ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพนัญเชิงวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
เพิ่มเติมเนื้อหาวัดพนัญเชิงวรวิหาร ให้สมบูรณ์
บรรทัด 39:
'''วัดพนัญเชิงวรวิหาร''' ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลคลองสวนพลู [[อำเภอพระนครศรีอยุธยา]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] เป็น[[พระอารามหลวง]]ชั้นโท ชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย<ref>http://www.ayutthaya.org/attractions/ayutthaya_city08.html</ref> มีจุดเด่นสำคัญ คือ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อซำปอกง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน[[พระนครศรีอยุธยา]]
 
== '''ประวัติ''' ==
'''วัดพนัญเชิง''' เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน ก่อสร้างก่อนการสถาปนา[[กรุงศรีอยุธยา]] และไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่า [[พระเจ้าสายน้ำผึ้ง]]เป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า '''วัดเจ้าพระนางเชิง''' {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} และ[[พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์]]กล่าวไว้ว่า ได้สถาปนาพระพุทธรูปพุทธเจ้าพแนงเชิง เมื่อปี [[พ.ศ. 1867]] ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนา[[กรุงศรีอยุธยา]]ถึง 26 ปี <ref>{{cite book | last = | first =| authorlink = | title = [[พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์]] | publisher = สำนักงานพิมพ์คลังวิทยา| series = | year = พ.ศ. 2510| doi = | isbn = }}</ref>
 
พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อซำปอกง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ และใหญ่ที่สุดใน[[พระนครศรีอยุธยา]] หน้าตักกว้าง 20 เมตรเศษ สูง 19 เมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น[[ปางมารวิชัย]] เคยได้รับความเสียหายในสมัยเสียกรุง แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ [[พ.ศ. 2394]] ได้โปรดเกล้าให้บูรณะใหม่หมดทั้งองค์ และพระราชทานนามใหม่ว่า [[พระพุทธไตรรัตนนายก]] หรือที่รู้จักกันในหมู่[[พุทธศาสนิกชน]]ชาวไทยเชื้อสาย[[จีน]]ว่า ''[[หลวงพ่อซำปอกง]]''{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
คำว่า พแนงเชิง มีความหมายว่า นั่งขัดสมาธิ ฉะนั้น คำว่า วัดพนัญเชิง (วัดพระแนงเชิง หรือ วัดพระเจ้าพแนงเชิง) จึงหมายถึงวัดแห่งพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยคือ หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก นั้นเอง หรืออาจสืบเนื่องมาจากตำนานเรื่องพระนางสร้อยดอกหมาก คือ เมื่อพระนางสร้อยดอกหมากกลั้นใจตายนั้น พระนางคงนั่งขัดสมาธิ เพราะชาวจีนนิยมนั่งขัดสมาธิมากว่านั่งพับเพียบจึงนำมาใช้เรียกชื่อวัด บางคนก็เรียกว่า วัดพระนางเอาเชิง ตามสาเหตุที่ทำให้พระนางถึงแก่ชีวิต ฉะนั้น ถ้าเรียกนามวัดตามความหมายของคำว่า วัดพนัญเชิง ก็ย่อมหมายความถึงวัดที่มีพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ คือหลวงพ่อโต (อ้างอิงจากประวัติวัดพนัญเชิงข้อมูลของทางวัดในปัจจุบัน)
 
== '''จุดน่าสนใจ''' ==
 
=== '''หลวงพ่อโต''' ===
หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายกพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองตอนปลาย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔.๒๐ เมตร สูง ๑๙.๒๐ เมตร วัสดุ ปูนปั้นลงรักปิดทองหลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก หรือพระโตของชาวอยุธยาองค์นี้ ถือกันว่าเป็นพระโบราณคู่บ้านคู่เมืองกรุงศรีอยุธยามาแต่แรกสร้างกรุง พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๖๘ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนากรุงศรีอยุธยา ๒๖ ปีและเมื่อกรุงศรีอยุธยาใกล้จะแตกปรากฏในคำให้การขาวกรุงเก่าว่าพระปฏิมากรใหญ่ที่วัดพนัญเชิงมีน้ำพระเนตรไหลเป็นที่อัศจรรย์ หลวงพ่อโตเป็นพระองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพนับถือในหมู่ชาวจีนมากโดยเรียกกันว่า“ซำปอกง” นอกจากชาวไทยแล้วยังมีผู้มีเชื้อสายจีนหลั่งไหลกันมากราบไหว้บูชาจำนวนมากและเป็นประจำทุกปี
 
=== พระพุทธรูปทองคำในพระอุโบสถ ===
[[ไฟล์:วัดพนัญเชิงวรวิหาร 8.JPG|thumb|300x300px|พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของวัดพนัญเชิง]]
[[ไฟล์:พระพุทธรูปทอง นาก ปูน.jpg|thumb|300x300px|พระพุทธรูปทองคำ ปูน และนาก อยู่ภายในพระอุโบสถ ]]
ในพระอุโบสถวัดพนัญเชิงนั้นมีพระพุทธรูปสำคัญ 3 องค์ คือพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปปูน และพระพุทธรูปนาค พระพุทธรูปทองเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยทำจาทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 4 ศอก มีสีทองอร่ามใสเป็นเงาสะท้อนอย่างชัดเจน องค์กลางเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยอยุธยาหน้าตักกว้าง 4 ศอก สูง 5 ศอก ส่วนพระพุทธรูปนาคเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยนั้นจะมีสีออกแดงๆหน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 5 ศอก กล่าวกันว่าพระพุทธรูปทองและนาคนี้เพิ่งถูกพบว่าเป็นพระทองและพระนาค ด้วยบังเอิญ เนื่องจากแต่เดิมทีพระทั้งสององค์ถูกฉาบ เคลือบด้วยปูน จนมีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปปูนปั้นทั่วไป สาเหตุคงเพราะว่าช่วงเวลาก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะถูกข้าศึกบุกตีพระนคร คนในสมัยนั้นเกรงว่าพระพุทธรูปทองและพระพุทธรูปนาคนี้จะถูกขโมยหรือเผาเอาทองไปจึงได้ฉาบปูนเคลือบและปั้นปูนในขณะที่ปูนยังไม่แห้งเพื่อทำเป็นลายจีวรและลักษณะต่างๆเช่น ปั้นรูปพระพักตร์ พระเกศา เพื่อให้เข้าใจว่าไม่ใช่พระทองคำและพระนาค จนกระทั่งในภายหลังมีผู้ไปค้นพบว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำเนื่องจากเศษปูนได้กะเทาะออกมาและเนื้อภายในเป็นทอง จึงได้ค่อยๆกะเทาะปูนออกให้หมด จึงได้เห็นว่าเป็นพระทองคำทั้งองค์และนำมาประดิษฐานอยู่ภายพระอุโบสถของวัด
 
=== '''เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก''' ===
[[ไฟล์:เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก.jpg|thumb|302x302px|รูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก อยู่ในศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก]]
นอกจากหลวงพ่อโตหรือเจ้าพ่อซำปอกง แห่งวัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ผู้คนมาสักการะกันอย่างหนาตาทุกวันแล้ว ใกล้กันนั้นยังมี “ศาลพระนางสร้อยดอกหมาก” หรือ “ศาลเจ้าแม่แอเนี้ย” อันเป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรมในยุคก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา ที่มีผู้คนที่ต้องการขอพรแห่งความรักมาสักการะไม่น้อยเช่นกัน
 
ตามตำนานพระราชพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระนางสร้อยดอกหมากไว้ว่า พระเจ้ากรุงจีนทรงมีบุตรบุญธรรมจากจั่นหมากชื่อว่า สร้อยดอกหมาก ครั้นนางจำเริญวัยเป็นสาวแรกรุ่นที่มาพร้อมรูปลักษณ์อันงดงาม โหรหลวงได้ทำนายว่าจะได้กษัตริย์กรุงอโยธยาเป็นพระสวามี พระเจ้ากรุงจีนจึงทรงมีพระราชสาสน์มาถวายพระเจ้าสายน้ำผึ้ง พระเจ้าสายน้ำผึ้งหลังจากรับราชสาสน์จึงเสด็จไปกรุงจีนด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัยด้วยพระบารมีพระราชกุศลที่สั่งสมมาแต่ปางหลังนำพาให้พระองค์ฝ่าภยันตรายไปถึงกรุงจีนด้วยความปลอดภัย พระเจ้ากรุงจีนทรงโสมนัสเป็นยิ่งนัก จึงมีรับสั่งให้จัดกระบวนแห่ออกไปรับพระเจ้าสายน้ำผึ้งเข้ามาภายในพระราชวัง พร้อมทั้งให้ราชาภิเษกพระนางสร้อยดอกหมากขึ้นเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสายน้ำผึ้งเวลากาลผ่านไป พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงกราบถวายบังคมลาพระเจ้ากรุงจีนกลับพระนคร พระเจ้ากรุงจีนจึงพระราชทานเรือสำเภา 5 ลำ กับชาวจีนที่มีฝีมือในการช่างสาขาต่างๆ จำนวน 500 คน ให้เดินทางกลับสู่กรุงอโยธยาด้วย เมื่อเดินทางถึงปากน้ำแม่เบี้ย ใกล้แหลมบางกะจะ (บริเวณหน้าวัดพนัญเชิงในปัจจุบัน) พระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จเข้าพระนครก่อน เพื่อจัดเตรียมตำหนักซ้ายขวามาต้อนรับพระนางสร้อยดอกหมาก ครั้นรุ่งเช้าก็จัดขบวนต้อนรับโดยให้เสนาอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่มาอัญเชิญพระนางสร้อยดอกหมากเข้าเมือง โดยพระองค์ไม่ได้เสด็จไปด้วย พระนางสร้อยดอกหมากไม่เห็นพระเจ้าสายน้ำผึ้งมารับก็เกิดความน้อยพระทัย จึงไม่ยอมเสด็จขึ้นจากเรือ พร้อมกล่าวว่า “มาด้วยพระองค์โดยยาก เมื่อมาถึงพระราชวังแล้วเป็นไฉนพระองค์จึงไม่มารับ ถ้าพระองค์ไม่เสด็จมารับ ก็จะไม่ไป” เสนาบดีนำความขึ้นกราบทูล พระเจ้าสายน้ำผึ้งคิดว่านางหยอกเล่น จึงกล่าวสัพยอกว่า “เมื่อมาถึงแล้ว จะอยู่ที่นั่นก็ตามใจเถิด” ครั้นรุ่งขึ้น พระเจ้าสายน้ำผึ้งก็เสด็จมารับด้วยพระองค์เอง เมื่อเสด็จขึ้นไปบนเรือสำเภา พระนางสร้อยดอกหมากจึงตัดพ้อต่อว่ามากมาย พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงทรงสัพยอกอีกว่า “เมื่อไม่อยากขึ้นก็จงอยู่ที่นี่เถิด” ฝ่ายพระนางสร้อยดอกหมากได้ฟังดังนั้น เข้าพระทัยผิดคิดว่าตรัสเช่นนั้นจริงๆ ก็เสียพระทัยยิ่งนัก จึงกลั้นพระหฤทัยจนถึงแก่ทิวงคต ณ บนสำเภาเรือพระที่นั่ง ที่ท่าปากน้ำแม่เบี้ยนั่นเอง ยังความโศกสลดพระทัยแก่พระเจ้าสายน้ำผึ้งยิ่งนัก จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพมาพระราชทานเพลิงที่แหลมบางกะจะ และสถาปนาบริเวณนั้นเป็นพระอารามนามว่า “วัดพระเจ้าพระนางเชิง” หรือ “พแนงเชิง” ซึ่งแปลว่า “พระนางผู้มีแง่งอน” พร้อมทั้งสร้างศาลขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักนั่นก็คือ ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมากนั่นเอง และศาลแห่งนี้ยังถือเป็นเครื่องยืนยันความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างไทย-จีนมาช้านานตั้งแต่สมัยก่อนอยุธยา จนปัจจุบัน ยังมีการจัดงานสืบสานประเพณีจีน เช่น งานเทกระจาด งานล้างป่าช้าจีน เป็นต้น
 
ศาลพระนางสร้อยดอกหมากนั้นเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมและศิลปะแบบจีน ป้ายหน้าศาลมีทั้งอักษรไทยและจีน เขียนว่า เปยเหนียง หากแปลแยกจะได้ความว่า หญิงสาวผู้โศกเศร้า แต่หากแปลรวมจะหมายถึง พระแม่ผู้เปี่ยมเมตตา ตัวศาลเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตกแต่งลวดลายปูนปั้นสวยงาม ชั้นล่างเป็นเจ้าที่ ส่วนชั้น 2 ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งนับถือกันว่าเป็นตัวแทนรูปเคารพของพระนางสร้อยดอกหมาก อีกทั้งยังเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมากที่แต่งองค์แบบจีน ชาวจีนให้ความเคารพนับถือมาก แทบทุกคนเมื่อมาปิดทองหลวงพ่อโตในพระวิหารแล้ว จะต้องแวะมาสักการะองค์เจ้าแม่สร้อยดอกหมากด้วย ที่สำคัญศาลแห่งนี้ยังเก็บสมอเรือเก่าแก่ไว้อันหนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นสมอเรือของพระนางสร้อยดอกหมากนั่นเองความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก มีผู้กล่าวขานมาเนิ่นนาน ว่ากันว่าท่านเป็นผู้ถือพระองค์ และมีรักเดียวใจเดียวต่อพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ไม่โปรดให้ผู้ชายเข้าไปแตะต้องพระรูปของท่านไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อหลายสิบปีก่อนเคยมีผู้ชายเข้าไปทำความสะอาดพระรูปเจ้าแม่ ปรากฏว่า เมื่อชายผู้นั้นกลับไปบ้านก็เกิดเจ็บอย่างกะทันหันและถึงแก่ความตายไปโดยไม่รู้สาเหตุ และหากย้อนหลังไปอีก เหตุการณ์เช่นกรณีนี้ก็เคยมีผู้ชายเข้าไปทำความสะอาดพระรูปเจ้าแม่แล้วถึงแก่ความตายถึง 2 คน และเป็นความตายโดยฉับพลันทั้งสิ้น จึงเป็นที่รู้กันว่า เจ้าแม่ไม่ยินดีและไม่ยอมให้ชายคนใดถูกพระวรกายของท่าน แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ เวลามีงานงิ้วเดือน 9 ของวัดพนัญเชิง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก จะมีการทำพิธีบูชาเจ้าแม่ การแห่เจ้าแม่ออกนอกศาลก็เพียงแต่ใช้วิธีอัญเชิญเอาเฉพาะกระถางธูปออกไปเท่านั้น ในงานนี้จะมีบรรดาคนทรงเจ้าแม่สร้อยดอกหมากมาจากทั่วทุกสารทิศ เล่ากันว่าเมื่อประทับทรงเจ้าแม่สร้อยดอกหมากนั้น ร่างทรงซึ่งปกติจะพูดภาษาจีนไม่ได้เลย ก็กลับกลายเป็นพูดจีนได้อย่างน่าอัศจรรย์ สมัยก่อนเจ้าหน้าที่ประจำศาลเจ้าแม่เป็นคนจีน ฟังภาษาจีนและพูดภาษาจีนได้เล่าว่า เจ้าแม่สร้อยดอกหมากเคยถามหาทรัพย์สมบัติโบราณที่พระองค์นำมาจากเมืองจีนและเคยเก็บรักษาไว้ที่นี่ ตอนนี้เอาไปเก็บเสียที่ไหนแล้ว และที่สำคัญเจ้าหน้าที่ที่ดูแลศาลเคยเห็นเจ้าแม่มาแล้ว ท่านจะแต่งชุดจีนสีขาว พระพักตร์สวยมาก
[[ไฟล์:DJI WPC.jpg|thumb|305x305px|ภาพมุมสูงวัดพนัญเชิงวรวิหารในปัจจุบัน]]
ปัจจุบันความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ก็ยังคงมีอยู่ ใครมาบนบานขออะไรท่านไม่ว่าจะขอลูก ขอความสำเร็จหรือขอให้มีความรักก็มักจะได้ตามนั้น จนมีผู้นำของมาแก้บนเต็มไปหมด โดยส่วนมากจะบนด้วยสร้อยไข่มุก เครื่องสำอาง สิงโตเชิด และเครื่องสังเวย
 
ตำนานรักเรื่อง “เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก” ยังเป็นตำนานแห่งการสร้างวัดพนัญเชิงวรวิหาร ซึ่งทำให้ต่างมีความเชื่อกันว่า เจ้าแม่สร้อยดอกหมากสามารถดลบันดาลให้ผู้ที่กราบไหว้ได้สมปรารถนาดังที่ขอไว้ได้ทุกเรื่องทุกประการ
 
== อ้างอิง ==