ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าทิพเกสร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พีรวงค์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
| birth_date = พ.ศ. 2384
| birth_place =
| death_style = พิราลัย ถึงแก่อสัญกรรม
| death_date = 25 มิถุนายน พ.ศ. 2427<ref name="วรชาติ"/> (43 ปี)
| death_place =
| spouse-type = {{Nowrap|พระสวามี}}
บรรทัด 46:
ในช่วงที่เจ้าเทพไกรสรทรงประชวร ช่วงนั้นได้มีการพิจารณาการผูกขาดต้มเหล้าของชาวจีน เจ้าอุบลวรรณาพระขนิษฐาจึงใช้โอกาสนี้จัดการเข้าทรง โดยรับเป็น "ม้าขี่" หรือร่างทรง เมื่อวิญญาณที่มาเข้าร่างทรงได้แสดงความไม่พอใจอย่างมากที่จะอนุญาตให้คนจีนผูกขาดการต้มเหล้า ทั้งยังได้ขู่สำทับด้วยว่า หากมีการอนุญาตจะเกิดเหตุใหญ่ร้ายแรงกว่านี้ และการที่เจ้าเทพไกรสรเจ็บป่วยครั้งนี้เป็นเพียงการสั่งสอนเท่านั้น ภายหลังจึงได้มีการล้มเลิกการผูกขาดการต้มเหล้าไป<ref name="วรรณา"/><ref name="วัณณา">{{cite web |url=http://www.chiangmai-thailand.net/Lanna%20people%20in%20history/Ubolwanna/Ubolwanna.html|title=บุคคลสำคัญ: เจ้าอุบลวรรณา|author= |date=|work= |publisher=เชียงใหม่ไทยแลนด์ดอตคอม|accessdate=15 มีนาคม 2556}}</ref><ref name="อุบล">[http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/Homepage/webdocument/person/a000018.pdf เจ้าอุบลวรรณา]</ref>
 
เจ้าเทพไกรสรถึงพิราลัยแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2427<ref name="แหลม">{{cite web |url=http://www.sri.cmu.ac.th/~maeyinglanna/main2/main13.php|title=แม่เจ้าทิพเกสร (เทพไกรสร) ผู้ฉลาดหลักแหลม และมีปฏิภาณเป็นเลิศ|author=|date=|work= |publisher=แม่ญิงล้านนา|accessdate=28 ตุลาคม 2556}}</ref> ขณะที่เจ้าดารารัศมี พระธิดา มีชันษาเพียง 11 ปี เจ้าดารารัศมีจึงตกอยู่ในพระอุปการะของเจ้าอุบลวรรณา<ref name="วรรณา">{{cite web |url=http://www.chiangmai-thailand.net/person/ubolwanna_htn.htm|title=เจ้าอุบลวรรณา|author= |date=|work= |publisher=เชียงใหม่ไทยแลนด์ดอตคอม|accessdate=15 มีนาคม 2556}}</ref> และสองปีหลังจากนี้เจ้าดารารัศมีก็ได้ถวายตัวรับราชการฝ่ายในที่กรุงเทพมหานคร<ref name="แหลม"/>
 
== พระกรณียกิจ ==
เจ้าเทพไกรสร เป็นพระชายาในพระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่มีความเฉลียวฉลาดหลักแหลม รอบรู้ในด้านราชการ<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. หน้า 341</ref> เป็นที่ทราบกันว่า "สรรพราชการงานเมืองอยู่กับเจ้าเทพไกรษรนี้ผู้เดียวเด็ดขาด ตลอดเหมือนเปนพระเจ้าเชียงใหม่"<ref name="วรชาติ">วรชาติ มีชูบท. ''ย้อนรอยอดีตล้านนา ตอน รวมเรื่องน่ารู้จากแผนที่เมืองนครเชียงใหม่''. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560, หน้า 162</ref> และมีพระอำนาจเหนือพระสวามี มีหลักฐานของชาวต่างประเทศกล่าวถึงพระเจ้าอินทวิชยานนท์ว่า "เป็นผู้ที่มีใจเมตตากรุณา แต่อ่อนแอ"<ref>คาร์ล บอค (เขียน) เสฐียร พันธรังสี และอัมพร จุลานนท์ (แปล). ''สมัยพระปิยมหาราช''. พระนคร : เฟื่องนคร. 2505, หน้า 307-308</ref> และ "...เจ้าหลวงถูกครอบงำโดยพระชายาผู้ที่ดูเหมือนจะเป็นคนที่จิตใจเข้มแข็งทดแทนความอ่อนแอของพระองค์..."<ref>Carl Bock. ''Temple and Elephants''. Bangkok:White Orchid Press. 1985, p. 226</ref> ด้วยเหตุนี้ชาวเมืองจึงเรียกพระเจ้าอินทวิชยานนท์ว่า "เจ้าหลวงตาขาว"<ref>{{cite web |url=http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/Homepage/webdocument/person/a000007.pdf|title=พระเจ้าอินทวิชยานนท์|author= |date=|work= |publisher=หอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ|accessdate=21 ธันวาคม 2556}}</ref> บทบาทด้านการบริหารบ้านเมืองจึงตกอยู่กับ[[เจ้าอุปราช (บุญทวงศ์)]] และเจ้าเทพไกรสร พระชายา และมีบทบาทเรื่อยมาจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2425 และ พ.ศ. 2427 ตามลำดับ<ref name="ประวัติ"/>
 
