ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Eqqpwppr (คุย | ส่วนร่วม)
ภาษาอังกฤษ คำจำกัดความ
FetteK (คุย | ส่วนร่วม)
ลบข้อความเท็จ ที่กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในภาวะล้มละลาย เพราะไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิง และข้อเท็จจริงคือ การล้มละลายของเอกชนจำกัดอยู่แต่เพียงในภาคสถาบันการเงินและภาคอสังหาริมทรัพย์ ไม่กระจายวงกว้างไปในภาคการคลังของรัฐ (รัฐบาลไทยไม่ต้องปลดข้าราชการจำนวนมากออกเหมือนสมัยกลางทศวรรษ 2470) หรือในภาคการผลิตอื่นๆ ของประเทศ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4:
'''วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540''' ''(อังกฤษ : 1997 Asian financial crisis)'' หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า “'''วิกฤตต้มยำกุ้ง'''” เป็นช่วง[[วิกฤตการณ์ทางการเงิน]]ซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศใน[[ทวีปเอเชีย]]เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน
 
วิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่า[[บาท (สกุลเงิน)|เงินบาท]]ลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของ[[รัฐบาลไทย]] ซึ่งมีพลเอก[[ชวลิต ยงใจยุทธ]]เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุล[[ดอลลาร์สหรัฐ]] หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน (financial overextension) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนขับเคลื่อน[[อสังหาริมทรัพย์]] ในเวลานั้น ประเทศไทยมีภาระ[[หนี้สาธารณะ]]ซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายก่อนหน้าการล่มสลายของค่าเงิน และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่ใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]และ[[ญี่ปุ่น]]ก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงและรวมไปถึงราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้น<ref>Kaufman: pp. 195–6</ref>
 
แม้จะทราบกันดีแล้วว่าวิกฤตการณ์นี้มีอยู่และมีผลกระทบอย่างไร แต่ที่ยังไม่ชัดเจนคือสาเหตุของวิกฤตการณ์ดังกล่าว เช่นเดียวกับขอบเขตและทางแก้ไข [[อินโดนีเซีย]] [[เกาหลีใต้]] และไทยได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว [[ฮ่องกง]] [[มาเลเซีย]] [[ลาว]]และ[[ฟิลิปปินส์]]ก็เผชิญกับปัญหาค่าเงินทรุดเช่นกัน [[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] [[อินเดีย]] [[ไต้หวัน]] [[สิงคโปร์]] [[บรูไน]]และ[[เวียดนาม]]ได้รับผลกระทบน้อยกว่า ถึงแม้ว่าทุกประเทศที่กล่าวมานี้จะได้รับผลกระทบจากการสูญเสียอุปสงค์และความเชื่อมั่นตลอดภูมิภาค