ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิมมี คาร์เตอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
เติบโตในเพลนส์ รัฐจอร์เจีย คาร์เตอร์ได้จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนนายทหารเรือสหรัฐ]]ในปี ค.ศ. 1946 ด้วยระดับ[[วิทยาศาสตรบัณฑิต]] และเข้าร่วมกับ[[กองทัพเรือสหรัฐ]] ซึ่งทำหน้าที่บน[[เรือดำน้ำ]] ภายหลังจากการเสียชีวิตของบิดาของเขาในปี ค.ศ. 1953 คาร์เตอร์ได้ละทิ้งอาชีพทหารเรือของเขาและกลับบ้านเกิดที่รัฐจอร์เจียเพื่อควบคุมธุรกิจปลูกถั่วลิสงที่กำลังเติบโตของครอบครัวของเขา คาร์เตอร์ได้รับมรดกค่อนข้างน้อย เนื่องจากหนี้สินที่พ่อของเขาก่อไว้ได้รับการปลดและมรดกได้ถูกแบ่งปันไปให้แก่น้องสามคน อย่างไรก็ตาม ด้วยความทะเยอทะยานของเขาเพื่อที่จะขยายและเติบโต ธุรกิจปลูกถั่วลิสงของคาร์เตอร์ก็ประสบความสำเร็จ ในช่วงเวลานั้น คาร์เตอร์ได้รับแรงบันดาลใจในการต่อต้านบรรยากาศทางการเมืองของการแบ่งแยกเชื้อชาติและสนับสนุน[[ขบวนการสิทธิพลเมือง]]ที่กำลังเติบโตมากขึ้น เขากลายเป็นนักเคลื่อนไหวภายใน[[พรรคเดโมแครต]] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 ถึง ค.ศ. 1967 คาร์เตอร์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐจอร์เจีย และในปี ค.ศ. 1970 เขาได้รับเลือกตั้งในการดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการรัฐจอร์เจีย ได้เอาชนะอดีตผู้ว่าการ [[คาร์ล แซนเดอรส์]] ในการเลือกตั้งขั้นต้นของพรรคเดโมแครตบนเวทีการต่อต้านการแบ่งแยกเชื้อชาติที่ได้ให้การสนับสนุนใน[[การยืนยันสิทธิ]]สำหรับชนกลุ่มน้อย คาร์เตอร์ยังคงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการรัฐจนถึงปี ค.ศ. 1975 แม้ว่าจะเป็นผู้สมัครม้ามืดที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักนอกจากรัฐจอร์เจียในช่วงเริ่มต้นรณรงค์หาเสียง คาร์เตอร์ได้รับการเสนอชื่อในการเป็นตัวแทนการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งทั่วไป คาร์เตอร์ได้ดำเนินการในฐานะบุคคลภายนอกและเอาชนะได้อย่างหวุดหวิดต่อ[[เจอรัลด์ ฟอร์ด]] จาก[[พรรครีพับลิกัน]] ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีอยู่ก่อนแล้ว
 
วันที่สองในการเข้ารับตำแหน่งของเขา คาร์เตอร์ได้อภัยโทษให้แก่ผู้หลีกเลี่ยงสงครามเวียดนามทั้งหมดโดยออกคำประกาศที่ 4483 ในช่วงวาระของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของคาร์เตอร์ ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานระดับคณะรัฐมนตรีใหม่มาสองกระทรวงคือ กระทรวงพลังงานและกระทรวงการศึกษา เขาได้จัดตั้ง[[นโยบายพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา|นโยบายพลังงานแห่งชาติ]] ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์ ควบคุมราคา และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านการต่างประเทศ คาร์เตอร์ได้ติดตาม[[ข้อตกลงแคมป์เดวิด]] [[สนธิสัญญาคลองปานามา]] การพูดคุยเกี่ยวกับ[[การจำกัดอาวุธปืนเชิงยุทธศาสตร์ครั้งที่สอง]](SALT II) และการส่งคืน[[เขตคลองปานามา]]ให้กับ[[ปานามา]] ในด้านทางเศรษฐกิจ เขาต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ การรวมตัวอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อที่สูง การว่างงานสูงและเติบโตช้า การสิ้นสุดของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาได้ถูกกำหนดโดย[[วิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน]] ปี ค.ศ. 1979 - ค.ศ. 1981 [[วิกฤตการณ์น้่ำมัน ค.ศ. 1979|วิกฤตการณ์พลังงาน ปี ค.ศ. 1979]] [[อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์]]และ[[สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน|โซเวียตบุกครองอัฟกานิสถาน]] ในการตอบสนองของการบุกครอง คาร์เตอร์ได้ยกระดับ[[สงครามเย็น]] เมื่อเขาได้ยุติ[[การผ่อนคลายความตึงเครียด]] กำหนดมาตรการห้ามส่งออกข้าวธัญพืชไปให้กับโซเวียต ประกาศ[[หลักการคาร์เตอร์]] และเป็นผู้นำของ[[การคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูร้อน 1980|การคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1980]] ในกรุงมอสโก ในปี ค.ศ. 1980 คาร์เตอร์ได้เผชิญกับความท้าทายจากวุฒิสมาชิก เท็ด เคนเนดีในการเลือกตั้งคัดเลือกตัวแทน แต่เขาได้รับการเสนอชื่ออีกครั้งในการประชุมแห่งชาติของพรรคเดโมแครต ปี ค.ศ. 1980 คาร์เตอร์ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไปให้กับ[[โรนัลด์ เรแกน]] ผู้เสนอชื่อจาก[[พรรครีพับลิกัน]]ในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย การสำรวจความคิดเห็นของนักประวัติศาสตร์และนักรัฐศาสตร์มักจัดอันดับให้กับคาร์เตอร์ในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีที่ค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่า เขามักจะได้รับการประเมินในเชิงบวกมากขึ้นสำหรับงานช่วงหลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา.
วันที่สองในการเข้ารับตำแหน่งของเขา คาร์เตอร์ได้อภัยโทษให้แก่ผู้หลีกเลี่ยงสงครามเวียดนามทั้งหมดโดยออกคำประกาศที่ 4483 {{โครงส่วน}}
 
ในปี ค.ศ. 1982 คาร์เตอร์ได้ก่อตั้ง[[ศูนย์คาร์เตอร์]]เพื่อส่งเสริมและขยายสิทธิมนุษยชน เขาได้เดินทางไปทั่วเพื่อทำการเจรจาอย่างสันติภาพ สังเกตุการณ์ในการเลือกตั้ง และก้าวหน้าในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคในประเทศที่กำลังพัฒนา คาร์เตอร์ได้ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในฐานะผู้ใจบุญของ[[องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล]] เขาได้เขียนหนังสือมากกว่า 30 เล่ม ตั้งแต่บันทึกความทรงจำทางการเมืองไปจนถึงบทกวี ในขณะที่ยังคงแสดงความคิดเห็นอย่างแข็งขันเกี่ยวกับสถานกาณ์ภายในของอเมริกาและทั่วโลกที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น [[ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์|ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์]] ประธานาธิบดีสหรัฐที่ยังมีชีวิตอยู่ถึงห้าคน ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นคนแรกสุด คาร์เตอร์เป็นประธานาธิบดีที่มีอายุยืนยาวที่สุด เป็นประธานาธิบดีที่เกษียณอายุยาวนานที่สุด คนแรกที่มีชีวิตอยู่ได้ถึงสี่สิบปีภายหลังจากการเข้ารับตำแหน่งและเป็นคนแรกที่มีอายุถึง 95 ปี
 
== ประวัติ ==