ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้วยศรีน่าน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 8:
กล้วยศรีน่านเป็นพืชชนิดแรกที่ตั้งชื่อให้จังหวัดน่าน โดยพบเป็นครั้งแรกที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน และยังไม่พบในพื้นที่อื่นในประเทศไทยอีกเลย
 
กล้วยศรีน่านถูกพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดย ดร. ปรัชญา ศรีสง่า หัวหน้าส่วนหอพรรณไม้ [[สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์]]ฯ จากนั้น 10 ปีต่อมาได้แจ้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิวิมล โฉมเฉลา แสวงผล อาจารย์ประจำ[[ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล]] เข้าไปตรวจสอบและพบว่าเป็นกล้วยชนิดใหม่ จึงได้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมทั้งด้านสัณฐานวิทยา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา ไตรเพิ่ม ตรวจสอบด้านกายวิภาคศาสตร์ เพื่อยืนยันความแตกต่างจากกล้วยป่าชนิดอื่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิวิมล โฉมเฉลา แสวงผล และรองศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา ไตรเพิ่ม ตีพิมพ์ชื่อกล้วยชนิดใหม่นี้ในวารสาร "ซิสเตมาติก โบตานี (Systematic Botany)" ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558 <ref name=":0">https://doi.org/10.1600/036364415X688790</ref>
 
ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2558 Dr. Stephan W. Gale จาก Kadoorie Farm and Botanic Garden, Hong Kong, China และ Mrs. Somsanith Bouamanivong, Director of Ecology Division, Curator of National Herbarium of Laos (HNL) พบกล้วยศรีน่านใกล้ Kasi, Lao PDR
 
การค้นพบกล้วยศรีน่าน เป็นการค้นพบชนิดพันธุ์พืชที่มีความสำคัญ ทั้งด้วยลักษณะดอกที่พิเศษแตกต่างจากกล้วยชนิดอื่น ทั้งด้วยความสวยงามของปลี ทั้งด้วยเป็นการค้นพบในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งเป็นภูมิภาคสำคัญที่มีความเปราะบางทางนิเวศวิทยา มีเอกลักษณ์และถูกคุกคามจากการตัดไม้ทำลายป่าอย่างรุนแรง กล้วยศรีน่านได้รับเลือกจากวารสาร Science News <ref name=":1">http://www.sci-news.com/biology/science-musa-nanensis-wild-banana-thailand-03349.html</ref> และ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล <ref name=":2">http://greatermekong.panda.org/discovering_the_greater_mekong/species/new_species/species_oddity/</ref> ให้เป็นหนึ่งในชนิดพันธุ์เด่นที่สุดที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 2015 และมีการนำเสนอข่าวการค้นพบนี้ในสื่อหลายแห่ง เช่น เว็บไซต์ของ BBC Thai <ref name=":3">https://www.bbc.com/thai/international-38367423</ref>
 
เนื่องจากเป็นกล้วยที่มีปลีสวยงาม สีสด และออกปลีมาก แต่ต้องการอากาศเย็น จึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นไม้ประดับหรือตัดปลีเป็นไม้ตัดดอกได้หากปลูกในบนพื้นที่สูงที่มีอากาศเย็น
 
ทั้งนี้ในประเทศไทยมีกล้วยป่าพื้นเมือง (native wild species) ราว 10 ชนิด เช่น กล้วยหก กล้วยแข้  กล้วยบัวสีส้ม กล้วยศรีนรา กล้วยนวล กล้วยผา เป็นต้น กระจายพันธุ์อยู่ทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณชายป่าบนเทือกเขาต่างๆ กล้วยศรีน่านเป็นชนิดใหม่ที่ค้นพบล่าสุด ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2551 ผศ. ศศิวิมล และทีมสำรวจกล้วยของมหาวิทยาลัยมหิดลได้พบกล้วยชนิดใหม่ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย และตั้งชื่อว่ากล้วยนาคราช (''Musa serpentina'' Swangpol & Somana) <ref name=":4">https://www.tci-thaijo.org/index.php/ThaiForestBulletin/article/view/24174</ref>
 
== บรรณานุกรม ==