ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
== ประวัติ ==
=== ก่อนกำเนิด (2474-2475 , 2492-2498) ===
[[ประเทศไทย]]ต้นรู้จัก "Television" หรือ[[โทรทัศน์]]เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2474 โดย[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน]] ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้น ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะต้องการจัดตั้งกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทยขึ้น โดยได้มีการติดต่อกับบริษัทเอกชนรายหนึ่งของ[[สหรัฐ]] เพื่อจัดหาและติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการทดลองการออกอากาศ และถ้าหากโครงการนี้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระองค์แล้วก็จะให้สั่งซื้อเพื่อเก็บเอาไว้ใช้ในงานราชการ แต่เนื่องจาก[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] จึงทำให้โครงการดังกล่าวถูกยกเลิกลง (ซึ่งถ้าหากประสบความสำเร็จ ประเทศไทยอาจเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีโทรทัศน์)<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=246355 เมื่อเริ่มกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทย] จากบล็อก โอเคเนชั่น</ref><ref>หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย หน้า 34</ref> ในเวลาหลายปีต่อมา คือเมื่อปี พ.ศ. 2492 [[สรรพสิริ วิรยศิริ]] ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของ[[กรมประชาสัมพันธ์]] เขียนบทความขึ้นบทหนึ่ง เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับ "[[วิทยุภาพ]]" อันเป็นเทคโนโลยีสื่อสารชนิดใหม่ของโลก ต่อมา[[กรมประชาสัมพันธ์]]ส่งข้าราชการของกรมฯ กลุ่มหนึ่งไปศึกษางานวิทยุโทรภาพที่[[สหราชอาณาจักร]] ในราวปี พ.ศ. 2493 เมื่อเล็งเห็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติ กรมประชาสัมพันธ์จึงนำเสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อ[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล แปลก พิบูลสงคราม]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลเมื่อปี พ.ศ. 2494 แต่เนื่องจากสมาชิก[[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 5|สภาผู้แทนราษฎร]]ส่วนมาก แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยเปล่าประโยชน์ จึงจำเป็นต้องยุติโครงการดังกล่าวลง {{อ้างอิง}}
 
หลังจากนั้น [[ประสิทธิ์ ทวีสิน]] ประธานกรรมการบริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ จำกัด นำเครื่องส่งวิทยุโทรภาพ 1 เครื่อง เข้าทำการทดลองส่ง แพร่ภาพการแสดงดนตรี ของ[[วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์]] จากห้องส่งวิทยุกระจายเสียงของ[[สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย]] ภายในกรมประชาสัมพันธ์ โดยถ่ายทอดสดไปยังเครื่องรับจำนวน 4 เครื่อง ซึ่งตั้งไว้ภายในทำเนียบรัฐบาล, บริเวณใกล้เคียงกรมประชาสัมพันธ์ และบริเวณโถงชั้นล่างของ[[ศาลาเฉลิมกรุง]] เพื่อให้คณะรัฐมนตรีและประชาชนรับชมเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2495]] ซึ่งเครื่องส่งและเครื่องรับดังกล่าว มีน้ำหนักรวมกว่า 2,000 กิโลกรัม ซึ่งในระยะนี้เอง [[สื่อมวลชน]]ซึ่งต้องการนำเสนอถึง "Television" ดังกล่าวนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าควรเรียกเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร จึงกราบทูลถามไปยัง [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]] อดีตนายก[[ราชบัณฑิตยสถาน]] และ[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ]]ในขณะนั้น ด้วยทรงเป็น[[ศาสตราจารย์]]ทางอักษรศาสตร์ จึงทรงวิเคราะห์ศัพท์ดังกล่าว ก่อนจะทรงบัญญัติขึ้นเป็นคำว่า "[[วิทยุโทรทัศน์]]" ซึ่งต่อมาประชาชนทั่วไป นิยมเรียกอย่างสังเขปว่า "[[โทรทัศน์]]" {{อ้างอิง}}
 
โดยระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ปีเดียวกัน มีรัฐมนตรีและข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์กลุ่มหนึ่งรวม 7 คนซึ่ง ประกอบด้วย [[หลวงสารานุประพันธ์]], [[หม่อมหลวงขาบ กุญชร]], [[ประสงค์ หงสนันทน์]], [[เผ่า ศรียานนท์|พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์]], เล็ก สงวนชาติสรไกร, มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และ[[เลื่อน พงษ์โสภณ]] ดำเนินการระดมทุนด้วยการเสนอขายหุ้นต่อกรมประชาสัมพันธ์เป็นเงินจำนวน 11 ล้านบาท จึงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอีก 8 แห่ง เป็นเงิน 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท เพื่อและใช้เป็นทุนจดทะเบียนจัดตั้ง ''[[บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด]]'' ({{lang-en|Thai Television Co.,Ltd.}} ชื่อย่อ: ท.ท.ท.) ขึ้นเมื่อวันที่ [[10 พฤศจิกายน]] ของปีดังกล่าว เพื่อรองรับการดำเนินกิจการ ส่งโทรทัศน์ในประเทศไทย อนึ่ง ในปีเดียวกันนั้น [[กระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)|กระทรวงกลาโหม]]ออกข้อบังคับว่าด้วยการมอบหมายงานแก่เจ้าหน้าที่กองทัพบก โดยกำหนดให้[[กรมการทหารสื่อสาร]] (สส.) เพิ่มชื่อกองการกระจายเสียง เป็นกองการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อรองรับการจัดตั้ง แผนกกิจการวิทยุโทรทัศน์ เป็นหน่วยขึ้นตรงประจำกองดังกล่าว {{อ้างอิง}}
 
ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2496 กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการจัดซื้อเครื่องส่งโทรทัศน์ เข้ามาสาธิตการแพร่ภาพ เพื่อให้ประชาชนทดลองรับชม ในโอกาสที่สำคัญต่าง ๆ อาทิเช่น ถ่ายทอดการแข่งขันชกมวยสากล ระหว่าง[[จำเริญ ทรงกิตรัตน์]] พบกับจิมมี เปียต รองชนะเลิศระดับโลก ในรุ่นแบนตัมเวต, ถ่ายทอดบรรยากาศ[[งานวชิราวุธานุสรณ์]] [[งานฉลองรัฐธรรมนูญ]] [[ไก่ฟ้าพญาลอ|งานฉลองเทศกาลขึ้นปีใหม่]] เป็นต้น และยังนำไปทดลองถ่ายทอดที่[[จังหวัดพิษณุโลก]] ภายในงานประจำปีของ[[โรงพยาบาลพิษณุโลก]] และในปี [[พ.ศ. 2497]] ทาง[[กองทัพบกไทย|กองทัพบก]] ก็มีการกำหนดอัตรากำลังพลเฉพาะกิจ ประจำแผนกโทรทัศน์ สังกัดกรมการทหารสื่อสาร จำนวน 52 นาย เพื่อปฏิบัติงานออกอากาศ[[โทรทัศน์]]ภาคพื้นดิน ผลิตและถ่ายทอด[[รายการโทรทัศน์]] ขึ้นในปีเดียวกัน และเมื่อวันที่ [[6 กันยายน]] [[เผ่า ศรียานนท์|พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์]] อธิบดี[[กรมตำรวจ]]ในขณะนั้น ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บจก.ไทยโทรทัศน์คนแรก เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีโทรทัศน์ของ บจก.ไทยโทรทัศน์ ภายในบริเวณ[[วังบางขุนพรหม]] ที่ทำการของ[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]]ในปัจจุบัน {{อ้างอิง}}
 
=== โทรทัศน์ขาวดำ ระบบ[[สหรัฐ]] (2498-2510) ===
โดยในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ก็เริ่มทดลองส่งแพร่ภาพโทรทัศน์ไปพลางก่อน จากห้องส่งของ[[สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท.]] ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติจัดสรรให้ บจก.ไทยโทรทัศน์ ดำเนินการเพื่อระดมทุนทรัพย์สำหรับบริหารงาน และเพื่อฝึกฝนบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ พร้อมทั้งเตรียมงานส่วนอื่นไปด้วย จนกว่าจะก่อสร้างอาคารที่ทำการพร้อมติดตั้งเครื่องส่งเสร็จสมบูรณ์ ระหว่างนั้น คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เลือกใช้ ระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที ซึ่งใช้อยู่ในสหรัฐ เป็นผลให้ บจก.ไทยโทรทัศน์ จัดซื้อเครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ ของบริษัท เรดิโอ คอร์ปอเรชั่น ออฟ อเมริกา (Radio Corporation of America) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อย่อว่า อาร์.ซี.เอ. (RCA) มาใช้สำหรับการออกอากาศ และวางแผนดำเนินการแพร่ภาพ ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ทางช่องสัญญาณที่ 4 ซึ่งเมื่อรวมกับชื่อสถานที่ตั้งสถานีฯ ดังกล่าวข้างต้น ในระยะต่อมา ผู้ชมทั่วไปจึงนิยมเรียกชื่อลำลองว่า ''ช่อง 4 บางขุนพรหม'' และเริ่มแพร่ภาพในวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งตรงกับ[[วันชาติ (ประเทศไทย)|วันชาติไทย]]ในสมัยนั้น โดยมี[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล แปลก พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานพิธีเปิด ''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4'' ({{lang-en|Thai Television Channel 4}} [[อักษรย่อ|ชื่อย่อ]]: ไทย ที.วี. ชื่อรหัส: HS1-TV) ขึ้นเป็นแห่งแรกของ[[ประเทศไทย]] และเป็นช่อง​แรกช่องเดียว​แห่งแรกของทวีปเอเชีย บนภาคพื้นเอเชียแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental)
 
โดยมี[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล แปลก พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานพิธีเปิด ''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4'' ({{lang-en|Thai Television Channel 4}} [[อักษรย่อ|ชื่อย่อ]]: ไทย ที.วี. ชื่อรหัส: HS1-TV) ขึ้นเป็นแห่งแรกของ[[ประเทศไทย]] และเป็นช่อง​แรกช่องเดียว​แห่งแรกของทวีปเอเชีย บนภาคพื้นเอเชียแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental) ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] [[ผู้บัญชาการทหารบก]]ในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง ''คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก'' ประกอบด้วย [[ไสว ไสวแสนยากร|พลเอก ไสว ไสวแสนยากร]] ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการ และ[[การุณ เก่งระดมยิง|พันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง]] เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ''โครงการจัดตั้ง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]]'' พร้อมทั้งวางแผนอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงให้อำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผล ตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ [[24 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีฯ ภายในบริเวณ[[กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์]] สนามเป้า [[ถนนพหลโยธิน]] แขวงสามเสนใน [[เขตพญาไท]] โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนก่อสร้างและจัดหาอุปกรณ์ เป็นจำนวน 10,101,212 บาท
 
เมื่อ[[วันเสาร์]]ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ''[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]]'' (ชื่อรหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.) เริ่มต้นออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์เป็นแห่งที่ 2 ของประเทศไทย ด้วยรถตู้ถ่ายทอดนอกสถานที่ ซึ่งจอดไว้หน้า[[สวนอัมพร|อาคารสวนอัมพร]] โดยแพร่ภาพขาวดำ ด้วยระบบ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที ผ่านคลื่นวิทยุความถี่สูงมากเช่นกัน แต่ออกอากาศทางช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งของบริษัทปายแห่งอังกฤษ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ ทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ สำหรับเนื้อหาที่แพร่ภาพนั้น ไทยทีวีช่อง 4 นำเสนอรายการประเภทสนทนา, ตอบคำถามชิงรางวัล และการแสดงประเภทต่างๆ รวมถึงละครโทรทัศน์ ซึ่งออกอากาศตามปกติแล้ว รัฐบาลยังสั่งให้นำเสนอรายการพิเศษ ในโอกาสที่สำคัญต่างๆ หลายครั้งเช่น แถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี, ถ่ายทอดการประชุม[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]]หลายครั้ง รวมทั้งถ่ายทอดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษด้วย ส่วน ททบ.7 นำเสนอรายการประเภท[[สารคดี]], [[ภาพยนตร์]][[ต่างประเทศ]] และเปิดแผ่นป้ายชิงรางวัล ร่วมกับรายการพิเศษ เช่นถ่ายทอดการฝึกทหารยามปกติในชื่อ "การฝึกธนะรัชต์" เป็นต้น
บรรทัด 24:
คณะรัฐมนตรีลงมติเมื่อปี พ.ศ. 2502 อนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานระดับกอง สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ ขึ้นในส่วนภูมิภาค ภายใต้ชื่อว่า "ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต" (ปัจจุบันคือ [[สำนักประชาสัมพันธ์เขต]]) พร้อมทั้งเริ่มจัดตั้ง [[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค|สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย]] ภายในที่ทำการของศูนย์ประชาสัมพันธ์เขตทั้งสามแห่ง ด้วยงบประมาณ 25 ล้านบาท ซึ่งทยอยเริ่มออกอากาศ ตั้งแต่ราวเดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2505 และใช้เครื่องส่ง 500 วัตต์ แพร่ภาพด้วยระบบขาวดำ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที เช่นเดียวกับในส่วนกลาง ประกอบด้วย สทท.[[จังหวัดลำปาง]] ใน[[ภาคเหนือ]] ทางช่องสัญญาณที่ 8, สทท.[[จังหวัดขอนแก่น]] ใน[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] ทางช่องสัญญาณที่ 5 และ สทท.[[จังหวัดสงขลา]] ใน[[ภาคใต้]] ทางช่องสัญญาณที่ 9 ต่อมาภายหลัง กรมประชาสัมพันธ์ทยอยดำเนินการ ปรับปรุงเครื่องส่งให้เป็นระบบแพร่ภาพสีทั้งหมด ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 12 แห่ง คือ ภาคเหนือ ที่[[จังหวัดเชียงใหม่]]และ[[จังหวัดพิษณุโลก]], ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่นและ[[จังหวัดอุบลราชธานี]], [[ภาคกลาง]] ที่[[จังหวัดกาญจนบุรี]], [[ภาคตะวันออก]]ที่[[จังหวัดจันทบุรี]], ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา [[จังหวัดยะลา]] [[จังหวัดภูเก็ต]] [[จังหวัดตรัง]] [[จังหวัดนครศรีธรรมราช]] และ[[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]]
 
อนึ่ง ไทยทีวีช่อง 4 และ ททบ.7 เคยร่วมกันถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ 2 รายการ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ คือ[[เอเชียนเกมส์]][[เอเชียนเกมส์ 1966|ครั้งที่ 5]] และ [[ซีเกมส์|กีฬาแหลมทอง]][[กีฬาแหลมทอง 1967|ครั้งที่ 4]] ซึ่งนำไปสู่การจับมือกันก่อตั้ง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]] เพื่อเป็นองค์กรอำนวยการปฏิบัติงานระหว่างสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทั้งหมด เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ซึ่งมีภารกิจสำคัญในระยะแรกคือ ถ่ายทอดการส่งมนุษย์ ขึ้นสู่ยานอวกาศ[[อะพอลโล 11]] ของ[[องค์การนาซา]] ใน[[สหรัฐอเมริกา]] ไปลงบนพื้นผิว[[ดวงจันทร์]]เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2512, ถ่ายทอดการแข่งขันกีฬา[[เอเชียนเกมส์ 1970|เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 6]] ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ รวมถึงการถ่ายทอดสดพระราชดำรัสของ[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] หลังเกิด[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]] จากหอตึกพระสมุด [[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลา 19:30 น. และเวลา 23:30 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ตามลำดับ เป็นต้น
 
=== เปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์สีระบบยุโรป (2510-2517) ===
เนื่องจากแต่เดิม ประเทศไทยใช้ระบบแพร่ภาพ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที ดังที่ใช้ใน[[สหรัฐ]] ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าเพียง 110 โวลต์ แต่ไทยใช้กำลังไฟฟ้า 220 โวลต์ เช่นเดียวกับใน[[ทวีปยุโรป]] จึงต้องใช้เครื่องแปลงความถี่ไฟฟ้า เพื่อให้เข้าใช้กับเครื่องส่ง และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการสิ้นเปลือง คณะรัฐมนตรีจึงลงมติมีมติให้ทยอยดำเนินการปรับปรุงระบบแพร่ภาพเป็น 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที ดังที่ใช้ใน[[ทวีปยุโรป]] ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าเท่ากับที่ใช้ในไทย เพื่อลดความซับซ้อนต่อการออกอากาศลง โดยให้ดำเนินการเปลี่ยนผ่านคู่ขนานกันไป เพราะแม้ทั้งสองระบบดังกล่าวจะใช้คลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมากเช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่รบกวนการออกอากาศซึ่งกันและกัน และยังใช้เครื่องรับสัญญาณต่างกันด้วย หากใช้เครื่องรับโทรทัศน์ระบบเดิม ก็สามารถติดตั้งตัวรับสัญญาณระบบใหม่เพิ่มเติม เพื่อรับชมช่องรายการในระบบใหม่เป็นภาพขาวดำได้
 
[[ประภาส จารุเสถียร|จอมพล ประภาส จารุเสถียร]] ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น มีนโยบายให้คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบกลงมติอนุมัติให้ร่วมกับ[[บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด]] ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งด้วยทุน 10,000,000 บาท เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2510 และมี[[ไสว จารุเสถียร|คุณหญิงไสว จารุเสถียร]] (ต่อมาขึ้นเป็นท่านผู้หญิง; ภริยาจอมพลประภาส) เป็นประธานกรรมการ กับ[[เรวดี เทียนประภาส]] (น้องสาวคุณหญิงไสว) เป็นกรรมการผู้จัดการ ดำเนินการทดลองใช้เครื่องส่งโทรทัศน์สี ของบริษัท[[ฟิลิปส์]]แห่งฮอลแลนด์ ระบบแพร่ภาพ 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที โดยบันทึกภาพการประกวด[[นางสาวไทย]] ภายในงานวชิราวุธานุสรณ์ ที่[[พระราชวังสราญรมย์]] ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ [[25 พฤศจิกายน]] ปีเดียวกัน มาถ่ายทอดในอีกสองวันถัดมา คือวันจันทร์ที่ [[27 พฤศจิกายน]] ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมาก ทางช่องสัญญาณที่ 7 และออกอากาศคู่ขนาน ด้วยระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 9 นับเป็นการออกอากาศวันแรกของ ''[[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]]''<ref name="tv_research_1969">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/010/241.PDF ประกาศสำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจเกี่ยวกับการรับวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2511], เล่ม 86 ตอน 10 ง หน้า 241, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512. (ในหน้า 25 ของเอกสารตามลิงก์ ระบุตารางรายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย พร้อมช่องสัญญาณที่ใช้ในขณะนั้น)</ref>
 
หลังจากนั้นก็ยุติการแพร่ภาพชั่วคราว เพื่อดำเนินการในทางเทคนิค และเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม มีการประกอบพิธีสถาปนา บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ และเริ่มออกอากาศ [[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 |''สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7'']] อย่างเป็นทางการ และในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2511 คณะกรรมการฯ ทำสัญญากับทาง บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งกำหนดให้บริษัทฯ จัดสร้างอาคารที่ตั้ง[[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]] ภายในบริเวณที่ทำการ ททบ.สนามเป้า พร้อมติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ เพื่อมอบทั้งหมดให้แก่ ททบ. แล้วจึงทำสัญญาเช่าช่วงจาก ททบ. เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อเข้ามาบริหารงานอีกทอดหนึ่ง โดยในระยะสองปีแรก (จนถึงปี พ.ศ. 2513) ใช้บุคลากรและห้องส่งร่วมกับ ททบ. ไปพลางก่อน พร้อมทั้งนำรถประจำทางเก่าสามคัน เข้าไปจอดไว้ภายในที่ทำการ ททบ.สนามเป้า แล้วรื้อที่นั่งออกทั้งหมด เพื่อใช้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ไปพลางก่อน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ปีเดียวกัน บจก.ไทยโทรทัศน์ ทำสัญญาดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีร่วมกับ [[บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด]] ({{Lang-en|Bangkok Entertainment Company Limited}}; ชื่อย่อ: บีอีซี; BEC) ซึ่ง[[วิชัย มาลีนนท์]] ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 โดยมีอายุสัญญา 10 ปีนับแต่เริ่มออกอากาศาศ
 
