ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลากะมงพร้าว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Printspike (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{Taxobox
| name =
| image =Giant TrevallyCaranx at Guam's Gab Gab II reefignobilis.jpg
| image_width = 240px
|image_caption = ปลากะมงพร้าวขนาดโตเต็มวัยที่[[เกาะกวม]]
| regnum = [[Animal]]ia
| phylum = [[Chordata]]
บรรทัด 33:
มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 170 [[เซนติเมตร]] [[น้ำหนัก]] 80 [[กิโลกรัม]]<ref>[http://www.siamensis.org/taxonomy/term/2307/0 กระมงยักษ์]</ref>
 
ปลาขนาดเล็กจะอยู่รวมเป็นฝูง อาจรวมฝูงปะปนกับปลากะมงชนิดอื่น เช่น [[ปลากะมงตาโต]] (''C. sexfasciatus'') หรือมักว่ายคู่กับปลาขนาดใหญ่ เช่น [[ปลาฉลามวาฬ]] หรือ [[ปลากระเบนแมนตา]] เมื่อโตขึ้นจะแยกตัวอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ แค่ 2 หรือ 3 ตัว เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยไล่ล่า[[ปลา]]ขนาดเล็กต่าง ๆ เช่น [[ปลากล้วยกะตัก]] รวมทั้ง [[ปลาหมึกหมึก (สัตว์)|หมึก]], [[กุ้ง]] และ[[ปู]] รวมถึงปลากะมงด้วยกันเป็นอาหาร บ่อยครั้งที่พบเห็นออกล่าเหยื่อแถบน้ำตื้นด้านข้างของเกาะหรือใกล้หาดทราย และยังมีรายงานว่าที่เกาะห่างไกลแห่งหนึ่งในหมู่เกาะ[[เซเชลส์]]เคยไล่โฉบนกทะเลที่บริเวณผิวน้ำอีกด้วย<ref name=ป/>
 
ในปลาขนาดเล็กอาจพบได้ในแหล่ง[[น้ำกร่อย]]หรือ[[น้ำจืด]] เช่น [[ท่าเรือ]], [[ชายฝั่ง]] และ[[ปากแม่น้ำ]] ปลาขนาดใหญ่อยู่นอก[[แนวปะการัง]]หรือกองหินใต้น้ำ ใน[[ทะเลเปิด]] ที่แอฟริกาตะวันออก ปลากะมงพร้าวขนาดโตเต็มวัยจะว่ายเป็นฝูงเข้ามาในแม่น้ำที่เป็นน้ำจืด อย่างช้า ๆ และว่ายเป็นวงกลมรอบ ๆ ไปมา โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุถึงพฤติกรรมเช่นนี้<ref name="ปลา">{{cite web|url=http://www.bugaboo.tv/watch/156847/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5_bbc_%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2_%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_7_%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B_2_2.html|title=สารคดี BBC : ท่องแดนแอฟริกา ตอนที่ 7 คลิป 2/2|accessdate=2014-12-10}}</ref>
 
เป็นปลาที่แพร่กระจายไปใน[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] และ[[มหาสมุทรอินเดีย]] ตั้งแต่[[ฮาวาย]], [[ญี่ปุ่น]], ชายฝั่ง[[แอฟริกาตะวันออก]] จนถึง[[ออสเตรเลีย]] ใน[[น่านน้ำไทย]]สามารถพบได้ทั้ง 2 ฟากฝั่งทะเล จัดเป็นปลาที่พบได้บ่อย
 
เป็นปลาขนาดใหญ่ที่นิยม[[ตกปลา|ตก]]กันเป็นเกมกีฬา โดยถือเป็นปลาเกมที่เป็นปลาทะเล 1 ใน 3 ชนิดที่นิยมตกกัน<ref name="หน้า"/> โดยเฉพาะที่[[คิริบาส]]หรือหมู่เกาะเซเชลส์ มีชาวตะวันตกที่ชื่นชอบการตกปลายินดีที่จ่ายเงินคนละสามแสนบาท เพื่อที่ล่องเรือไปในทะเลเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ เข้าพักในรีสอร์ตที่สามารถพักได้เพียง 20 คน เพียงเพื่อที่จะตกปลาชนิดนี้ โดยเมื่อตกได้ จะไม่ทำอันตรายใด ๆ ต่อปลา จะเพียงแค่ถ่ายรูปหรือบันทึกสถิติ จากนั้นจึงจะปล่อยลงทะเลไป<ref name=ป> หน้า ๐๙๔-๐๙๕, ''ปลากะมงพร้าว ในฝูงปลากะมงตาโต''. "ท่องโลกใต้ทะเล" โดย นัท สุมนเตมีย์. อนุสาร อ.ส.ท.ปีที่ ๖๐ ฉบับที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓</ref> นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงกันใน[[พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ]]ต่าง ๆ ทั่วโลก<ref>หน้า 130, ''London Sea Life Aquarium'' คอลัมน์ Blue Planet โดย ปิยวุฒิ เดชวิทยานุรักษ์. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 24: มิถุนายน 2012</ref> <ref>หน้า 123, ''คู่มือปลาทะเล'' โดย ดร.[[ชวลิต วิทยานนท์]] (ตุลาคม, 2551) ISBN 978-974-484-261-9</ref> ซึ่งปลากะมงพร้าวมีพฤติกรรมพุ่งเข้าชาร์จอาหารด้วยความรุนแรง ทำให้หลายครั้งสร้างความบาดเจ็บแก่ผู้ให้อาหารแบบที่สวมชุดประดาน้ำลงไปให้ถึงในที่เลี้ยง
 
อีกทั้ง ยังมีผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาสวยงามประเภทปลาใหญ่ หรือปลากินเนื้อ เลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย เช่นเดียวกับปลากะมงตาโต โดยจะนำมาเลี้ยงในน้ำจืดตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ทั้งนี้มีรายงานระบุอย่างไม่เป็นทางการว่า ในหลายพื้นที่ได้พบปลากะมงพร้าวขนาดกลางหรือค่อนไปทางใหญ่ในแหล่งน้ำจืด เช่น ในเหมืองร้างแห่งหนึ่ง ใน[[อำเภอตะกั่วป่า]] [[จังหวัดพังงา]] และที่[[จังหวัดชุมพร]] สันนิษฐานว่าคงเป็นปลาที่ผลัดหลงมาจาก[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547|เหตุการณ์สึนามิเมื่อปลายในปี ค.ศ. 2004]] ซึ่งปลามีน้ำหนักประมาณ 2-10 กิโลกรัม นอกจากนี้แล้วที่ประเทศอินโดนีเซีย ยังมีผู้เลี้ยงปลากะมงพร้าวในน้ำจืดได้ในบ่อปลาคาร์ป จนมีขนาดใหญ่ราว 60 เซนติเมตรได้ โดยเลี้ยงมาตั้งแต่ตัวประมาณ 5 เซนติเมตร ซึ่งการจะเลี้ยงปลาให้เติบโตและแข็งแรงจนโตได้ ต้องเลี้ยงในสถานที่ ๆ มีความกว้างขวางพอสมควร และต้องผสมเกลือลงไปในน้ำในปริมาณที่มากพอควร แม้จะมีปริมาณความเค็มไม่เท่ากับ[[น้ำทะเล]]ก็ตาม<ref name="หน้า">หน้า 123-128, ''Amphidromous story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ'' คอลัมน์ Wild Ambition โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 3 ฉบับที่ 35: พฤษภาคม 2013</ref>
 
== อ้างอิง ==