ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมาธิ (ศาสนาพุทธ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thidatip kamalabhiromya (คุย | ส่วนร่วม)
Thidatip kamalabhiromya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
== '''สมาธิ''' คือความตั้งใจมั่น ==
แบ่งเป็น ๒ คือ สมาธิที่เป็น '''''สามัญมนุสสธรรม''''' ได้แก่ ที่เป็นธรรมของคนสามัญ ๑ สมาธิที่เป็น '''''อุตตริมนุสสธรรม''''' ได้แก่ที่เป็นธรรมของบุคคลที่ยิ่งขึ้นไปกว่าสามัญมนุษย์ ๑
 
สมาธิที่เป็นธรรมของคนสามัญนั้น ได้แก่ ความตั้งใจมั่นอย่างเฉียด ๆ หรือชั่วครั้งชั่วคราว อย่างที่คนสามัญมีอยู่หรือที่จำต้องมีใช้ในการเรียนและการงานทั้งปวง เพราะทุกคนจะทำอะไรก็ต้องมีความตั้งใจ
เส้น 25 ⟶ 26:
ลองพิจารณาดูอย่างง่าย ๆ สมมติว่ามีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินอากาศได้ ถ้าทำได้เป็นอาจิณก็มิใช่เป็นของแปลกประหลาด เหมือนอย่างนกและเรือบิน และถ้าผู้นั้นเป็นคนชั่วก็ยิ่งทำให้เป็นที่หวาดกลัวไม่ไว้วางใจ ฉะนั้น ข้อสำคัญในพระพุทธศาสนา จึงอยู่ที่การปฏิบัติขัดเกลากิเลสและความชั่วด้วยวิธีละความชั่ว ประพฤติความดี และทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว การทำสมาธิที่มุ่งหมายก็คือทำใจให้ตั้งมั่นแน่วแน่ เพื่อให้เกิดพลังเรี่ยวแรงในการปฏิบัติขัดเกลาดังกล่าวแล้ว แต่ถ้าเกิดหลงในผลของสมาธิสำคัญตนผิดไปในอุตริธรรมต่าง ๆ นอกทางพระพุทธศาสนาคือ นอกธรรม นอกวินัยของพระบรมศาสดา ก็จะเกิดโทษและความเสื่อมเสียต่าง ๆ
 
== '''สมาธิ''' คือ สมถสมาธิและวิปัสสนาสมาธิ ==
 
'''สมาธิ''' คือ สมถสมาธิและวิปัสสนาสมาธิ
 
'''''สมถสมาธิ''''' คือ สมาธิเพื่อสมถะ อันแปลว่าความสงบ คือ ทำจิตใจให้สงบจากนิวรณ์ทั้งหลาย ให้มีเอกคตาคือมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำหรับในที่นี้หมายถึงการทำสมาธิด้วยกำหนดอารมณ์ของสมถกรรมฐาน เช่น อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตรวมอยู่เป็นเอกคตาคือมีอารมณ์เป็นอันเดียวไม่ฟุ้ง เมื่อรวมอยู่ได้ก็ได้ความสงบใจจากนิวรณ์ทั้งหลาย เอาแค่เพียงความสงบดังนี้เป็นสมถสมาธิ
 
เส้น 42 ⟶ 41:
เพราะฉะนั้น วิปัสสนาสมาธิก็หมายถึงสมาธิที่กำหนดในอารมณ์ของวิปัสสนา หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่ากำหนดอารมณ์เพื่อวิปัสสนา คือเพื่อที่จะได้ปัญญารู้แจ้งเห็นจริง มิใช่เพื่อที่ตั้งจิตสงบอยู่เฉย ๆ เท่านั้น ถ้าเพื่อที่จะตั้งจิตอยู่เฉย ๆ ก็เป็นสมถสมาธิ แต่ว่าเมื่อเพื่อปัญญาก็เป็นวิปัสสนาสมาธิ ก็มีความต่างกันอยู่ดังนี้ อันเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าจะต้องใช้สมาธิ ทั้งในการปฏิบัติสมาธิเพื่อสมาธิและทั้งในการปฏิบัติเพื่อปัญญา ก็จะต้องใช้สมาธิเพื่อปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง ขาดสมาธิไม่ได้
 
