ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิเทศศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8557219 โดย Jaybroomด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 9:
[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]เป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนทางด้านนิเทศศาสตร์เป็นแห่งแรกของประเทศไทยในปี [[พ.ศ. 2482]] โดยเปิดสอนในระดับอนุปริญญา สังกัดในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์<ref>[http://www.commarts.chula.ac.th/pages/Thai/aboutus/pastpresentfuture.htm นิเทศศาสตร์ จากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต] จากเว็บไซต์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref> หลังจากนั้น จึงมีการโอนการศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปทำการสอนที่[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2497]] โดยใช้ชื่อคณะว่า ''[[คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน]]'' และได้ปรับปรุงหลักสูตรจนสามารถเปิดสอนในระดับปริญญาตรีได้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย<ref>[http://www.jc.tu.ac.th/history.html ประวัติคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์] จาก เว็บไซต์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</ref> ภายหลังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางด้านนิเทศศาสตร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจะใช้ชื่อคณะที่แตกต่างกัน อาทิเช่น [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] เปิดหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตในวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้ชื่อ ''คณะการสื่อสารมวลชน'' มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใช้ชื่อ ''คณะวิทยาการสารสนเทศ'' ขณะที่ มหาวิทยาลัยบูรพา [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] มหาวิทยาลัยนเรศวร [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] มหาวิทยาลัยทักษิณ ก็มีเปิดสอนในหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัย
 
นอกจากนี้ [[มหาวิทยาลัยราชภัฏ]]เกือบทุกแห่ง ก็เปิดสอนในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ด้วย สำหรับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและเอก) มีเปิดสอนที่ จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] มหาวิทยาลัยพะเยา เชียงใหม่ [[มหาวิทยาลัยแม่โจ้]] ตลอดจน[[มหาวิทยาลัยเอกชน]]หลายแห่ง เช่น [[มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]] [[มหาวิทยาลัยรังสิต]] [[มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ]] [[มหาวิทยาลัยศรีปทุม]] [[มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]] [[มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]] [[มหาวิทยาลัยเกริก]] [[มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต]] เป็นต้น
 
ในปัจจุบัน มีการเปิดสอนวิชานิเทศศาสตร์ในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับอนุปริญญา จนถึงปริญญาเอก ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน เดิมเคยเป็นสาขาที่มีผู้นิยมเรียนสูงมาก แต่ในปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจึงส่งผลต่อบัณฑิตที่สำเร็จจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ที่เริ่มมีจำนวนมาก ทำให้บัณฑิตนิเทศศาสตร์ได้ทำงานไม่ตรงตามสาขาได้ทุกคน สาขาวิชานิเทศศาสตร์จึงลดความนิยมลงไป แต่ก็ยังเป็นที่นิยมของนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก