ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เคน ดาเหลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 55:
พ.ศ. 2500 เคน ดาเหลา ได้เริ่มหัดแต่งกลอนลำได้เอง โดยอาศัยวิธีการแต่งตามประสบการณ์ในการลำ และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมตามแหล่งความรู้ต่างๆ ที่พอจะหาได้ จนสามารถแต่งกลอนเพื่อใช้ลำเอง และลูกศิษย์ได้ใช้ลำมากมาย กลอนลำที่ท่านแต่งจะมีลีลาและจังหวะที่แปลกไปจากกลอนลำของหมอลำอื่นๆ ในด้านเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น ในด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีอีสาน ประวัติศาสตร์ นิทาน กลอนลำ แบบตลก กลอนลำเบ็ดเตล็ด เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้นำเอาสำนวนภาษาอีสาน หรือสำนวนผญาอีสานมาแทรกไว้ในกลอนได้อย่างดียิ่ง จึงทำให้กลอนลำมีเนื้อหาสาระ สัมผัสคล้องจองที่ดี และมีภาษาที่ลึกซึ้งกินใจแก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง กลอนลำได้สอดแทรกด้านเนื้อหาสาระ และสัมผัสตามรูปแบบการประพันธ์ โดยอาศัยประสบการณ์ในการลำและกลอนลำของครูที่ใช้ลำมาเป็นแบบอย่าง นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารเหตุการณ์บ้านเมืองอยู่มิได้ขาด จึงทำให้ผลงานการแต่งกลอนลำของท่าน มีความสัมพันธ์กับสภาพทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างดี
 
พ.ศ. 2509 เคน ดาเหลา ได้ตั้งก่อตั้งโรงเรียนหมอลำที่บ้านหนองเต่า ตำบลเป้า อำเภอตระการพืชผล และสำนักงานหมอลำ (ข้างวัดแจ้ง) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และมีลูกศิษย์เดินทางเข้ามาเล่าเรียนเป็นจำนวนมากจนมีชื่อเสียงโด่งดัง อาทิ [[ทองเจริญ ดาเหลา]] (บุตรชายของหมอลำคง ดาเหลา) [[ฉวีวรรณ ดำเนิน]] และ[[บุญช่วง เด่นดวง]] เป็นต้น
 
ต่อมาเคน ดาเหลา ได้เปิดสำนักงานหมอลำร่วมกับหมอลำคำภา ฤทธิทิศ ที่ตำบลหนองบัว [[อำเภอเมืองอุดรธานี]] [[จังหวัดอุดรธานี]] ทำให้มีลูกศิษย์ที่เดินทางเข้ามาเล่าเรียนเป็นจำนวนมากจนในยุคนี้มีชื่อเสียงโด่งดัง อาทิ [[ทองเจริญ ดาเหลา]] (บุตรชายของหมอลำคง ดาเหลา) , [[ฉวีวรรณ ดำเนิน]] , [[บุญช่วง เด่นดวง]] , บุญเสริม เพ็ญศรี , อำพัน สร้อยสังวาลย์ , และทองศรี ศรีรักษ์ เป็นต้น
 
พ.ศ. 2527 มูลนิธิญี่ปุ่น (The Japan Foundation) และบริษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งญี่ปุ่น (Japan Broadcasting Corporation) ร่วมกับ[[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม]] ได้เชิญเคน ดาเหลา , บุญเพ็ง ไฝผิวชัย และฉวีวรรณ ดำเนิน ร่วมเดินทางไปทำการเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมอีสานที่[[ประเทศญี่ปุ่น]]