ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคเรืองปัญญา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
แก้คำแปล
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Rousseau.jpg|250px|thumbnail|right|[[ฌ็อง-ฌัก รูโซ]] บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา]]
'''ยุคเรืองปัญญา''' ({{lang-en|''Age of Enlightenment''}}; {{lang-fr|''Siècle des Lumières''}}) หรือ '''ยุคแสงสว่าง''' เป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วง[[คริสต์ศตวรรษที่ 18]] โดยมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต หรือสิทธันตนิยม (dogmatism) ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง. การเคลื่อนไหวในยุคเรืองปัญญาให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อเสรีภาพในการแสดงออก และการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา เพื่อต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์<ref>Ellen Wilson and Peter Reill, ''Encyclopedia of the Enlightenment'' (2004) p 577</ref> โมหาคติ และการสั่งสอนที่เคลือบคลุมหรือไม่เปิดโอกาสให้ตั้งคำถาม (obscurantism) จากทางคริสตจักรและรัฐบาล. ลักษณะที่สำคัญของทัศนคติในยุคเรืองปัญญา คือ แนวคิด[[มนุษย์นิยม]]ที่เชื่อในตัวมนุษย์และสติปัญญาของมนุษย์ว่าสามารถเข้าใจถึงความจริงของทั้งโลกกายภาพ และก้นบึ้งของปัญหาทางศีลธรรมจริยธรรมและการปกครองในสังคมมนุษย์ได้ โดยไม่จำต้องยอมศิโรราบต่อจารีตที่สืบทอดกันมา. ภาษิตประจำใจที่ใช้กันแพร่หลายของปัญญาชนในยุคนี้ ได้แก่ ภาษิตละตินว่า ''Sapere aude'' ("จงกล้าที่จะใช้ปัญญา").<ref>{{citation|author=Gay, Peter|title=The Enlightenment: An Interpretation|url=https://archive.org/details/enlightenmentint02gayp|year=1996|publisher=W.W. Norton & Company|isbn=0-393-00870-3|url-access=registration}}</ref>
 
ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1650 - 1700 โดยถูกจุดประกายจากเหล่านักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่น [[เรอเน เดการ์ต]] (1596–1650), [[บารุค สปิโนซา]] (1632–1677), [[จอห์น ล็อก]] (1632–1704), [[ปิแยร์ เบย์ล]] (1647–1706), [[ไอแซก นิวตัน]] (1643–1727), [[วอลแตร์]] (1694–1778). จุดเริ่มต้นของยุคเรืองปัญญามีที่มาจากการผนวกเข้าด้วยกันของอุดมคติว่าด้วยมนุษย์นิยมของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ กับการบุกเบิกความรู้และการค้นพบในสาขา[[ปรัชญาธรรมชาติ]]หรือ[[วิทยาศาสตร์]]สมัยใหม่ เช่น จากงานเขียนของเซอร์[[ฟรานซิส เบคอน]] และการค้นพบเทคนิคทางคณิตวิเคราะห์สมัยใหม่ของนักปรัชญาฝรั่งเศส เรอเน เดการ์ต ผู้เป็นเจ้าของภาษิตว่า ''Cogito ergo sum'' ("เพราะข้าพเจ้าสงสัย ข้าพเจ้าจึงมีตัวตน").