ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศกรันโกลอมเบีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 76:
|demonym=|area_km2=|area_rank=|GDP_PPP=|GDP_PPP_year=|HDI=|HDI_year=}}
 
'''กรันโกลอมเบีย''' ({{lang-es|Gran Colombia}}; {{literal translation|โคลอมเบียใหญ่}}) เป็นชื่อที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกรัฐ (ซึ่งในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า '''โคลอมเบีย''') ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของ[[อเมริกาใต้]]และตอนใต้ของ[[อเมริกากลาง]]ระหว่าง ค.ศ. 1819–1831 รัฐนี้รวมดินแดนของ[[โคลอมเบีย]] [[เอกวาดอร์]] [[ปานามา]] และ[[เวเนซุเอลา]]ในปัจจุบัน และบางส่วนของภาคเหนือของ[[เปรู]]และภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ[[บราซิล]] ชื่อ ''กรันโกลอมเบีย'' ใช้ในเชิงประวัติศาสตร์เพื่อแยกความแตกต่างจาก ''สาธารณรัฐโคลอมเบีย'' ในปัจจุบัน<ref>{{cite web|url= http://www.bicentenarioindependencia.gov.co/Es/Contexto/Especiales/Paginas/NombredeColombia.aspx|title= Los nombres de Colombia |access-date=August 12, 2016|website= Alta Consejería Presidencial para el Bicentenario de la Independencia de Colombia}}</ref> ซึ่งยังเป็นชื่อทางการของรัฐในอดีตด้วย
'''แกรนโคลอมเบีย''' ({{Lang-es|Gran Colombia}} {{IPA-es|ˈɡɾaŋ koˈlombja}}) เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ[[ทวีปอเมริกาใต้]] และ พื้นที่ทางใต้ของ[[ทวีปอเมริกากลาง]] ตั้งแต่ [[ค.ศ. 1819]] ถึง [[ค.ศ. 1831]]. ปัจจุบันดินแดนเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ[[เอกวาดอร์]], [[โคลอมเบีย]], [[เวเนซุเอลา]], [[ปานามา]], ดินแดนทางเหนือของ[[เปรู]], ดินแดนทางตะวันตกของ[[กายอานา]] และ ดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือของ[[บราซิล]]
 
ในช่วงเวลาของการก่อตั้ง กรันโกลอมเบียเป็นประเทศที่ทรงเกียรติภูมิสูงสุดใน[[ฮิสแปนิกอเมริกา]] [[จอห์น ควินซี แอดัมส์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (ต่อมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ) กล่าวอ้างว่ากรันโกลอมเบียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก<ref name="Kaplan 2014 pages=401–402">{{harvnb|Kaplan|2014|pages=401–402}}.</ref> เกียรติภูมินี้ (ซึ่งสมทบเข้ากับความสำเร็จส่วนตัวของ[[ซิมอน โบลิบาร์]]) ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชใน[[คิวบา]] [[สาธารณรัฐโดมินิกัน]] และ[[ปวยร์โตรีโก]]ที่ปรารถนาจะสร้างรัฐสมทบกับสาธารณรัฐนี้<ref name="Integración">{{cite journal|url=http://www.scielo.org.mx/scielo.php?pid=S0186-03482015000300004&script=sci_arttext |title=El intento de integración de Santo Domingo a la Gran Colombia (1821-1822)|access-date=March 1, 2016|publisher= Revista Secuencia |author= Germán A. de la Reza|journal=Secuencia|year= 2014|issue=93|pages=65–82}}</ref>
 
แต่[[การรับรองทางการทูต|การรับรอง]]ความชอบธรรมของรัฐกรันโกลอมเบียในระดับนานาชาติสวนทางกับจุดยืนของ[[ยุโรป]]ที่คัดค้านเอกราชของรัฐใน[[ทวีปอเมริกา]] ออสเตรีย ฝรั่งเศส และรัสเซียจะรับรองเอกราชของรัฐในทวีปอเมริกาก็ต่อเมื่อรัฐใหม่เหล่านั้นยอมรับพระมหากษัตริย์จากราชวงศ์ยุโรปเท่านั้น นอกจากนี้ กรันโกลอมเบียและมหาอำนาจระหว่างประเทศยังไม่ลงรอยกันในเรื่องการขยายดินแดนและพรมแดนของกรันโกลอมเบีย<ref>{{cite web|url=http://www.bibliotecanacional.gov.co/content/la-b%C3%BAsqueda-del-reconocimiento-internacional-de-la-gran-colombia|title=La búsqueda del reconocimiento internacional de la Gran Colombia|access-date=August 12, 2016|website=[[Biblioteca Nacional de Colombia]]|archive-url=https://web.archive.org/web/20161011095118/http://www.bibliotecanacional.gov.co/content/la-b%C3%BAsqueda-del-reconocimiento-internacional-de-la-gran-colombia|archive-date=October 11, 2016|url-status=dead|df=mdy-all}}</ref>
 
กรันโกลอมเบียได้รับการประกาศจัดตั้งผ่านกฎหมายพื้นฐานแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบียซึ่งตราขึ้นระหว่าง[[การประชุมใหญ่แห่งอังโกสตูรา]] (ค.ศ. 1819) แต่ยังไม่มีผลบังคับจนกระทั่ง[[การประชุมใหญ่แห่งกูกูตา]] (ค.ศ. 1821) ได้ประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งกูกูตา]]
 
กรันโกลอมเบียได้รับการจัดตั้งเป็น[[รัฐเดี่ยว]]แบบ[[ระบบศูนย์รวมอำนาจปกครอง|รวมศูนย์อำนาจปกครอง]]<ref name="Integración"/> ตลอดการดำรงอยู่ของสาธารณรัฐมีร่องรอยความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนรัฐบาลแบบรวมศูนย์ที่มี[[ระบบประธานาธิบดี]]เข้มแข็งกับผู้สนับสนุนรัฐบาลแบบ[[ระบอบสหพันธรัฐ|สหพันธรัฐ]]ที่มีการกระจายอำนาจ ในขณะเดียวกันยังเกิดความแตกแยกทางการเมืองระหว่างผู้สนับสนุนรัฐธรรมนูญแห่งกูกูตา กับอีกสองกลุ่มที่พยายามให้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเพื่อสนับสนุนการแตกกรันโกลอมเบียออกเป็นสาธารณรัฐที่เล็กกว่า หรือเพื่อสนับสนุนการคงสหภาพไว้แต่ให้มีระบบประธานาธิบดีที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ฝ่ายที่สนับสนุนการปกครองตามรัฐธรรมนูญมีรองประธานาธิบดี[[ฟรันซิสโก เด เปาลา ซันตันเดร์]] เป็นผู้นำ ในขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุนการสร้างระบบประธานาธิบดีที่เข้มแข็งมีประธานาธิบดีซิมอน โบลิบาร์ เป็นผู้นำ ทั้งสองเคยเป็นพันธมิตรกันในสงครามต่อต้านการปกครองของสเปน แต่เมื่อถึง ค.ศ. 1825 ความเห็นต่างของพวกเขาได้กลายเป็นเรื่องสาธารณะและเป็นส่วนสำคัญของความไม่มั่นคงทางการเมืองนับจากปีนั้นเป็นต้นมา
 
กรันโกลอมเบียถูกยุบเลิกใน ค.ศ. 1831 เนื่องจากความแตกต่างทางการเมืองที่เกิดขึ้นระหว่างผู้สนับสนุนระบอบสหพันธรัฐกับผู้สนับสนุนระบบศูนย์รวมอำนาจปกครอง เช่นเดียวกับความตึงเครียดในระดับภูมิภาคในหมู่ประชาชาติที่รวมกันเป็นสาธารณรัฐ กรันโกลอมเบียแตกออกเป็นรัฐผู้สืบสิทธิ์โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลา ส่วนปานามาแยกตัวจากโคลอมเบียใน ค.ศ. 1903 เนื่องจากกรันโกลอมเบียมีอาณาเขตส่วนใหญ่สอดคล้องกับเขตอำนาจดั้งเดิมของอดีต[[เขตอุปราชแห่งนิวกรานาดา]] กรันโกลอมเบียจึงอ้างกรรมสิทธิ์เหนือ[[ชายฝั่งโมสกิโต]]ซึ่งเป็นชายฝั่ง[[แคริบเบียน]]ของ[[นิการากัว]]
 
== ดูเพิ่ม ==
เส้น 95 ⟶ 105:
{{coord|4|39|N|74|03|W|type:country_source:kolossus-ptwiki|display=title}}
 
[[หมวดหมู่:แกรนโคลอมเบียประเทศกรันโกลอมเบีย| ]]
[[หมวดหมู่:ขบวนการชาตินิยมอเมริกา]]
[[หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปอเมริกากลาง]]