== สมาธิที่ปฏิบัติไม่ถูกทาง ==
 
'''สมาธิ''' สมาธิที่ปฏิบัติไม่ถูกทาง แม้จะได้สมาธิจนถึงฌานถึงสมาบัติ ก็เป็นสมาธิที่เป็นทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ไม่ใช่เป็นสมาธิที่เป็นทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ ไม่เป็นสมาธิที่นับเข้าในมรรคมีองค์ ๘ ของพระพุทธเจ้า คือ สัมมาสมาธิที่เป็นข้อที่ ๘ ฉะนั้น สมาธิเมื่อสรุปเข้าแล้วจึงมี ๒ อย่าง
 
''สมาธิที่เป็นทุกขสมุทัย'' เหตุให้เกิดทุกข์ อย่างหนึ่ง
เส้น 67 ⟶ 66:
ญาณคือความหยั่งรู้ผุดขึ้นแก่พระองค์ ดังนี้ ในธรรมที่มิได้ทรงสดับแล้วมาก่อน จึงได้ทรงพอพระทัยว่ารู้ละรู้แล้ว ได้ตรัสรู้ อภิสัมโพธิ คือความตรัสรู้ยิ่งแล้ว ทรงเป็นผู้ที่ตรัสรู้ยิ่งที่เรียกว่าตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว อวิชชาคือความไม่รู้จึงดับไป วิชชาความรู้ผุดขึ้น หรือจะเรียกว่าวิชชาคือความรู้ผุดขึ้น อวิชชาดับไป เหมือนแสงสว่างบังเกิดขึ้นความมืดก็หายไป เพราะฉะนั้น จึงทรงเป็นพุทโธ คือเป็นผู้รู้แล้ว เป็น วิมุตโต คือเป็นผู้พ้นแล้ว พระพุทธเจ้าเมื่อได้ตรัสรู้แล้วก็ทรงอยู่ด้วยวิชชาคือความรู้ และวิมุตติคือความหลุดพ้น แต่ว่าผู้ที่ยังมิได้ตรัสรู้เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า หรือแม้พระองค์เองเมื่อยังไม่ได้ตรัสรู้ ก็ยังมีอวิชชา คือมีความรู้ที่เป็นอวิชชา ไม่รู้จริงในสัจจะทั้ง ๔
 
== '''อนิมิตตสมาธิ''' ==
 
'''อนิมิตตสมาธิ''' สมาธิที่กำหนดนิมิต คือ ปฏิบัติกำหนดกรรมฐานข้อใดข้อหนึ่ง เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ดังที่แสดงแล้วก็รวมเข้าในคำว่า '''''นิมิตตสมาธิ'''''  อีกอย่างหนึ่ง '''''อนิมิตตสมาธิ'''''ที่ไม่มีนิมิตคือกำหนดกรรมฐานข้อใดข้อหนึ่งเป็นอารมณ์ '''''อนิมิตตสมาธิ'''''นี้บางที่เรียกว่า '''''อนิมิตตเจโตสมาธิ''''' ที่แปลว่าสมาธิแห่งใจที่ไม่มีนิมิตคือ เครื่องกำหนดหมาย
 
สำหรับอนิมิตตสมาธินี้ที่แสดงอธิบายไว้ไปในทางวิปัสสนาสมาธิ คือสมาธิประกอบด้วยวิปัสสนา ปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง โดยที่วิปัสสนาสมาธินี้มิได้มีราคะความติดใจยินดี โทสะความโกรธแค้นขัดเคือง โมหะความหลงเป็นนิมิต คือเครื่องกำหนดหมาย เมื่อเป็นดังนี้จึงเรียกว่าอนิมิตตเจโตสมาธิหรืออนิมิตตสมาธิ
เส้น 93 ⟶ 92:
 
{{พุทธ}}
 
 
'''สมาธิ''' แปลตามบาลีว่า ความตั้งใจมั่น สมาธิในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต การทำสมาธิในทางพุทธศาสนาเรียกว่า[[สมถะ]]
== ระดับของสมาธิในพุทธศาสนา ==
เส้น 118 ⟶ 119:
 
สรุปได้ว่า การจะฝึกสมาธินั้น บุคคลจะต้องยึดหลักการฝึกแบบสัมมาสมาธิ กล่าวคือ ฝึกเพื่อการทำให้ใจสงบ ระงับจากกาม ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และไม่ฟุ้งซ่าน จนกระทั่งจิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย ก็จะสามารถทำให้การฝึกและปฏิบัติของบุคคลนั้น ถูกต้อง ตรงต่อพระพุทธธรรมคำสอน จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมาย คือพระนิพพานได้ ทั้งนี้ การที่จะจิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตจะต้องไม่คิดหรือตรึกในสิ่งที่จะทำให้จิตเกิดราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งในพระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตฟุ้งซ่านว่า จะมีลักษณะที่ซัดส่ายไปข้างนอก คือซัดส่ายไปในอารมณ์ คือกามคุณ ทำให้มีความพอใจในกามคุณ 5 อย่าง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งทำให้จิตระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม<ref>สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม 31 หน้า 166</ref>
 
== '''หลักการทำสมาธิเบื้องต้น''' ==
สมาธินี้ได้มีอยู่ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ในสิกขา ๓ ก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา ในมรรคมีองค์ ๘ ก็มีสัมมาสมาธิเป็นข้อสุดท้าย และในหมวดธรรมทั้งหลายก็มีสมาธิรวมอยู่ด้วยข้อหนึ่งเป็นอันมาก ทั้งได้มีพระพุทธภาษิตตรัสสอนไว้ให้ทำสมาธิในพระสูตรต่าง ๆ อีกเป็นอันมาก เช่น ที่ตรัสสอนไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอบรมสมาธิ เพราะว่าผู้ที่มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ตามเป็นจริง ดังนี้ ฉะนั้น สมาธิจึงเป็นธรรมปฏิบัติสำคัญข้อหนึ่งในพระพุทธศาสนา
 
แต่ว่าสมาธินั้น มิใช่เป็นข้อปฏิบัติในทางศาสนาเท่านั้น แต่เป็นข้อที่พึงปฏิบัติในทางทั่ว ๆ ไปด้วย เพราะสมาธิเป็นข้อจำเป็นจะต้องมีในการกระทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการดำเนินชีวิตทั่วไปหรือทางด้านปฏิบัติธรรม มีคนไม่น้อยที่เข้าใจว่าเป็นข้อที่พึงปฏิบัติเฉพาะในด้านศาสนา คือสำหรับผู้ที่ต้องการปฏิบัติธรรมอย่างเป็นภิกษุ สามเณร หรือเป็นผู้ที่เข้าวัดเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ฉะนั้น ก็จะได้กล่าวถึงความหมายของสมาธิทั่วไปก่อน
 
สมาธินั้น ได้แก่ความตั้งใจมั่นอยู่ในเรื่องที่ต้องการให้ใจตั้งไว้เพียงเรื่องเดียว ไม่ให้ใจคิดฟุ้งซ่านออกไปนอกจากเรื่องที่ต้องการจะให้ใจตั้งนั้น ความตั้งใจ ดังนี้เป็นความหมายทั่วไปของสมาธิ และก็จะต้องมีในกิจการที่จะทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรียนศึกษา หรือว่าการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
 
ในการเล่าเรียนศึกษา จะอ่านหนังสือ ก็ต้องมีสมาธิในการอ่าน จะเขียนหนังสือ ก็ต้องมีสมาธิในการเขียน จะฟังคำสอนคำบรรยายของครูอาจารย์ก็ต้องมีสมาธิในการฟัง ดังที่เรียกว่าตั้งใจอ่าน ตั้งใจเขียน ตั้งใจฟัง
 
ในความตั้งใจดังกล่าวนี้ก็จะต้องมีอาการของกายและใจประกอบกัน เช่นว่าในการอ่าน ร่างกายก็ต้องพร้อมที่จะอ่าน เช่นว่าเปิดหนังสือ ตาก็ต้องดูหนังสือ ใจก็ต้องอ่านด้วย ไม่ใช่ตาอ่าน แล้วใจไม่อ่าน ถ้าใจไปคิดถึงเรื่องอื่นเสียแล้ว ตาจับอยู่ที่หนังสือก็จับอยู่ค้าง ๆ เท่านั้น เรียกว่าตาค้าง จะมองไม่เห็นหนังสือ จะไม่รู้เรื่อง ใจจึงต้องอ่านด้วย และเมื่อใจอ่านไปพร้อมกับตาที่อ่าน จึงจะรู้เรื่องที่อ่าน ความรู้เรื่องก็เรียกว่าเป็นปัญญาอย่างหนึ่ง คือ ได้ปัญญาจากการอ่านหนังสือ ถ้าหากว่าตากับใจอ่านหนังสือไปพร้อมกัน ก็จะอ่านได้เร็ว รู้เรื่องเร็ว และจำได้ดี  ใจอ่านนี่แหละคือใจมีสมาธิ คือหมายความว่า ใจตั้งอยู่ที่การอ่าน
 
ในการเขียนหนังสือก็เหมือนกัน มือเขียนใจก็ต้องเขียนด้วย การเขียนหนังสือ จึงจะสำเร็จด้วยดี ถ้าใจไม่เขียน หรือว่าใจคิดไปถึงเรื่องอื่น ฟุ้งซ่านออกไปแล้ว ก็เขียนหนังสือไม่สำเร็จ ไม่เป็นตัว ใจจึงต้องเขียนด้วย คือว่าตั้งใจเขียนไปพร้อมกับมือที่เขียน
 
ในการฟังก็เหมือนกัน หูฟังใจก็ต้องฟังไปพร้อมกับหูด้วย ถ้าใจไม่ฟัง แม้เสียงมากระทบหูก็ไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ใจจึงต้องฟังด้วย ใจจะฟังก็ต้องมีสมาธิในการฟัง คือ ตั้งใจฟัง
 
ดังนี้จะเห็นว่า ในการเรียนหนังสือ ในการอ่าน การเขียน การฟัง จะต้องมีสมาธิ
 
ในการทำการงานทุกอย่างก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการงานที่ทำทางกาย ทางวาจา แม้ใจที่คิดอ่านการงานต่าง ๆ ก็ต้องมีสมาธิอยู่ในการงานที่ทำนั้น เมื่อเป็นดังนี้จึงทำการงานสำเร็จได้
 
ตามนัยนี้จะเห็นว่า สมาธิเป็นสิ่งจำเป็นต้องมีในการทำงานทุกอย่าง นี้เป็นความหมายของสมาธิทั่วไป และเป็นการแสดงว่า จำเป็นต้องมีสมาธิในการเรียน ในการงานที่พึงทำทุกอย่าง
 
ต่อจากนี้จะได้กล่าวถึงสมาธิในการหัด ก็เพราะว่าความตั้งใจให้เป็นสมาธิ ดังกล่าวนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการหัด ประกอบด้วย สมาธิที่มีอยู่ตามธรรมดา เหมือนอย่างที่ทุกคนมีอยู่ยังไม่เพียงพอ ก็เพราะว่ากำลังใจที่ตั้งมั่นที่ยังอ่อนแอ ยังดิ้นรนกวัดแกว่ง กระสับกระส่ายได้ง่าย โยกโคลงได้ง่าย หวั่นไหวไปในอารมณ์ คือเรื่องต่าง ๆ ได้ง่าย และทุกคนจะต้องพบเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้าไปเป็นอารมณ์ คือเรื่องของใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือทางอายตนะทั้ง ๖ อยู่เป็นประจำ เมื่อเป็นดังนี้ จึงได้มีความรักใคร่บ้าง ความชังบ้าง ความหลงบ้าง เมื่อจิตใจมีอารมณ์ที่หวั่นไหว และมีเครื่องทำให้ใจหวั่นไหวเกิดประกอบขึ้นมาอีก อันสืบเนื่องมาจากอารมณ์ดังกล่าว ก็ยากที่จะมีสมาธิในการเรียน ในการทำการงานตามที่ประสงค์ได้
 
ดังจะพึงเห็นได้ว่า ในบางคราวหรือในหลายคราว รวมใจให้มาอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังคำสอน ไม่ค่อยจะได้เพราะว่าใจพลุ่งพล่านอยู่ในเรื่องนั้นบ้าง ในเรื่องนี้บ้าง ที่ชอบบ้าง ที่ชังบ้าง ที่หลงบ้าง จนรวมใจเข้ามาไม่ติด เมื่อเป็นดังนี้ ก็ทำให้ไม่สามารถจะอ่านจะเขียนจะฟัง ทำให้การเรียนไม่ดี
 
ในการงานก็เหมือนกัน เมื่อจิตใจกระสับกระส่ายไปด้วยอำนาจของอารมณ์และภาวะที่เกิดสืบจากอารมณ์ดังจะเรียกว่า '''''กิเลส''''' คือ ความรัก ความชัง ความหลง เป็นต้น ดังกล่าวนั้น ก็ทำให้ไม่สามารถที่จะทำการงานให้ดีได้เช่นเดียวกัน
 
ใจที่ไม่ได้หัดทำสมาธิก็จะเป็นดังนี้ และแม้ว่าจะยังไม่มีอารมณ์อะไรเข้ามารบกวนให้เกิดกระสับกระส่ายดังนั้น ความตั้งใจก็ยังไม่สู้จะแรงนัก ฉะนั้น จึงสู้หัดทำสมาธิไม่ได้
 
ในการหัดทำสมาธินั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ อย่างหนึ่ง หัดทำสมาธิเพื่อแก้อารมณ์และกิเลสของใจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อย่างหนึ่ง ก็เพื่อฝึกใจให้มีพลังของสมาธิมากขึ้น
 
อย่างแรกนั้นก็คือว่า อารมณ์และกิเลสของใจในปัจจุบันนั้น บางคราวก็เป็นอารมณ์รัก เป็นความรักซึ่งจะชักใจให้กระสับกระส่ายเสียสมาธิ เมื่อเป็นดังนี้ ก็ต้องหัดสงบใจจากอารมณ์รักจากความรักชอบนั้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อการศึกษา ต่อการงานที่พึงทำ ตลอดจนถึงต่อกฎหมายต่อศีลธรรม นี่เป็นวิธีหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน คือต้องหัดเอาชนะใจให้สงบจากอารมณ์ดังนั้นให้ได้
 
บางคราวก็เกิดอารมณ์โกรธ ความโกรธอันทำใจให้ร้อนรุ่มกระสับกระส่าย ก็เป็นอันตรายอีกเหมือนกัน เพราะทำให้เสียสมาธิ ฉะนั้น ก็ต้องหัดทำสมาธิ คือหัดสงบใจจากอารมณ์โกรธจากความโกรธ ดังนั้น
 
ในบางคราวก็มีอารมณ์หลง ความหลงซึ่งมีลักษณะเป็นความง่วงงุนเคลิบเคลิ้มบ้าง มีลักษณะเป็นความฟุ้งซ่านรำคาญใจต่าง ๆ บ้าง มีลักษณะเป็นความเคลือบแคลงสงสัยบ้าง เมื่อเป็นดังนี้ ก็ต้องหัดทำสมาธิ หัดสงบใจจากอารมณ์หลง จากความหลงนั้น ๆ
 
คราวนี้ หลักของการสอนสมาธิทางพระพุทธศาสนา วิธีที่จะทำสมาธิ สงบใจจากอารมณ์รัก โกรธ หลง ดังกล่าวก็จะต้องเปลี่ยนอารมณ์ให้แก่ใจ
 
คือว่า เป็นที่ทราบแล้วว่าอารมณ์รักทำให้เกิดความรักชอบ เมื่อเป็นดังนี้ ก็ต้องเปลี่ยนอารมณ์รักนั้นมาเป็นอารมณ์ที่ไม่รักไม่ชอบ
 
ความโกรธก็เหมือนกัน ก็ต้องเปลี่ยนอารมณ์โกรธนั้นมาเป็นอารมณ์ที่ไม่โกรธหรือให้เปลี่ยนมาเป็นอารมณ์รัก แต่ว่าเป็นความรักที่เป็นเมตตา คือเป็นความรักที่บริสุทธิ์ อย่างญาติมิตรหาย รักญาติมิตรสหาย มารดาบิดาบุตรธิดารักกัน
 
ความหลงก็เหมือนกัน ก็ต้องเปลี่ยนอารมณ์หลงมาเป็นอารมณ์ที่ไม่หลง
 
เพราะว่าภาวะของใจจะเป็นอย่างไรนั้น สุดแต่ว่าใจตั้งอยู่ในอารมณ์อะไร
 
เมื่อใจตั้งอยู่ในอารมณ์รัก ความรักชอบก็เกิดขึ้น ถ้าใจไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์รัก แต่ว่าตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ตรงกันข้ามก็เกิดความสงบ
 
ใจโกรธก็เหมือนกัน ก็เพราะตั้งอยู่ในอารมณ์โกรธ เมื่อเปลี่ยนอารมณ์ให้ใจตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ตรงกันข้าม โกรธก็สงบ
 
หลงก็เหมือนกัน เมื่อตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ไม่หลง ความหลงก็สงบ
 
พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสชี้เอาไว้ว่า อารมณ์เช่นไร ควรจะหัดใจให้ตั้งไว้ในเวลาไหน เมื่อเป็นดังนี้แล้ว การที่หัดไว้ก็จะทำให้รู้ลู่ทางที่จะสงบใจของตน อย่างนี้ก็จะทำให้สามารถสงบใจของตนเองได้ ดังนี้เป็นข้อมุ่งหมายของการทำสมาธิอย่างหนึ่งที่จะต้องหัดเอาไว้
 
ประการที่ ๒ หัดทำสมาธิเพื่อให้เกิดพลังใจที่ตั้งมั่นมากขึ้น คือให้มีพลังขึ้นก็เหมือนอย่างการที่ออกกำลังกายเพื่อให้กายมีกำลังเรี่ยวแรง เมื่อหัดออกกำลังอยู่บ่อย ๆ กำลังร่างกายก็จะดีขึ้น จิตใจก็เหมือนกัน เมื่อหัดทำสมาธิอยู่บ่อย ๆ แล้ว โดยที่ปฏิบัติอยู่ในหลักของสมาธิข้อใดข้อหนึ่งเป็นประจำ สำหรับที่จะหัดใจให้มีพลังของสมาธิเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้พลังของสมาธินี้มากขึ้นได้ เช่นเดียวกับการออกกำลังกาย ทำให้พลังทางกายเพิ่มมากขึ้นได้ นี้คือสมาธิในการฝึกหัด
 
คราวนี้ สมาธิในการใช้ก็มี ๒ อย่างเหมือนกัน อย่างหนึ่งก็เพื่อใช้ระงับอารมณ์ ระงับกิเลสที่เป็นปัจจุบันดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่ได้ฝึกหัดทำสมาธิตามสมควรแล้ว จะสามารถระงับใจได้ดี จะไม่ลุอำนาจของอารมณ์ของกิเลสที่เป็นความรัก ความชัง ความหลงทั้งหลาย จะสามารถสงบใจตัวเองได้ รักษาใจให้สวัสดีได้ อารมณ์และกิเลสเหล่านี้จะไม่มาเป็นอันตรายต่อการเรียน ต่อการงาน ต่อกฎหมาย ต่อศีลธรรมอันดีงาม และอีกอย่างหนึ่ง ก็ต้องการเพื่อใช้สำหรับประกอบการงานที่จะพึงทำทั้งหลาย ตั้งต้นด้วยในการเรียน ในการอ่าน ในการเขียน ในการฟัง จะมีพลังสมาธิในการเรียน ในการงานดีขึ้นและเมื่อเป็นดังนี้ จะทำให้เรียนดี จะทำให้การทำการงานดี นี้คือสมาธิในการใช้
 
ตามที่กล่าวมานี้ เป็นการที่แสดงให้เห็นหลักของการทำสมาธิทั่ว ๆ ไป และก็ตั้งต้นแต่ความหมายทั่วไปของสมาธิ การหัดทำสมาธิ และการใช้สมาธิ
 
จะได้ให้วิธีทำสมาธิย่อ ๆ ข้อหนึ่ง ก็คือว่าท่านสอนให้เลือกสถานที่ทำสมาธิที่สงบจากเสียงและจากบุคคลรบกวนทั้งหลาย เช่น ในป่า โคนไม้ เรือนว่าง มุ่งหมายก็คือว่า ที่ที่มีความสงบพอสมควรที่จะพึงได้ และเข้าไปสู่สถานที่นั้น
 
นั่งขัดบัลลังก์หรือที่เรียกว่าขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือชนกัน หรือว่ามือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวตรง หรือว่าจะนั่งพับเพียบก็ได้สุดแต่ความพอใจหรือตามที่จะมีความผาสุก
 
