ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 67:
'''อาณาจักรรัตนโกสินทร์''' เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายัง[[กรุงเทพมหานคร]] ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
 
ครึ่งแรกของสมัยนี้เป็นการเพิ่มพูนอำนาจของอาณาจักร ถูกขัดจังหวะด้วยความขัดแย้งเป็นระยะกับ[[พม่า]] [[เวียดนาม]]และ[[ลาว]] ส่วนครึ่งหลังนั้นเป็นการเผชิญกับประเทศเจ้าอาณานิคม [[อังกฤษ]]และ[[ฝรั่งเศส]] จนทำให้ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ผลกระทบจากภัยคุกคามนั้น นำให้อาณาจักรพัฒนาไปสู่สมัย[[รัฐชาติ|ร]]มัยใหม่ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีพรมแดนที่กำหนดร่วมกับชาติตะวันตก สมัยนี้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ด้วยการเพิ่มการค้ากับต่างประเทศ [[การเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย|การเลิกทาส]] และการขยายการศึกษาแก่[[ชนชั้นกลาง]]ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างแท้จริงกระทั่งระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราช]]ถูกแทนที่ด้วยระบอบ[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]] ใน[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]]
 
ชื่อ "รัตนโกสินทร์" ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์จนถึง พ.ศ. 2475 เท่านั้น
บรรทัด 139:
 
== วัฒนธรรม ==
{{โครง-ส่วน}}
สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น<ref> [http://thetravellerthailand.blogspot.com/2012/07/blog-post.html?m=1 สังคมวัฒนธรรมไทย สมัยรัตนโกสินทร์]</ref> มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี ลักษณะโครงสร้างของสังคมไทยสมัยนี้ มีการแบ่งชนชั้น ถึงแม้จะไม่มีการแบ่งวรรณะอย่างอินเดีย แต่ฐานะความเป็นอยู่ของผู้คนก็แตกต่างกัน
องค์ประกอบของสังคมไทยแบ่งเป็น 4 ชนชั้น
1. เจ้านาย ได้แก่ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชา
2. ขุนนางและข้าราชการ
3. ไพร่ เป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก แบ่งเป็น ไพร่หลวง และไพร่สม
4. ทาส ชนชั้นต่ำสุดในสังคมไทย ไม่มีอิสระในการดำเนินชีวิต ชีวิตขึ้นอยู่กับนายทาส แบ่งเป็น ทาสเชลย ทาสในเรือนเบี้ย ทาสสินไถ่ ทาสได้มาแต่บิดามารดา ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑ์โทษ และทาสท่านให้ ทาสที่ทำความดีความชอบต่อบ้านเมืองสามารถเลื่อนฐานะตนเองสูงขึ้นเป็นขุนนางได้ ส่วนขุนนางที่ทำผิดก็สามารถลดฐานะลงเป็นทาสได้เช่นกัน
ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สภาพทางสังคมของไทยตั้งแต่อดีต ได้ผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมจึงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนาด้วย ศิลปกรรมและวรรณกรรมต่างๆ ที่บรรจงสร้างด้วยความประณีตก็เกิดจากแรงศรัทธาทางศาสนาทั้งสิ้น
1. การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนา ในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325-2352) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ใน พ.ศ. 2331 โดยใช้เวลาประชุมกันประมาณ 5 เดือนและพระองค์ทรงประกาศเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ว่า ....ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนาและมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมพระสงฆ์ที่ปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย
ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2352-2367) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชา เหมือนดังที่เคยทำกันในสมัยอยุธยา คือ ทำบุญกันทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน สัตว์ที่เคยถูกฆ่าเป็นอาหารนั้นโปรดให้ปล่อยให้หมดภายใน 3 วัน มิให้มีการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด
ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367-2394) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์ ตลอดจนทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและวัดวาอารามมากมาย ในสมัยนี้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้มีโอกาสเผยแผ่ในประเทศไทยโดยพวกมิชชันนารี ทำให้คนไทยบางส่วนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันในวงการพระพุทธศาสนาของไทยก็มีการเคลื่อนไหวที่จะปฏิรูปข้อวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทยให้สอดคล้องกับคำสอนในพระไตรปิฏก โดยพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และได้เสด็จมาเป็นเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ. 2370-2394) ทรงเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการปฏิรูปครั้งนั้น จนกระทั่งได้ทรงตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า "ธรรมยุตินิกาย"
2. การทำนุบำรุงศิลปกรรม/ขนบธรรมเนียมประเพณี การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงให้ความสนพระทัยมากนั้น ได้แก่ บรรดาตึกรามต่างๆ ที่สร้างขึ้น ล้วนมีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงามทั้งภายในและภายนอก ทั้งโดยปูนและโดยไม้แกะสลัก ตึกที่ทรงให้จัดสร้างขึ้นส่วนมากเป็นวัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (มีการจารึกตำราแพทย์แผนโบราณ ยาแก้โรค ตำราหมอนวด กวีนิพนธ์ ไว้ตามเสาและผนังรายรอบบริเวณวัด เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษา จึงถือว่า เป็นวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทย) เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระที่นั่งต่างๆ เช่น พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่งไพศาลทักษิณ, พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน, พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นต้น
 
== การสิ้นสุดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ==