ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Manzzzz/010"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: ไข้เฉียบพลัน (Acute febrile illness หรือ Acute undifferentiated fever) คือ ไข้ที่มีอาการไม่นา...
 
Manzzzz (คุย | ส่วนร่วม)
ทำหน้าว่าง
ป้ายระบุ: ทำหน้าว่าง
 
บรรทัด 1:
ไข้เฉียบพลัน (Acute febrile illness หรือ Acute undifferentiated fever) คือ ไข้ที่มีอาการไม่นานเกิน 14 วัน ซึ่งจะเป็นโรคนี้ก็ต่อเมื่อซักประวัติและตรวจร่างกายแล้วยังไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่ระบบหรืออวัยวะใด และไม่มีลักษณะใดที่จะบอกได้ว่าเป็นการติดเชื้อชนิดใด
 
โรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้มี 6 กลุ่ม ได้แก่
# ติดเชื้อไวรัส(Viral infection)
## โรคไข้เลือดออกเด็งกี(Dengue fever)
## โรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)
# ติดเชื้อ Rickettsiosis ที่พบบ่อยในประเทศไทย คือ
## Scrub typhus
## Murine typhus
# โรคฉี่หนู(Leptospirosis)
# โรคมาลาเรีย(Malaria)
# ไข้ไทฟอยด์(Typhoid fever)
# ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย(Bacteremia)
 
== โรคไข้เลือดออกเด็งกี(Dengue fever,Dengue hemorrhagic fever) ==
'''อายุ''' พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
 
'''ที่อยู่''' เป็นกับคนในเมืองมากกว่าคนในชนบท
 
'''อาการ''' ผู้ติดเชื้อ dengue virus ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ที่มีอาการ สามารถแบ่งอาการได้ 3 รูปแบบคือ
# Undifferentiated febrile illness ในเด็ก ไม่รุนแรง บางครั้งมีผื่นร่วมด้วย
# Dengue fever (DF) ในผู้ใหญ่ มีลักษณะ 3 อย่าง คือ ไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีผื่นแบบ maculopapular อาการปวดตามกล้ามเนื้อและตามข้ออาจรุนแรงจนได้ชื่อว่าเป็น break bone fever
# Dengue hemorrhagic fever (DHF) ส่วนใหญ่เป็นในเด็ก และจะมีอาการรุนแรงถึงตายได้
 
ลักษณะที่แตกต่างกันระหว่าง DHF และ DF คือ การเกิดช็อก(shock) และ hemorrhagic diathesis ใน DHF
 
'''Dengue hemorrhagic fever (DHF)'''
 
'''อายุ''' ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 2-8 ปี
มีอาการที่สำคัญ คือ
# ไข้สูงลอย
# อาการเลือดออก (hemorrhagic diathesis)
# ตับโต
# Circulatory disturbance หรือ ช็อก
 
การดำเนินโรคของ DHF แบ่งเป็น 3 ระยะ
# ระยะไข้สูง (febrile stage) ผู้ป่วยทุกรายมีไข้แบบฉับพลัน ไข้สูงถึง 39-40 C มีไข้สูงลอยอยู่ 2-7 วัน มี 17% ที่มีไข้นานกว่า 7 วัน (ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยเป็นไข้นานกว่า 7 วันก็นึกถึง DF/DHF น้อยลง) กินยาลดไข้ ไข้ก็ไม่ค่อยลด มีหน้าแดง เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้องที่ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
# ระยะวิกฤต (shock หรือ hemorrhagic stage) เป็นระยะที่มีการรั่วของพลาสมา ไข้มักลงอย่างรวดเร็ว ถ้าพลาสมารั่วมากก็อาจเกิดภาวะช็อคได้
# ระยะฟื้น (convalescent stage) เป็นระยะที่มีการดูดกลับของพลาสมาเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยมีอาการทั่วไปดีขึ้น เริ่มอยากกินอาหาร อาจมีผื่น petechial rash ที่เห็นเป็นวงขาวกระจายอยู่ในพื้นสีแดงของผื่น เรียกว่า convalescent rash
 
== โรคไข้หวัดใหญ่(Influenza) ==
'''อายุ''' เป็นได้ทุกวัย
 
'''อาชีพ''' เนื่องจากต้องนึกถึง avian flu ด้วย ต้องถามว่าเลี้ยงไก่ เลี้ยงนกหรือไม่ มีไก่ตายเป็นจำนวนมากหรือไม่
 
'''ที่อยู่''' human influenza พบในคนเมืองมากกว่า เพราะมีผู้คนแออัด ติดต่อกันได้ง่ายทางการหายใจ
 
'''อาการไข้''' ไข้สูงตั้งแต่แรก ไม่ควรมีหนาวสั่นยกเว้นกินยาลดไข้แล้วพอหมดฤทธิ์ยาไข้ขึ้นเร็วก็มีหนาวสั่นได้
 
