ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วชิรพยาบาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 28:
พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ([[ปฏิทินสุริยคติไทย|นับแบบเก่า]]) โดยให้กรมสุขาภิบาล [[กระทรวงนครบาล]] (พัฒนาเป็น[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]ในเวลาต่อมา) เป็นผู้ปกปักรักษา พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า "วชิรพยาบาล"
 
ในขั้นต้นที่เริ่มเปิดดำเนินกิจการวชิรพยาบาลนั้น ตามหลักฐานปรากฏว่าผู้ที่มาเป็นแพทย์ประจำคนแรกคือ [[พระยาวิรัชเวชกิจ (โรเบิร์ต เอ็ดวิน คุณะดิลก)]] เรียกกันในเวลานั้นว่า หมอติลลิกี (Dr. Tilleke) ซึ่งขณะนั้นประจำอยู่ที่โรงพยาบาลสามเสน สังกัดกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ตั้งอยู่เชิงสะพานแดง (ตรงถนนสุโขทัยด้านแม่น้ำเจ้าพระยามีสะพานแดงต่อจากถนนยื่นลงแม่น้ำ) โรงพยาบาลสามเสนนี้ จากหลักฐานที่ปรากฏ ได้ช่วยเหลือวชิรพยาบาลในคราวตั้งตัวอยู่มาก ทั้งตัวแพทย์และเวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ เมื่อหมอติลลิกีมาเป็นผู้อำนวยการวชิรพยาบาล ได้สละเครื่องมือแพทย์ ยาต่าง ๆ ครุภัณฑ์ เครื่องแก้ว เครื่องมือตรวจเชื้อ เช่น กล้องจุลทรรศน์ เครื่องปั่นโลหิตและปัสสาวะตลอดจน เตียงตรวจ เตียงผ่าตัดและของใช้เบ็ดเตล็ด เพื่อเป็นสาธารณกุศลใช้ในวชิรพยาบาลในวันพิธีเปิดป้ายโรงพยาบาล ส่วนเตียงผู้ป่วยภายในนั้นยืมเตียงนายทหารชั้นนายพันจากกรมยกกระบัตรกระทรวงกลาโหมมาสมทบชั่วคราวจำนวน 20 - 30 เตียงเพื่อให้ทันกำหนดเปิดโรงพยาบาล
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งคณะกรรมการปกครองวชิรพยาบาล รับผิดชอบขึ้นตรงต่อ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยมี[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก|สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยเป็นองค์ประธานการวางระเบียบการโรงพยาบาลเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชดำริ<ref>https://mahidol.ac.th/temp/document/prabida/missive.pdf</ref> โดยในปี พ.ศ. 2472 ทรงวางโครงการให้วชิรพยาบาลเป็นศูนย์กลางการศึกษาของกรมสาธารณสุข และได้ทรงวางแบบแปลนสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมในการขยายวชิรพยาบาล<ref>https://www.slideshare.net/ssriboonsong/20-51189071</ref>