ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 31:
 
'''หมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2''' หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า '''หมุดคณะราษฎร 2563''' เป็นหมุด[[ทองเหลือง]] ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 11.6 นิ้ว<ref>{{cite web|url=https://www.khaosod.co.th/politics/news_4945910|title=เริ่มแล้ว! เตรียมสถานที่ปักหมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2 กลางพื้นสนามหลวง|website=ข่าวสดออนไลน์|date=2020-09-20|access-date=2020-09-20}}</ref> ฝังอยู่บนพื้นปูนซีเมนต์ใน[[ท้องสนามหลวง]] ฝั่งถนนหน้าพระลาน<ref>{{cite web|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/1933412|title="เพนกวิน-อานนท์" นำ ปชช.ทำพิธีปักหมุดคณะราษฎร-อ่านประกาศกลางสนามหลวง|website=ไทยรัฐออนไลน์|date=2020-09-20|access-date=2020-09-20}}</ref><ref>{{cite web|url=https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000096199|title=ม็อบปักหมุดคณะราษฎร หมุดที่ 2 ลงพื้นสนามหลวงแล้ว พร้อมอ่านประกาศคณะราษฎร 2563|website=ผู้จัดการออนไลน์|date=2020-09-20|access-date=2020-09-20}}</ref> มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 20 กันยายน 2563 SEP 20, 2020 เวลาย่ำรุ่ง ผองราษฎรได้แสดงเจตนารมณ์ ประเทศนี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่สมบัติของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง" จัดทำขึ้นโดยกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ในการชุมนุมประท้วง #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร มีพิธีฝังหมุดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 โดยมีกลุ่มแกนนำผู้จัดกิจกรรมเป็นผู้ฝังหมุด
 
== ลักษณะ ==
หมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2 เป็นหมุดที่ทำจากทองเหลือง 100% มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 11.6 นิ้ว ซึ่งมีความหมายถึง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และมีความหนา 2.563 นิ้ว ซึ่งหมายถึงปีพุทธศักราชที่ทำการฝังหมุดคือปี พ.ศ. 2563 บนหมุดนั้นประกอบด้วยภาพมือที่ชูสามนิ้ว และมีรัศมีเปล่งเป็นเส้นตรงจำนวน 10 เส้น ซึ่งหมายถึงข้อเรียกร้อง 10 ประการของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ที่เกี่ยวกับการแก้ไขพระราชอำนาจและกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย มีข้อความล้อมรอบเป็นวงกลมว่า "''ณ ที่นี้ 20 กันยายน 2563 SEP 20, 2020 เวลาย่ำรุ่ง ผองราษฎรได้แสดงเจตนารมณ์ ประเทศนี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่สมบัติของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง''" โดยฟอนต์ตัวอักษรที่นำมาออกแบบใช้เป็นฟอนต์ตัวอักษรบนหมุดคือฟอนต์ ซีที พอ (ZT Por) ซึ่งฟอนต์ดังกล่าวถูกออกแบบโดยธีรวัฒน์ พจน์วิบูลย์ศิริ โดยได้มีการซื้อฟอนต์ดังกล่าวจากธีรวัฒน์ไป แล้วจึงมีการนำมาใช้ออกแบบตัวอักษรบนหมุดนี้
 
== การฝังหมุด ==