึก]] ในขณะที่วิทแลมต้องเข้าประชุมผู้บริหารพรรคและเข้าประชุมญัตติอภิปรายตำหนิโทษที่ฝ่ายค้านเป็นผู้เสนอ ทั้งสองคนจึงนัดแนะเวลาประชุมเป็นเวลา 13 นาฬิกา แม้ว่าสำนักงานของเคอร์จะโทรหาสำนักงานของวิทแลมและยืนยันเวลาใหม่เป็น 12.45 นาฬิกา แต่สิ่งนี้ไม่ถึงหูของนายกรัฐมนตรี วิทแลมประกาศว่าจะขอให้มีการเลือกตั้งครึ่งวุฒิสภาให้ผู้บริหารพรรคทราบและได้รับการอนุมัติจากคณะผู้บริหารพรรคแล้ว
 
หลังจากที่คุยกับวิทแลมเสร็จ เคอร์ก็โทรหาเฟรเซอร์ เฟรเซอร์เล่าว่า เคอร์ถามเขาว่า หากได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เขาจะสามารถผ่านงบประมาณ และถวายคำแนะนำให้มีการยุบสองสภาและจัดการเลือกตั้งในทันที รวมถึงจะหลีกเลี่ยงการประกาศนโยบายใหม่ หรือตรวจสอบผลงานของรัฐบาลวิทแลมจนกว่าการเลือกตั้งจะเสร็จสิ้นหรือไม่ ซึ่งเฟรเซอร์ตอบตกลง ตัวเคอร์เองปฏิเสธว่ามีการพูดคุยกันทางโทรศัพท์ แต่ทั้งสองคนเห็นตรงกันว่าเคอร์ถามคำถามชุดเดียวกันกับเฟรเซอร์ในวันเดียวกัน ก่อนที่จะแต่งตั้งให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรี เคอร์เล่าว่า เฟรเซอร์ควรที่จะมาพบเขาที่ทำเนียบยาร์ราลัมลา เวลา 13 นาฬิกา
 
วิทแลมออกมาจากอาคารรัฐสภาช้า ในขณะที่เฟรเซอร์ออกมาก่อนหน้าเล็กน้อย เป็นผลให้เฟรเซอร์มาถึงยาร์ราลัมลาก่อน เขาถูกพาไปที่ห้องพักข้างห้องรับแขก และรถของเขาถูกเคลื่อนย้ายออกไป วิทแลมมั่นใจว่าสาเหตุที่รถของเฟรเซอร์ถูกย้ายออกไปก็เพื่อไม่ให้นายกรัฐมนตรีไหวตัวทันเมื่อเห็นรถของผู้นำฝ่ายค้านจอดอยู่ โดยกล่าวว่า "หากผมรู้ว่าคุณเฟรเซอร์อยู่ที่นั่นแล้ว ผมก็คงไม่เหยียบเท้าเข้าไปในทำเนียบยาร์ราลัมลา แต่เคลลีกลับไม่คิดว่าวิทแลมจะจำรถฟอร์ด แอลทีดีของเฟรเซอร์ได้ ตามคำพูดของผู้เขียนชีวประวัติให้กับเฟรเซอร์ ฟิลิป อายเรส กล่าวว่า "รถคันสีขาวถึงจะจอดอยู่ตรงนั้นก็คงไม่มีใครเห็นความสำคัญ มันก็คงเป็นเพียงรถที่ขวางทางอยู่เท่านั้น"
 
วิทแลมมาถึงก่อน 13 นาฬิกา และถูกพาไปที่ห้องทำงานของเคอร์โดยผู้ช่วย เขานำหนังสือถวายคำแนะนำให้มีการเลือกตั้งครึ่งวุฒิสภามาด้วย และหลังจากที่ทั้งสองคนนั่งลง พยายามที่จะยื่นหนังสือนี้ให้กับเคอร์ ในคำบอกเล่าของทั้งสองคนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการนับพบครั้งนั้น ทั้งสองเห็นตรงกันว่าเคอร์เป็นคนบอกวิทแลมว่าเขาถูกถอนการแต่งตั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตราที่ 64 ในรัฐธรรมนูญ และมอบหนังสือและแถลงการณ์ชี้แจงเหตุผลให้กับวิทแลม เคอร์เขียนในเวลาต่อมาว่า เมื่อถึงตอนนั้น วิทแลมยืนขึ้น มองไปที่โทรศัพท์ในห้องทำงาน และกล่าวว่า "ผมต้องติดต่อกับวังเดี๋ยวนี้" แต่วิทแลมแย้งว่าเขาไม่ได้ทำเช่นนั้น แต่ถามเคอร์ว่าท่านได้ปรึกษาทางวังหรือยัง ซึ่งเคอร์ตอบว่าเขาไม่จำเป็นต้องปรึกษา และบาร์วิคเป็นผู้แนะนำให้เขาทำเช่นนี้ ทั้งสองคำบอกเล่าเห็นตรงกันว่า หลังจากนั้นเคอร์กล่าวว่า พวกเขาทั้งสองคนจะต้องอยู่กับสิ่งนี้ไปตลอดชีวิต วิทแลมตอบว่า "ท่านสิต้องอยู่กับมันไปตลอดชีวิตอย่างแน่นอน" เหตุการณ์ปลดนายกรัฐมนตรีจบลง โดยเคอร์อวยพรให้วิทแลมโชคดีในการเลือกตั้ง และยื่นมาให้จับ ซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรีก็จับ
 
หลังจากที่วิทแลมออกไปจากห้อง เคอร์ก็เรียกให้เฟรเซอร์เข้ามา แจ้งให้เขาทราบถึงการปลด และถามว่าเขาจะตั้งรัฐบาลรักษาการณ์หรือไม่ ซึ่งเฟรเซอร์ตกลง ต่อมาเฟรเซอร์กล่าวว่าความรู้สึกที่ท่วมท้นเมื่อได้ยินข่าวนั้นคือความโล่งใจ เฟรเซอร์กลับไปยังอาคารรัฐสภาเพื่อปรึกษากับผู้นำพันธมิตรพรรค ในขณะที่เคอร์เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันที่รอเขาอยู่ เคอร์ขอโทษแขกในงานและอ้างว่าเขายุ่งอยู่กับการปลดคณะรัฐมนตรี
 
==อ้างอิง==