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2512 บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จัดหาเครื่องส่งโทรทัศน์สีกำลังออกอากาศ 10 กิโลวัตต์ พร้อมเสาอากาศสูง 570 ฟุต และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม กำลังส่ง 1 กิโลวัตต์ เพื่อส่งมอบให้แก่ ททบ. ต่อมาใน[[วันพฤหัสบดี]]ที่ [[26 มีนาคม]] พ.ศ. 2513 [[ถนอม กิตติขจร|จอมพล ถนอม กิตติขจร]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานพิธีเปิด ''[[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]]'' <ref name="history">[http://www.thaitv3.com/ch3/guide/aboutus_history.php ประวัติสถานีฯ] จากเว็บไซต์ไทยทีวีสีช่อง 3</ref><ref name="managermag">[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=11253 34 ปี ช่อง 3] จาก[[เว็บไซต์]]นิตยสาร[http://www.gotomanager.com ผู้จัดการ 360 องศา]</ref> (ชื่อสากล: HS-TV 3<ref>[http://www.thaitv3.com/ch3/images/guide/Ch3BuildingFirst.jpg ภาพหน้าอาคารสถานีฯ แสดงชื่อรหัสสากลของช่อง 3] จากเว็บไซต์สถานีฯ</ref>) ซึ่งดำเนินการโดยบีอีซี ที่เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เวลา 10:00 น.<ref name="history"/> ด้วยเครื่องส่งโทรทัศน์สี ระบบแพร่ภาพ 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที ขนาด 25 กิโลวัตต์ สองเครื่องขนานกัน รวมกำลังส่งเป็น 50 กิโลวัตต์ เสาอากาศเครื่องส่งมีความสูง 250 เมตร มีอัตราการขยายกำลังออกอากาศ 13 เท่า กำลังสัญญาณที่ปลายเสาอยู่ที่ 650 กิโลวัตต์ ออกอากาศผ่านคลื่นวิทยุ ในย่านความถี่สูงมาก ทางช่องสัญญาณที่ 3 ซึ่งอยู่ในช่วงต่ำ (low band) และเมื่อวันที่ [[1 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ย้ายเข้าใช้อาคารที่ทำการถาวร ของ[[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]] บริเวณหลัง[[สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต)]] แห่งเดิม<ref name="profile1">[http://www.ch7.com/aboutus/default.aspx?CategoryId=44 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7] จากเว็บไซต์ช่อง 7 HD</ref>
 
กล่าวโดยสรุปคือ ระหว่างปี พ.ศ. 2513 - 2517 ในระบบแพร่ภาพ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที (ขาวดำทั้งหมด) ไทยทีวีสีช่อง 3 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 2, ไทยทีวีช่อง 4 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 4/11/12, ททบ.7 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 7, ช่อง 7 สี รับชมทางช่องสัญญาณที่ 9 ส่วนระบบแพร่ภาพ 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที ไทยทีวีสีช่อง 3 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 3 เป็นภาพสี, ททบ.7 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 5 เป็นภาพขาวดำ, ช่อง 7 สี รับชมทางช่องสัญญาณที่ 7 เป็นภาพสี, ไทยทีวีช่อง 4 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 9 เป็นภาพขาวดำ นอกจากนี้ ทั้งสี่ช่องยังมีคลื่นวิทยุซึ่งจัดสรรไว้ สำหรับกระจายเสียงภาษาต่างประเทศ ในภาพยนตร์หรือรายการจากต่างประเทศ โดยไทยทีวีช่อง 4 ใช้สถานีวิทยุ ท.ท.ท. ความถี่เอฟเอ็ม 100.5 เมกะเฮิร์ตซ์ และมีระบุในสัญญากับบีอีซี ยกคลื่นความถี่เอฟเอ็ม 105.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ของสถานีวิทยุ ท.ท.ท. ให้แก่ไทยทีวีสีช่อง 3 เพื่อใช้ในการนี้ ส่วน ททบ.7 ใช้สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก (ว.ทบ.) ความถี่เอฟเอ็ม 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ และมีระบุในสัญญากับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ยกคลื่นความถี่เอฟเอ็ม 103.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ของ ว.ทบ.ให้แก่ช่อง 7 สี เพื่อใช้ในการนี้
 
=== ปรับปรุงพัฒนา (2517-2527) ===
ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 บจก.ไทยโทรทัศน์ เริ่มแพร่ภาพด้วยระบบ 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที ในระบบวีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 9<ref>หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย (หน้า 24)</ref> ซึ่งเป็น[[ภาพสี]]หรือ[[ขาวดำ]] ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่แพร่ภาพ ด้วยเครื่องส่งที่บีอีซีมอบให้ตามที่ระบุในสัญญา คู่ขนานไปกับไทยทีวีช่อง 4 ด้วยภาพขาวดำทั้งช่อง โดยรายการแรกเริ่มออกอากาศภาพสีทางช่อง 9 คือถ่ายทอดสด[[ฟุตบอลโลก]][[ฟุตบอลโลก 1970|ครั้งที่ 9]] นัดชิงชนะเลิศ ระหว่าง[[ฟุตบอลทีมชาติบราซิล|ทีมชาติบราซิล]] กับ[[ฟุตบอลทีมชาติอิตาลี|ทีมชาติอิตาลี]] ซึ่งเวลาประเทศไทย ตรงกับเช้า[[วันจันทร์]]ที่ 22 มิถุนายน ทว่าในระยะเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายห้องส่งโทรทัศน์ รวมถึงสำนักงานทั้งหมด ไปยังอาคารพาณิชย์ขนาด 5 คูหาย่าน[[ถนนพระสุเมรุ]] แขวงบางลำพู เนื่องจาก[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]] เสนอซื้ออาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด บนที่ดินบริเวณที่ทำการ บจก.ไทยโทรทัศน์ ก่อนจะยุติการแพร่ภาพระบบ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 4 หลังจาก[[วันอาทิตย์]]ที่ [[30 มิถุนายน]] พ.ศ. 2517 พร้อมทั้งปรับปรุงการแพร่ภาพ ในระบบ 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 9 เป็นโทรทัศน์สีอย่างสมบูรณ์<ref>หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย (หน้า 24)</ref>
 
ขณะที่เมื่อปี พ.ศ. 2516 ททบ.ก็อนุมัติให้แก้ไขระยะเวลาเช่าช่วงของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตามที่ระบุในสัญญาซึ่งทำไว้กับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ออกไปเป็น 15 ปีจนถึง [[พ.ศ. 2527]] และตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ [[3 ตุลาคม]] พ.ศ. 2517 ททบ.ยังเปลี่ยนการส่งแพร่ภาพ จากระบบ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 7 ไปใช้ระบบ 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 5 จากนั้นเมื่อ[[วันอังคาร]]ที่ [[3 ธันวาคม]] ปีเดียวกัน ก็เริ่มทดลองออกอากาศด้วยภาพสีเป็นครั้งแรก ด้วยการถ่ายทอดสด[[พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์]] เนื่องใน[[พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา]]ประจำปี จากบริเวณ[[ลานพระราชวังดุสิต]] และเมื่อปี [[พ.ศ. 2518]] ยังเพิ่มกำลังส่งออกอากาศสถานีหลักที่สนามเป้าจาก 200 เป็น 400 กิโลวัตต์ รวมทั้งเริ่มออกอากาศเป็นภาพสีอย่างสมบูรณ์ทั้งช่องด้วย
 
สืบเนื่องจาก[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|เหตุการณ์นองเลือด]] 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 [[สรรพสิริ วิรยศิริ]] ซึ่งขณะนั้นเป็นกรรมการผู้จัดการ บจก.ไทยโทรทัศน์ นำกล้องภาพยนตร์ออกถ่ายทำข่าวบริเวณ[[ท้องสนามหลวง]] โดยเฉพาะส่วนหน้า[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] แล้วกลับไปล้างฟิล์มและตัดต่อด้วยตนเอง เพื่อนำออกเป็นรายงานข่าว ทั้งทางไทยทีวีสีช่อง 9 และวิทยุ ท.ท.ท. อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง จึงทำให้เขา, ราชันย์ ฮูเซ็น และลูกน้องอีก 2-3 คนถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งใน บจก.ไทยโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 9 และวิทยุ ท.ท.ท. กอปรกับประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติยุบเลิก บจก.ไทยโทรทัศน์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 แล้วจึงมี[[พระราชกฤษฎีกา]]จัดตั้ง ''[[องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]]'' ({{Lang-en|The Mass Communication Organisation of Thailand}}; ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท.; M.C.O.T.) ให้เป็น[[รัฐวิสาหกิจ]] ในสังกัด[[สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)|สำนักนายกรัฐมนตรี]] ประกาศเมื่อวันที่ 26 มีนาคม โดยให้รับโอนกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของ บจก.[[ไทยโทรทัศน์]] คือ[[สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ|สถานีวิทยุ ท.ท.ท.]] และ[[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9]] เพื่อดำเนินงานต่อไป ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน ปีเดียวกัน ซึ่งถือเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท.
บรรทัด 49:
15 มกราคม พ.ศ. 2528 [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43|คณะรัฐมนตรี]]มีมติให้กรมประชาสัมพันธ์จัดทำ''โครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ'' เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อ[[การศึกษา]] เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของ[[ราชการ]]สู่[[ประชาชน]] และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่าง[[รัฐบาล]]กับประชาชน ตลอดจนเป็นแม่ข่ายให้แก่โทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ โดยกรมประชาสัมพันธ์เริ่มดำเนินการดังกล่าว ด้วยการเคลื่อนย้ายเครื่องส่งโทรทัศน์สี จากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ที่[[อำเภอเด่นชัย]] [[จังหวัดแพร่]] เข้ามาติดตั้งภายในอาคารศูนย์ระบบโทรทัศน์ ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร เพื่อทดลองออกอากาศ ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมากช่วงสูง ทางช่องสัญญาณที่ 11 เมื่อราวต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 ภายใต้ชื่อ ''[[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย]]'' (สทท.)<ref>[http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=11397 ขุดกรุ:จากสถานี HS1PJ ถึงโทรทัศน์สีสเตอริโอ]* (บางส่วน) จากเว็บไซต์รถไฟไทยดอตคอม</ref> ก่อนจะแพร่ภาพเป็นประจำทุกวัน ระหว่างเวลา 16:30 - 21:00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2529
 
ทั้งนี้ระหว่างปี [[พ.ศ. 2528]] - [[พ.ศ. 2531|2531]] บริษัท แปซิฟิก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น [[แปซิฟิกอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น|บริษัท แปซิฟิกอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด]]) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดย[[ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา]] เจ้าของกิจการนิตยสารดิฉัน ตอบรับคำเชิญของประมุท สูตะบุตร ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. คนแรก ที่ขอให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอข่าว 9 อ.ส.ม.ท. หรือ[[สำนักข่าวไทย]] โดยกำหนดให้[[อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง]] เป็นผู้ประกาศในรายการ "ข่าวรับอรุณ" ซึ่งเป็นรายการข่าวภาคเช้าที่ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาค[[เอเชียอาคเนย์]] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 และมอบหมายให้[[สมเกียรติ อ่อนวิมล]] อาจารย์ประจำ[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะรัฐศาสตร์]] [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น เป็นหัวหน้าผู้ประกาศข่าวภาคค่ำ ร่วมด้วย[[กรรณิกา ธรรมเกษร]] ซึ่งเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 9 อยู่เดิม จนกระทั่งกลายเป็นผู้ประกาศข่าวคู่ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของยุคนั้น รวมทั้งสร้างชื่อเสียงให้แก่[[ผู้ประกาศข่าว]]และ[[ผู้สื่อข่าว]]หลายคน
 
ต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติโครงการช่วยเหลือกรมประชาสัมพันธ์ แบบให้เปล่าภายใต้วงเงิน 2,062 ล้าน[[เยน]] (ขณะนั้นคิดเป็นประมาณ 300 ล้านบาท) ผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการ จัดซื้อและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2531 รวมประมาณ 9 เดือน เนื่องจากงบประมาณของกรมประชาสัมพันธ์มีข้อจำกัด รวมทั้งเครื่องส่งโทรทัศน์มีกำลังต่ำ โดยระหว่างนั้น สทท.ต้องหยุดออกอากาศชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน และในวันที่ 16 กรกฎาคม ปีเดียวกัน อ.ส.ม.ท. ทำสัญญาขยายเครือข่ายโทรทัศน์ทั่วประเทศร่วมกับบีอีซี เพื่อดำเนินการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ พร้อมทั้งอุปกรณ์ออกอากาศร่วมกัน ระหว่างไทยทีวีสีช่อง 3 และไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. จำนวนทั้งหมด 31 แห่ง ในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531 - กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เพื่อแลกกับการอนุมัติให้ขยายอายุสัญญาสัมปทานออกไปอีก 30 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2533 - 25 มีนาคม [[พ.ศ. 2563]] เป็นผลให้ทั้ง 2 ช่องสามารถออกอากาศครอบคลุมถึงร้อยละ 89.7 ของพื้นที่ประเทศไทย คิดเป็นศักยภาพของการให้บริการถึงร้อยละ 96.3 ของจำนวนประชากร<ref name="history"/><ref name="managermag"/> โดยรับสัญญาณจากสถานีส่งหลักในกรุงเทพมหานครผ่านช่องสัญญาณดาวเทียมอินเทลแซต และเครื่องรับสัญญาณไมโครเวฟจาก[[ดาวเทียมสื่อสาร]]ของไทย
 