อาการที่สำคัญอื่นๆ อาการหลักที่ทำให้นึกถึง influenza คือ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยทั้งตัว และเพลียอย่างรวดเร็ว (fever, headache, myalgia and prostration มี 4 อย่างนี้ เรียก flu-like symptom ซึ่งพบได้ในโรคอื่นๆ ด้วย) ร่วมกับมีการระบาดของ influenza ในขณะนั้น โดยได้ประวัติคนในครอบครัวหรือผู้ร่วมงานป่วย เหมือนๆกัน ผู้ป่วยอาจมีอาการทางทางเดินหายใจเช่นเจ็บคอ มีน้ำมูก ไอร่วมด้วยตั้งแต่แรก แต่อาการดังกล่าวข้างต้นจะเด่นกว่ามาก อาการทางทางเดินหายใจจะชัดเจนขึ้นหลังวันที่ 3 ของไข้
 
'''แผลผิวหนัง'''(Skin lesion) ไม่มี
 
== โรคมาลาเรีย(Malaria) ==
ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่ และอาจจะมีประวัติเข้าป่า อาการมักมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการไข้จับสั่น อาจจะเป็นวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองหรือสามวันก็ได้ บางรายอาจมีชักร่วมด้วย
 
== ไข้ไทฟอยด์(Typhoid fever) ==
ในประเทศไทยในปัจจุบัน อุบัติการณ์ของ ไข้ไทฟอยด์ลดลงมาก ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ระยะหลัง ถึงแม้ว่าเพาะเชื้อไม่พบ Salmonella typhi แต่ 3 ปีก่อนก็ยังมีการระบาดของไข้ไทฟอยด์ในมาเลเซียอยู่
 
'''อายุ''' เป็นได้ทุกวัย
 
'''อาชีพ''' ไม่ช่วยในการวินิจฉัย
 
'''ที่อยู่''' พบในคนเมืองมากกว่า เพราะมีผู้คนแออัด ติดต่อกันได้ง่ายทางอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ
 
'''อาการไข้''' เป็นโรคที่มีแบบแผนของไข้ที่จำเพาะ คือ โดยทั่วไป มีไข้นาน 4 สัปดาห์ และในแต่ละสัปดาห์มีลักษณะของไข้ที่แตกต่างกัน
 
-สัปดาห์แรก จะมีไข้แบบค่อยๆขึ้น (insidious onset of fever) ไข้เป็นแบบ remittent fever (ไข้ลงไม่ถึง baseline) และค่อยๆขึ้นแบบขั้นบันได ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมี'''ถ่ายอุจจาระเหลวๆ หรือท้องผูก'''ในสัปดาห์แรก
 
-สัปดาห์ที่ 2 ไข้สูงลอย (continuous fever) ผู้ป่วยจะซึม
 
-สัปดาห์ที่ 3 ไข้แกว่ง โดยลงถึง baseline (intermittent fever) ในสัปดาห์นี้ ผู้ป่วยจะมีอุจจาระเหลว ในต้นสัปดาห์ที่ 3 ผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของไข้ไทฟอยด์ คือมี intestinal hemorrhage หรือ intestinal perforation ได้ที่ตำแหน่ง Peyer’s patch ซึ่งอยู่ที่ terminal ilium
 
-สัปดาห์ที่ 4 ไข้ค่อยๆลดลง
 
== โรคมาลาเรีย(Malaria) ==
'''ฤดูกาล''' เป็นมากในฤดูฝน เพราะมีมีน้ำขัง ยุงวางไข่ได้มาก ทำให้มียุงมาก
 
'''เชื้อชาติ''' สำคัญ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีแรงงานต่างชาติ เป็นพม่าและเขมรมากขึ้น เขามีโอกาสเป็นมาลาเรียได้สูงจากการได้รับเชื้อที่ประเทศเขาเอง หรือระหว่างการเดินทางผ่านมาทางกาญจนบุรี ราชบุรี ชุมพร ซึ่งเป็นที่ชุกชุมของมาลาเรีย
 
'''อายุ''' เป็นได้ทุกวัย
 
'''อาชีพ''' ต้องเข้าสวนเข้าป่า เช่น กรีดยาง
 
'''ที่อยู่/ท่องเที่ยว''' อยู่หรือเข้าไปในชนบท ถ้าเข้าไปเที่ยวหรือเพิ่งมาอยู่ที่นั่น ยังไม่มีภูมิต้านทานก็จะมีโอกาสเป็น severe malaria ได้มาก ควรถามประวัติการเข้าสวนเข้าป่าในระยะเวลาภายใน 2 เดือนในผู้ป่วยที่มีไข้ทุกราย breeding place ของยุงก้นปล่อง (Anopheles) ขึ้นอยู่กับ species ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่ป่าทึบ สวนยาง ที่มีน้ำใสไหลรินเช่น น้ำตก และลำธาร รวมทั้งชายทะเลซึ่งยุงจะวางไข่ที่น้ำกร่อย (ตามหินที่มีน้ำทะเลผสมกับน้ำฝน) เนื่องจากยุงก้นปล่องกัดคนกลางคืน จึงต้องถามว่าไปค้างคืนหรือไม่ หรืออาจเข้าถ้ำที่มืดๆก็ได้
 