ดำรงสติจำเพาะหน้า คือหมายความว่ารวมสติเข้ามา
 
กำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าก็ให้รู้ หายใจออกก็ให้รู้ หากจะถามว่ารู้ที่ไหน ก็คงจะตอบได้ว่า จุดที่รู้ง่ายนั้นก็คือว่าปลายกระพุ้งจมูกหรือริมฝีปากเบื้องบนอันเป็นที่ลมกระทบ เมื่อหายใจเข้า ลมหายใจเข้าก็จะมากระทบที่จุดนี้ ในขณะเดียวกันท้องก็จะพองขึ้น ลมหายใจออก ออกที่จุดนี้ ในขณะเดียวกันท้องก็จะฟุบลงหรือว่ายุบลงไป เพราะฉะนั้น ก็ทำความรู้ลมหายใจเข้าจากปลายกระพุ้งจมูกเข้าไปถึงนาภีที่พอง หายใจออกก็จากนาภีที่ยุบถึงปลายกระพุ้งจมูกก็ได้ ก็ลองทำความรู้ในการหายใจเข้าหายใจออกดูดังนี้ก่อน หายใจเข้าก็จากปลายกระพุ้งจมูกเข้าไปถึงนาภีที่พอง ออกก็จากนาภีที่ยุบจนถึงปลายจมูก นี่ท่านเรียกว่าเป็นทางเดินของลมในการกำหนดทำสมาธิ
 
คราวนี้ ก็ไม่ต้องดูเข้าไปจนถึงนาภีดังนั้น แต่ว่ากำหนดอยู่เฉพาะที่ปลายจมูกแห่งเดียว หายใจเข้าก็ให้รู้ว่าเราหายใจเข้า หายใจออกก็ให้รู้ว่าเราหายใจออก รวมใจเข้ามาให้รู้ดังนี้ และในการตั้งสติกำหนดนี้ จะใช้นับช่วยด้วยก็ได้ หายใจเข้า ๑ หายใจออก ๑ หายใจเข้า ๒ หายใจออก ๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ แล้วก็กลับ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ แล้วก็กลับ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ แล้วก็กลับ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ แล้วก็กลับ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙ แล้วก็กลับ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙ ๑๐-๑๐ แล้วก็กลับ ๑-๑ ถึง ๕-๕ ใหม่ แล้วก็ ๑-๑ ถึง ๖-๖ ใหม่ ดังนี้หลาย ๆ หน จนจิตรวมเข้ามาได้ดีพอควร ก็ไม่ต้องนับคู่ แต่ว่านับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕, ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ เป็นต้นไป เมื่อจิตรวมเข้ามาดีแล้วก็เลิกนับ ทำความกำหนดรู้อยู่ที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปากเบื้องบนเท่านั้น
 
วิธีนับดังนี้เป็นวิธีนับที่พระอาจารย์ท่านสอนมาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่ว่าจะใช้วิธีอื่นก็ได้ เช่น นับ ๑-๑ จนถึง๑๐-๑๐ ทีเดียว แล้วก็กลับใหม่ หรือว่าจะเลย ๑๐-๑๐ ไปก็ได้เหมือนกัน แต่ว่าที่ท่านสอนไว้แค่ ๑๐-๑๐ นั้น ท่านแสดงว่าถ้ามากเกินไปแล้วจะต้องเพิ่มภาระในการนับมาก จะต้องแบ่งใจไปในเรื่องการนับมากเกินไป ฉะนั้นจึงให้นับอยู่ในวงที่ไม่ต้องใช้ภาระในการนับมากเกินไป
 
อีกอย่างหนึ่ง พระอาจารย์ท่านสอนให้กำหนด หายใจเข้า ''พุท'' หายใจออก ''โธ'' ''พุทโธ พุทโธ'' หรือ ''ธัมโม ธัมโม'' หรือว่า ''สังโฆ สังโฆ'' ก็ได้ เมื่อใจสงบดีแล้วก็เลิกกำหนดอย่างนั้น ทำความรู้เข้ามาให้กำหนดอยู่แต่ลมที่มากระทบเท่านั้น ให้ทำดังนี้จนจิตรวมเข้ามาให้แน่วแน่ได้นาน ๆ นี่เป็นแบบฝึกหัดขั้นต้นที่ให้ในวันนี้ ท่านที่สนใจก็ขอให้นำไปปฏิบัติต่อไป
 
== อ้างอิง ==