ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดมหาบุศย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ฉบับร่างบทความ}}
{{กล่องข้อมูล พุทธศาสนสถาน
| full_name = วัดมหาบุศย์
เส้น 12 ⟶ 11:
| abbot =
| venerate =
| pre_road = เลขที่ 749 ซอยอ่อนนุช 7
| road_name = [[ถนนอ่อนนุช]]
| sub_district = [[แขวงอ่อนนุช]]
| district = [[เขตสวนหลวง]]
| province = [[กรุงเทพมหานคร]]
| zip_code = 10250
| tel_no =
| pass_buses =
เส้น 40 ⟶ 39:
 
==ประวัติ==
วัดมหาบุศย์สร้างประมาณ พ.ศ. 2305 ก่อน[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|เสียกรุงเก่าพม่า]] 5 ปี เดิมชื่อว่า '''วัดสามบุตร''' กล่าวคือ บุตรชายสามคนพี่น้องได้ร่วมกันสร้างวัดนี้ สันนิษฐานว่าเสนาสนะในยุคนั้นคงเป็นไม้เสียส่วนใหญ่ ทำให้วัสดุไม่คงทนจนกลายเป็นวัดร้างในที่สุด ต่อมาพระมหาบุตร เปรียญ 5 ประโยค สำนัก[[วัดราชบุรณราชวรวิหาร|วัดเลียบ]]ได้มาเยี่ยมญาติโยมละแวกคลองพระโขนง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนิมนต์ให้ท่านอยู่วัดสามบุตรเพื่อช่วยเป็นผู้นำในการบูรณะวัด เมื่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์จึงได้ขนานนามวัดใหม่ว่า '''วัดมหาบุตร''' ตามนามท่าน ภายหลังชื่อได้เปลี่ยนมาเป็น "วัดมหาบุศย์" ประชาชนทั่วไปยังขนานนามวัดนี้ว่า '''วัดแม่นาคพระโขนง''' ตามอิทธิพลของวรรณกรรมเรื่อง ''[[แม่นากพระโขนง]]''
 
วัดมหาบุศย์ได้รับการบูรณะสังฆเสนาสนะประมาณปี พ.ศ. 2455 ได้รับพระราชทาน[[วิสุงคามสีมา]] เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2459 มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 2 เส้น ยาว 2 เส้น 7 วา จนปี พ.ศ. 2470 ได้มีการรื้อถอนอุโบสถเก่าออกแล้วสร้างใหม่ เป็นอุโบสถกว้าง 20 เมตร ยาว 23 เมตร [[หน้าบัน]]สลักเป็น[[ลายกนกกระหนก]]ไทยรูป[[พระอินทร์]]ทรง[[ช้างเอราวัณ]] หลังคาสองชั้นลด ถึงปี พ.ศ. 2500 ได้ทำการบูรณะอุโบสถนี้ใหม่โดยเปลี่ยนกระเบื้องเป็นกระเบื้องเคลือบสี เปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาหงส์และหน้าบันใหม่ทั้งหมด [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมาเป็นประธานพิธียกช่อฟ้า<ref>{{cite web|url=https://sites.google.com/site/allthaitemple/wad-mhabusy|title=วัดมหาบุศย์}}</ref>
 
==สิ่งศักดิ์สิทธิ์==
วัดมหาบุศย์มีชื่อเสียงจากการมีศาลย่านาค คู่รักมักนิยมมากราบไหว้ย่านาค ยังมีศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง คนที่มาจะนิยมมาขอพรในเรื่อเรื่องการงาน การเรียน โชคลาภ และความรัก นอกจากนั้นยังมีวิหารหลวงพ่อยิ้ม ภายในประดิษฐานหลวงพ่อยิ้ม ลักษณะเป็นพระพุทธรูป[[ปางมารวิชัย]] และพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ถัดจากวิหารหลวงพ่อยิ้มไปเป็น อุทยานพระโพธิสัตว์กวนอิม ภายในประดิษฐานรูปปั้น[[เจ้าแม่กวนอิม]]<ref>{{cite web|url=https://travel.mthai.com/blog/52646.html|title=วัดมหาบุศย์, พระโขนง กรุงเทพฯ|work=เอ็มไทย}}</ref>
 
==อ้างอิง==
เส้น 52 ⟶ 51:
 
[[หมวดหมู่:วัดในเขตสวนหลวง|มหาบุศย์]]
[[หมวดหมู่:โบราณสถานในกรุงเทพมหานคร]]