'''อาการไข้''' มีไข้และหนาวสั่นก็ต้องนึกถึงมาลาเรียและ bacteremia เพราะเป็นโรคที่มี specific treatment ที่ได้ผลดี ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจตายได้
 
falciparum malaria ในวันแรกๆ อาจมีไข้สูงลอย ยังไม่มีหนาวสั่น หรืออาจมีหนาวสั่นแต่เป็นทุกวัน จนกระทั่งเข้าสัปดาห์ที่ 2 จึงมีไข้หนาวสั่นวันเว้นวัน (malarial paroxysm) การศึกษาที่ศูนย์มาลาเรียพระพุทธบาทสระบุรีพบว่า ผู้ปวย falciparum malaria มีเพียง 10% เท่านั้นที่ให้ประวัติจับไข้หนาวสั่นเป็นเวลา ส่วนใหญ่เป็นไข้สูงลอย ดังนั้น การไม่มีไข้หนาวสั่นจึงไม่สามารถตัดทิ้งมาลาเรียได้ ส่วน vivax malaria จะมีลักษณะของการจับไข้และมีหนาวสั่นที่ typical มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน relapsed vivax malaria จะมีไข้หนาวสั่นวันเว้นวันตั้งแต่เริ่มเป็นไข้เลย
 
อาการที่สำคัญอื่นๆ มีปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการไข้จับสั่น อาจจะเป็นวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองหรือสามวันก็ได้ บางรายอาจมีชักร่วมด้วย
 
== Scrub typhus ==
'''อายุ''' เป็นได้ทุกวัย
 
'''อาชีพ''' ส่วนใหญ่พบในอาชีพเกษตรกร ทำสวน ทำไร่ เช่น สวนยาง สวนกาแฟ
 
'''ที่อยู่/การท่องเที่ยว''' อยู่ในชนบท หรือ ท่องเที่ยวเข้าป่าเข้าสวน
 
'''อาการไข้''' จากการศึกษาในทหารอเมริกันที่ไปรบที่เวียตนาม ส่วนใหญ่ไข้ลงเองใน 2 สัปดาห์ แต่จากการศึกษาที่ต่างๆ พบว่าผู้ป่วยมีไข้นาน 3 สัปดาห์ได้ พบไข้นานถึง 37 วันจากการศึกษาในทหารเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มียาปฏิชีวนะรักษา คนที่เป็นไข้นานมักมีปอดอักเสบหรือสมองอักเสบจากสครับไทฟัส
 
อาการที่สำคัญอื่นๆ เนื่องจากพยาธิกำเนิด(pathogenesis) เป็นหลอดเลือดอักเสบ(vasculitis) เหมือนโรคฉี่หนู(leptospirosis) จึงมีอาการเหมือนกันได้
 
'''แผลผิวหนัง''' ให้ถามผู้ป่วยว่ามีแผลที่ใดหรือไม่ ลักษณะของแผลเหมือนแผลบุหรี่จี้ (eschar ซึ่งเกิดจาก chigger ของ mite กัด) แผลไม่เจ็บแต่ผู้ป่วยมักทราบว่ามีแผลอยู่ แผลมักอยู่ในที่ลับเช่นรักแร้ ขอบกางเกงในตรงขาหนีบ ที่เอว ผู้ป่วยมักมีผื่น erythematous maculopapular rash ซึ่งไม่คันในวันที่ 4-8 ของไข้
 
== Murine typhus ==
'''อายุ''' เป็นได้ทุกวัย
 
'''อาชีพ''' ที่อยู่ใกล้ชิดกับหนู เคยพบผู้ป่วยที่ขายข้าวสาร ที่ร้านมีหนูมาก ให้ถามประวัติหนูตายด้วย เพราะถ้าหนูที่เป็นโรคนี้ตาย พอหนูตัวเย็น หมัดที่อยู่กับหนูจะพล่าน ไปกัดคนและนำเชื้อไปสู้คนได้
 
'''ที่อยู่''' มักเป็นในเมือง หนูอยู่ใกล้ชิดกับคน
 
'''อาการไข้''' เหมือน Scrub typhus
 
อาการที่สำคัญอื่นๆ เหมือน Scrub typhus
 
'''แผลผิวหนัง''' ไม่มีแผล eschar มีผื่น maculopapular rash ได้เหมือนกับ Scrub typhus ซึ่งพบที่ลำตัวมากกว่าแขน
 
== ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย(Bacteremia) ==
'''อายุ''' มักเป็นผู้สูงอายุ เมื่อผู้สูงอายุมีไข้ จะนึกถึง bacteremia/ bacterial infection มากที่สุด เพราะผู้สูงอายุจะมี anatomical/functional defect ของอวัยวะต่างๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต ทำให้มีโอกาสมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะสูงขึ้น
 
'''อาชีพ''' ไม่ช่วยวินิจฉัย
 
'''ที่อยู่''' ไม่ช่วยวินิจฉัย
 
'''อาการไข้''' ผู้ป่วยจะมาหาแพทย์เร็ว มีไข้หนาวสั่นได้ ในผู้ป่วยที่มีไข้และหนาวสั่นก็ต้องนึกถึงมาลาเรียและ bacteremia ไว้เสมอ ในมาลาเรีย อาการไข้หนาวสั่นจะเป็นวันละครั้งหรือ 2 วันครั้ง แต่ใน bacteremia อากรหนาวสั่นเป็นวันละหลายครั้งได้
 
อาการที่สำคัญอื่นๆ ขึ้นอยู่กัยระบบที่มีการติดเชื้อ
 
'''โรคประจำตัว(Underlying disease)''' ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เป็นเบาหวาน มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น melioidosis, bacteremia จาก E. coli หรือ Klebsiella pneumoniae ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบต่างๆทั้งทางกายวิภาค(anatomy) และ สรีระ(physiology) เช่น ต่อมลูกหมากโต หรือ กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติที่เกิดจากระบบประสาท(neurogenic bladder) มีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ(Urinary tract infection,UTI) ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มักมี non-typhoidal salmonella bacteremia
 
'''แผลผิวหนัง''' ถามว่ามีตุ่มหนองหรือกดเจ็บที่ใดบ้าง
 
== โรคฉี่หนู(Leptospirosis) ==
มีประวัติลุยน้ำ หรือสัมผัสฉี่หนู อาการ ระยะ 4-5 วันแรก มักมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่น่อง หลัง และต้นคอ และมีคลื่นไส้ อาเจียน ตาแดงร่วมด้วย
 
'''อายุ''' ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน
 
'''อาชีพ''' ที่ต้องลุยน้ำขัง เช่น ชาวนา ขุดลอกคูคลอง คนที่ต้องย่ำน้ำเพราะน้ำท่วมหรือมีน้ำขัง มีเชื้อจากฉี่หนูลงไปอยู่ในน้ำขัง คนไปเดินลุยน้ำ ทำให้เชื้อเข้าไปทางแผลถลอก
 
'''ที่อยู่''' เป็นได้ทั้งคนในเมืองและในชนบท คนในเมืองมักเป็นในฤดูฝนมีน้ำท่วมหรือน้ำขัง
 
'''การท่องเที่ยว''' การล่องแก่ง เช่น ที่สตูล มีรายงานการเกิด leptospirosis จากการเล่นกีฬาวิบากที่ต้องสัมผัสกับการลุยน้ำ
 
'''อาการไข้''' ทั่วไปเป็นไข้ไม่นานเกิน 2 สัปดาห์ แบ่ง leptospirosis เป็น anicteric และ icteric leptospirosis ใน anicteric leptospirosis อาจจะเป็น biphasic fever ไข้เป็น 2 phase คือ leptospiremic phase และ immune phase โดยมีช่วงที่ไข้ลงระหว่าง phase ทั้งสองนาน 1-2 วัน ส่วน icteric leptospirosis ไม่พบลักษณะของ biphasic fever Weil’s syndrome เป็น leptospirosis ที่รุนแรง ประกอบด้วย เหลือง ไตวาย เลือดออกผิดปกติ ซึมลง และมีอัตราตายสูง
 
อาการที่สำคัญอื่นๆ มีตาแดง ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือปวดน่อง อาการเหลืองเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วันที่ 2 ของไข้ แต่ส่วนใหญ่เกิดปลายสัปดาห์แรก มีปวดหัวอย่างรุนแรงได้ ตั้งแต่เริ่มมีไข้ แต่พบ CSF pleocytosis หลังวันที่ 6 ของไข้ ในรายงานหนึ่งพบว่า 80% ของผู้ป่วย anicteric leptospirosis มี aseptic meningitis ตาแดงเกิดจาก conjunctival suffusion หรืออาจเป็น uveitis ได้
 
'''แผลผิวหนัง''' ไม่มี
 
== อ้างอิง ==
* http://medinfo.psu.ac.th/pr/MedBoard/readboard.php?id=17