ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดเจ็ดริ้ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{ฉบับร่างบทความ}} {{กล่องข้อมูล พุทธศาสนสถาน | full_name = วัดเจ็ดริ้ว |...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:13, 28 กันยายน 2563

วัดเจ็ดริ้ว เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 37 ไร่ 14 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 14 ตารางวา

วัดเจ็ดริ้ว
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 1/1 หมู่ที่ 3 ถนนบ้านแพ้ว-คลองตัน ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ

วัดเจ็ดริ้วตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 โดยชาวตำบลเจ็ดริ้วเชื้อสายรามัญ ช่วงแรกใช้วัสดุพื้นบ้าน หลังคามุงจาก โครงสร้างทำด้วยไม้รวก ไม้ไผ่ ตั้งชื่อวัดว่า วัดรามัญวงศ์วราราม ต่อมาเปลี่ยนมาเป็น วัดเจ็ดริ้วรามัญวงศ์ และเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันว่า "วัดเจ็ดริ้ว" วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2456 ด้านการศึกษา วัดมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2479

แต่เดิมตั้งอยู่บนที่ดอน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2480 ชาวเจ็ดริ้วได้ร่วมมือกับทางราชการขุดคลองยาว 8 กิโลเมตรเศษ ขึ้นตามแนวร่องน้ำซึ่งมีอยู่เดิมเพื่อสะดวกในการสัญจรไปมาและขุดผ่านหน้าวัดพอดี โดยขุดตัดกับคลองดำเนินสะดวกไปทะลุคลองจินดา จึงทำให้วัดตั้งอยู่ริมคลองทางฝั่งตะวันตก[1]

อาคารเสนาสนะ

อาคารเสนาสนะในวัดได้แก่ อุโบสถ กว้าง 9.20 เมตร ยาว 21 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2475 เจดีย์ 2 องค์ กว้าง 15 เมตร ยาว 5 เมตร ศาลาการเปรียญ กว้าง 22 เมตร ยาว 42.40 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2531 หอสวดมนต์ กว้าง 10 เมตร ยาว 13 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2551 เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น กุฏิสงฆ์ จำนวน 9 หลัง เป็นอาคารไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 18 เมตร ยาว 45 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นอาคารไม้ ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง หอฉันทรงไทย กว้าง 10 เมตร ยาว 28 เมตร[2] สำหรับอุโบสถเก่ามีสภาพร้าง ทรุดโทรมมาก

งานประเพณี

ด้านงานประเพณี มีงานประเพณีล้างเท้าพระและตักบาตรดอกไม้ในช่วงวันออกพรรษา[3]

เทศกาลงานสงกรานต์มอญที่วัดเจ็ดริ้ว จัดงานระหว่างวันที่ 13–16 เมษายน มีการแห่หลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระประธานของวัดเจ็ดริ้ว พร้อมทั้งอัญเชิญรูปเหมือนหลวงปู่จ้อน อดีตเจ้าอาวาสร่วมขบวนแห่เพื่อให้ชาวเจ็ดริ้วได้สรงน้ำและทำบุญ[4] และในวันที่ 14 เมษายน มีประเพณีแห่ธงตะขาบ[5]

รายนามเจ้าอาวาส

  • พระอธิการเกศ สุเมโธ พ.ศ. 2436–2453
  • พระอธิการหงส์ จิตธัมโม พ.ศ. 2456–2486
  • พระครูสาครกิจโกศล พ.ศ. 2488– 2528
  • พระครูโกศลสาครกิจ พ.ศ. 2529–2539
  • พระมหาสมยา ฐานฑตโต พ.ศ. 2540–ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. "วัดเจ็ดริ้ว". องค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดริ้ว.
  2. "วัดเจ็ดริ้ว". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  3. "งานประเพณีล้างเท้าพระและตักบาตรดอกไม้". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  4. สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ และจักรี โพธิมณี. "สงกรานต์มอญ วัดเจ็ดริ้ว". ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย.
  5. "ประเพณีแห่หางหงส์". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.