ดร. แดเนียล แมคกิลวารี หัวหน้าคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งได้เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในปลายสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการสนทนากับเจ้าเทพไกรสร ความว่า "ท่านเป็นพระชายาองค์เดียวของเจ้าหลวงอินทนนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ โดยกำเนิดท่านมีฐานันดรศักดิ์ที่สูงกว่าเจ้าหลวง และท่านก็ทรงคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งอันสูงส่งที่ท่านดำรงอยู่ในขณะนี้ทุกประการ ทั้งยังเป็นผู้มีปฏิภาณเฉียบแหลม และตั้งใจมั่นคง ซึ่งเป็นเหตุให้พระสวามีของท่านคือ เจ้าหลวงองค์ใหม่ หลีกเลี่ยงความบกพร่องและความผิดพลาดได้เป็นอันมาก… ในการสนทนาระหว่างข้าพเจ้ากับเจ้าหญิงนั้น เรามักจะวกมาถึงเรื่องศาสนาเกือบตลอดเวลา แต่ข้าพเจ้า รู้สึกว่าเจ้าหญิงมีความประสงค์จะเอาชนะในการโต้ตอบเรื่องศาสนานี้มากกว่าจะค้นเอาความจริง ท่านมีไหวพริบเหมือนหมอความ คอยจับคำพูดที่หละหลวม และด้วยสติปัญญาอันเฉียบแหลมของท่าน ทำให้ท่านเป็นนักโต้คารมที่มีอารมณ์ครื้นเครง"<ref name="แหลม"/> และ "...อิทธิพลของสตรีในทางวิเทโศบายต่าง ๆ จงเพิ่มทวีขึ้นอย่างมากมายมาตั้งแต่ครั้งเจ้าหลวงองค์ก่อน [พระเจ้ากาวิโลรส] ยังทรงครองราชย์อยู่ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระโอรส จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่พระธิดากลายเป็นผู้มีอำนาจและยังได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจถึงงานต่าง ๆ ของรัฐด้วย...โดยกำเนิดแล้ว พระนางมียศสูงกว่าพระสวามี...ฐานะของพระนางจึงจำเป็นต่อการคานอำนาจกับองค์อุปราช [บุญทวงศ์]..."<ref>เดเนียล แมคกิลวารี ดี.ดี (เขียน) จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล (แปล). ''กึ่งศตวรรษในหมู่คนไทย และคนลาว''. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน. 2544, หน้า 163-164</ref> เมื่อรัฐบาลสยามส่ง[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร]]ขึ้นเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2426 เพื่อวางแผนจัดราชการและระเบียบการปกครองนครเชียงใหม่ร่วมกับเจ้าเทพไกรสร แต่เจ้าเทพไกรสรกลับล้มป่วยและถึงแก่อสัญกรรมเสียก่อน<ref name="วรชาติ"/>
 
เจ้าเทพไกรสรเป็นราชนารีที่มีความโดดเด่นในเรื่องความเข้มแข็ง ดังปรากฏว่าเมื่อครั้งที่เกิดกบฏพระยาปราบสงคราม ทรงไม่เห็นด้วยและแสดงความไม่พอพระทัย จึงสั่งให้จับพระยาปราบมาประหารชีวิตเสีย ทำให้พวกพระยาปราบเกรงกลัวและแตกหนีไป<ref name="แหลม"/> และอีกกรณีที่เจ้าเทพไกรสรได้บัญชาให้ประหารชีวิตพระญาติสาย "[[ณ ลำพูน]]" ที่กระทำการอุกอาจแทงช้างพระที่นั่งพระสวามีของพระองค์ด้วยความคะนอง<ref>[http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ ]</ref> และยังเคยติดตามพระเจ้าอินทวิชยานนท์เข้าเฝ้า[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]หลายครั้ง<ref name="มรดก"/>