ต่อมาใน[[วันจันทร์]]ที่ [[11 กรกฎาคม]] พ.ศ. 2531 เวลา 10:00 น. [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย [[ถนนเพชรบุรีตัดใหม่]] อย่างเป็นทางการ<ref>[http://www.ohmpps.go.th/documents/BR2531020/pdf/T0011_0006.pdf ข่าวพระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2530-กันยายน พ.ศ. 2531 บทที่ 11 หน้า 6] จาก[[เว็บไซต์]][[สำนักราชเลขาธิการ]]</ref> จากนั้นเป็นต้นมา สทท. จึงกำหนดให้วันดังกล่าว เป็นวันคล้ายวันสถาปนาสถานีฯ ต่อมาจึงเริ่มกลับมาออกอากาศข่าวภาคเช้า ข่าวภาคค่ำ รายการเพื่อการศึกษา และรายการประเภทอื่น ไปยังสถานีเครือข่ายส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบัน อนึ่งก่อนหน้านั้น เมื่อ[[วันอาทิตย์]]ที่ [[28 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2524]] เวลา 09:25 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารที่ทำการ [[อ.ส.ม.ท.]] บนเนื้อที่ 14 ไร่ บน[[ถนนพระราม 9]] ซึ่งมีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด ในประเทศไทยขณะนั้น<ref>[http://www.ohmpps.go.th/documents/BR2524013/pdf/T0010_0010.pdf ข่าวพระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2523-กันยายน พ.ศ. 2524 บทที่ 10 หน้า 10] จาก[[เว็บไซต์]][[สำนักราชเลขาธิการ]]</ref>
 
=== กำเนิดโทรทัศน์เสรี ยุครุ่งเรืองของรายการข่าว (2535-2540) ===
บรรทัด 61:
โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดสรรช่องสัญญาณที่ 26 ในย่าน UHF เพื่อเปิดการประมูลสัมปทาน ให้เข้าดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์เสรีเมื่อปี พ.ศ. 2538 ซึ่งผู้ชนะได้แก่ กลุ่ม[[สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์|บริษัท สยามทีวี แอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด]] ที่มี[[ธนาคารไทยพาณิชย์]]เป็นองค์กรนำ จึงเข้าเป็นผู้ดำเนินโครงการสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าว ซึ่งมีการก่อตั้ง[[สยามอินโฟเทนเมนต์|บริษัท สยาม อินโฟเทนเมนต์ จำกัด]] ขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นนิติบุคคลผู้ดำเนินกิจการนี้ และร่วมลงนามในสัญญาสัมปทานกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ [[3 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน โดยตั้งชื่อสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ว่า ''[[สถานีโทรทัศน์ไอทีวี]]'' และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 โดยวางนโยบายให้ความสำคัญ กับรายการข่าวและสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ กลุ่มสยามอินโฟเทนเมนต์ มอบหมายให้เครือเนชั่น ซึ่งเข้าร่วมถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 10 เช่นเดียวกับนิติบุคคลผู้ถือหุ้นรายอื่น เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดรายการข่าว พร้อมทั้งส่ง[[เทพชัย หย่อง]] มาดำรงตำแหน่งบรรณาธิการข่าวคนแรกของไอทีวี เพื่อฝึกอบรมผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าว ส่งผลให้ข่าวไอทีวีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก รวมถึงได้รับรางวัลมากมาย ตลอดระยะเวลา 11 ปีเศษของสถานีฯ
 
เป็นที่น่าสังเกตว่า นับแต่ช่วงเวลาก่อนหน้านี้ ผู้ชมให้ความสนใจรายการประเภทสนทนาเชิงข่าว (news talk) กระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในยุคดังกล่าว อาทิ ''[[สนทนาปัญหาบ้านเมือง]]'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี [[พ.ศ. 2524]] โดยกรมการทหารสื่อสารเป็นเจ้าของรายการ ออกอากาศทาง ททบ.5 และช่อง 7 สี, ''มองต่างมุม'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี [[พ.ศ. 2532]] โดยมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์เป็นเจ้าของรายการ [[เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง|ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง]] เป็นผู้ดำเนินรายการ และออกอากาศทาง, ''เนชั่นนิวส์ทอล์ก'' (เดิมจะให้ชื่อว่า "เฟซเดอะเนชั่น; Face the Nation" แต่เมื่อเริ่มออกอากาศจริง ก็เปลี่ยนเป็นชื่อดังกล่าว) ซึ่งเริ่มจัดขึ้นเมื่อวันที่ [[4 มกราคม]] [[พ.ศ. 2536]] โดย[[บริษัท แน็ทค่อน มีเดีย จำกัด]] ในเครือ[[หนังสือพิมพ์]][[เดอะ เนชั่น (ประเทศไทย)|เดอะเนชั่น]] ([[บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)]] ในปัจจุบัน) เป็นเจ้าของรายการ [[สุทธิชัย หยุ่น]] เป็นผู้ดำเนินรายการ และออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., ''ตรงประเด็น'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2536 โดย[[สำนักข่าวไทย]]ของ อ.ส.ม.ท. เป็นเจ้าของรายการ ถวัลย์ศักดิ์ สุขะวรรณ ผู้อำนวยการสำนักข่าวไทยขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินรายการ และออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., ''กรองสถานการณ์'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2536 โดย[[สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์]]เป็นเจ้าของรายการ สมฤทธิ์ ลือชัย กับอดิศักดิ์ ศรีสม เป็นผู้ดำเนินรายการ และออกอากาศทาง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย|สทท.11]] (แทนที่รายการมองต่างมุม) เป็นต้น
 
=== ยุคปรับตัวเพื่ออยู่รอด (2540-2550) ===