ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบหมู่โลหิตอาร์เอช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
'''ระบบหมู่โลหิตอาร์เอช (รีซัส)''' ({{lang-en|Rh (Rhesus) blood group system}}) รวมทั้ง'''อาร์เอชแฟกเตอร์''' เป็นหนึ่งใน 33 หมู่โลหิตของมนุษย์ในปัจจุบัน เป็นระบบหมู่โลหิตที่สำคัญที่สุดรองจาก[[ระบบเอบีโอ]] ปัจจุบัน ระบบหมู่โลหิตอาร์เอชประกอบด้วยแอนติเจนหมู่โลหิตที่มีการนิยามมากกว่า 50 แอนติเจน ที่สำคัญที่สุดมีหกห้าแอนติเจน ได้แก่ C, c, D, d, E และ e เมื่อเอ่ยว่าอาร์เอชบวกหรืออาร์เอชลบนั้นจะหมายถึงเฉพาะแอนติเจน D นอกเหนือไปจากการถ่ายเลือด ระบบหมู่โลหิตอาร์เอช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอนติเจน D ยังใช้กำหนดความเสี่ยงของโรคเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกเกิด (hemolytic disease of the newborn หรือ erythroblastosis fetalis) [[โรคจากหมู่เลือดอาร์เอช|ชนิดที่เกิดจากหมู่โลหิต Rh]] เพราะการป้องกันเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในจัดการกับสภาพนี้ มารดาควรทดสอบเลือดเพื่อหาหมู่โลหิตเป็นการป้องกันก่อนคลอด หากเลือดไม่มีแอนติเจนอาร์เอช จะเรียกว่า อาร์เอชลบ หากมีแอนติเจน เรียกว่า อาร์เอชบวก เมื่อมารดามีหมู่อาร์เอชลบ ส่วนบิดามีหมู่อาร์เอชบวก ทารกในครรภ์สามารถรับอาร์เอชแฟกเตอร์จากบิดาได้ และจะทำให้ทารกในครรภ์มีหมู่อาร์เอชบวก อาจเกิดปัญหาขึ้นหากเกิดกรณีเช่นนี้
 
มารดาที่มีหมู่อาร์เอชลบ อาจสร้างแอนติบอดีต่อทารกในครรภ์ หากเลือดทารกเล็กน้อยผสมกับเลือดมารดา ซึ่งมักเกิดขึ้น ร่างกายมารดาอาจตอบสนองราวกับ[[ภูมิแพ้]]ต่อทารก แอนติบอดีนั้นสามารถผ่าน[[รก]]และทำลายเลือดของทารกในครรภ์ได้