ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Annop Nakabut (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 147:
ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สภาพทางสังคมของไทยตั้งแต่อดีต ได้ผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมจึงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนาด้วย ศิลปกรรมและวรรณกรรมต่างๆ ที่บรรจงสร้างด้วยความประณีตก็เกิดจากแรงศรัทธาทางศาสนาทั้งสิ้น
1. การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนา ในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325-2352) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ใน พ.ศ. 2331 โดยใช้เวลาประชุมกันประมาณ 5 เดือนและพระองค์ทรงประกาศเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ว่า ....ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนาและมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมพระสงฆ์ที่ปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย
ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2352-2367) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชา เหมือนดังที่เคยทำกันในสมัยอยุธยา คือ ทำบุญกันทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน สัตว์ที่เคยถูกฆ่าเป็นอาหารนั้นโปรดให้ปล่อยให้หมดภายใน 3 วัน มิให้มีการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด
ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367-2394) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์ ตลอดจนทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและวัดวาอารามมากมาย ในสมัยนี้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้มีโอกาสเผยแผ่ในประเทศไทยโดยพวกมิชชันนารี ทำให้คนไทยบางส่วนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันในวงการพระพุทธศาสนาของไทยก็มีการเคลื่อนไหวที่จะปฏิรูปข้อวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทยให้สอดคล้องกับคำสอนในพระไตรปิฏก โดยพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และได้เสด็จมาเป็นเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ. 2370-2394) ทรงเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการปฏิรูปครั้งนั้น จนกระทั่งได้ทรงตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า "ธรรมยุตินิกาย"
2. การทำนุบำรุงศิลปกรรม/ขนบธรรมเนียมประเพณี การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงให้ความสนพระทัยมากนั้น ได้แก่ บรรดาตึกรามต่างๆ ที่สร้างขึ้น ล้วนมีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงามทั้งภายในและภายนอก ทั้งโดยปูนและโดยไม้แกะสลัก ตึกที่ทรงให้จัดสร้างขึ้นส่วนมากเป็นวัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (มีการจารึกตำราแพทย์แผนโบราณ ยาแก้โรค ตำราหมอนวด กวีนิพนธ์ ไว้ตามเสาและผนังรายรอบบริเวณวัด เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษา จึงถือว่า เป็นวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทย) เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระที่นั่งต่างๆ เช่น พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่งไพศาลทักษิณ, พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน, พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นต้น