ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหรียญราชรุจิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
ภาพเสรีจาก commons
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
เหรียญราชรุจิ มี 2 ชนิด คือ เงินกาไหล่ทอง และเงิน มีลักษณะเป็นเหรียญกลม ใช้อักษรย่อว่า "ร.จ.ท." และ "ร.จ.ง." ต่อท้ายด้วยเลขรัชกาล เช่น "ร.จ.ท.10" ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
 
ลักษณะโดยรวมของเหรียญราชรุจิแต่ละรัชกาลนั้นคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ด้านหน้าของเหรียญราชรุจิเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงสร้างเหรียญแต่ละรัชกาล ที่ขอบเหรียญจารึกพระปรมาภิไธยเป็นภาษาบาลี อักษรไทย ดังนี้

* รัชกาลที่ 5 จารึกว่า "จุฬาลังกรโณ ปรมราชาธิราชา"
* รัชกาลที่ 6 จารึกว่า "วชิราวุโธ ปรมราชาธิราชา"
* รัชกาลที่ 7 จารึกว่า "ปชาธิปโก ปรมราชาธิราชา"
* รัชกาลที่ 9 จารึกว่า "ภูมิพโล ปรมราชาธิราชา"

ด้านหลังทำเป็นรูปจักร ทิศทางของปลายคมจักรเวียนตามเข็มนาฬิกา รายละเอียดของลวดลายวงจักรแตกต่างกันไปในแต่ละรัชกาล ภายในวงจักรมีข้อความภาษาบาลี อักษรไทย จารึกว่า "ราชรุจิยา ทิน์นมิทํ" (ราชรุจิยา ทินฺนมิทํ) หมายความว่า เหรียญนี้ทรงพอพระราชหฤทัยพระราชทาน ยกเว้นเหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 7 ข้อความดังกล่าวไม่ได้จารึกไว้ที่กลางวงจักร แต่จารึกไว้ที่แผ่นป้ายติดห่วงเหรียญสำหรับห้อยแพรแถบ
 
[[ไฟล์:Rajaruchi Medals, 160th Anniversary of the Royal Thai Mint Exhibition, Royal Thai Mint, Thailand.jpg|thumb|center|500px|(จากซ้าย) เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9]]