ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bebiezaza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 58:
กรมการบินพาณิชย์ ([[กรมท่าอากาศยาน]]ในปัจจุบัน) จึงได้เห็นชอบในการเลือกจุดที่ตั้งท่าอากาศยานที่ ตำบลหัวเตย และให้บริษัทที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดสำหรับการก่อสร้าง พร้อมทั้งได้เสนอโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีนี้ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519) ซึ่ง[[สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ|สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ]]ได้พิจารณาและเห็นว่า ควรจะศึกษาความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจและความต้องการใช้ท่าอากาศยานของจังหวัดนี้และจังหวัดใกล้เคียงให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ระงับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีไว้ก่อน โดยนำงบประมาณตามโครงการนี้ไปดำเนินการที่[[ท่าอากาศยานภูเก็ต]]แทน
 
ในปี พ.ศ. 2518 ราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ร้องขอให้รัฐบาลพิจารณาปรับปรุงท่าอากาศยานเพื่อเปิดการบินพาณิชย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยด่วน กรมการบินพาณิชย์ ([[กรมท่าอากาศยาน]]) จึงได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ เห็นว่าควรจะก่อสร้างท่าอากาศยานสำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้น เพื่อให้บริการประชาชนและใช้เป็นท่าอากาศยานสำรองของ[[ท่าอากาศยานหาดใหญ่]]และ[[ท่าอากาศยานภูเก็ต|ภูเก็ต]] สำหรับเครื่องบินสายภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดด้วย ทั้งจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากจังหวัดมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ผลผลิตต่างๆ ของจังหวัดมีมาก ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเกษตร การประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ ฯลฯ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ด้านการคมนาคมมีประชาชนทั้งในประเทศและชาวต่างประเทศเริ่มเดินทางไปทัศนาจรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมก็มีความประสงค์ที่จะปรับปรุงสนามบินม่วงเรียง ที่ตำบลหัวเตย เพื่อใช้เป็นที่ตั้ง กองบินในภาคใต้ ของกองทัพอากาศ กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน)จึงเห็นว่าหากก่อสร้างท่าอากาศยานที่สามารถใช้ร่วมกันระหว่างกิจการบินพาณิชย์และกิจการทหารด้วยแล้ว ก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณได้มาก ดังนั้นจึงได้ตกลงเลือกสถานที่ก่อสร้างท่าอากาศยานของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน ซึ่งมีระยะทางห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร
 
กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) ได้ปรับปรุงแก้ไขแบบก่อสร้าง ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาได้จัดทำไว้เดิมให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และได้เสนอโครงการนี้ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 4 (พ.ศ. 2520 -2524) ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ให้กรมการบินพานิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) ดำเนินการในเดือนกรกฎาคม 2521 โดยเป็นการก่อสร้างทางวิ่งขนาดกว้าง 45 เมตร และยาว 2,500 เมตร พร้อมอาคารผู้โดยสารและหอบังคับการบิน