ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุรเกียรติ์ เสถียรไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 55:
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เกิดวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2501 ที่[[กรุงเทพมหานคร]] เป็นบุตรชายคนเดียวของศาสตราจารย์พิเศษ<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/143/6.PDF</ref> ดร.สุนทร เสถียรไทย อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมธนารักษ์ และรองปลัดกระทรวงการคลัง กับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณหญิงเกื้อกูล เสถียรไทย อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สกุลเดิม สวัสดิ์-ชูโต)
 
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย สมรสกับท่านผู้หญิง ดร. ท่านผู้หญิง[[สุธาวัลย์ เสถียรไทย]] ธิดาท่านผู้หญิงหม่อมราชวงศ์บุษบา (กิติยากร) สธนพงศ์ พระขนิษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กับ[[หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์]] อดีต[[ราชเลขาธิการ]]และอดีต[[องคมนตรี]] มีบุตร 1 คน คือ ดร.สันติธาร เสถียรไทย
 
== การศึกษา ==
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย จบการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต [[คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] (เกียรตินิยมเหรียญทอง) ปริญญาโทสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (กฎหมาย, การเมืองและการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ) จาก โรงเรียนกฎหมายและการทูตเฟลตเชอร์ (The Fletcher School of Law and Diplomacy) , [[มหาวิทยาลัยทัฟส์]]l (Tufts University) สหรัฐอเมริกาและเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับ[[ปริญญาเอก]] [[ทางนิติศาสตร์]]จาก[[มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด]] สหรัฐอเมริกา
 
รางวัลเกียรติยศ
บรรทัด 70:
== การทำงาน ==
=== งานการศึกษา ===
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เคยร่วมสอนกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กับ ศาสตราจารย์เฟรดเดอริก สโนเดอร์ ในระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ริเริ่มหลักสูตรกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการวิจัยสหสาขาระหว่างนิติศาสตร์และสาขาอื่นๆที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น[[ศาสตราภิชาน]] กองทุนเพื่อการบริหารวิชาการและการศึกษา ของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5 วาระติดต่อกัน และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น[[ศาสตราจารย์พิเศษ]] สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เคยดำรงตำแหน่งนักวิชาการอาวุโสของ Harvard Law School และ Kennedy School of Government มหาวิทยาลัย Harvard สหรัฐอเมริกา เป็น Visiting Professor ของมหาวิทยาลัย Brown สหรัฐอเมริกา และ Member of the Advisory Council, Global Law and Policy Institute, Harvard Law School, U.S.A. และ Member of Asian Advisory Group of the Fletcher School of Law and Diplomacy, Tufts University สหรัฐอเมริกา
 
นอกจากนั้น ยังเป็น
 
ประธานที่ประชุมนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง (ทปนอ.มทร.)(ปัจจุบัน-2565)
นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (2558-ปัจจุบัน)
นายกสภามหาวิทยาลัย CMKL (ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สหรัฐอเมริกาและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) (2561-ปัจจุบัน)
บรรทัด 83:
 
=== งานองค์การระหว่างประเทศ ===
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้รับเลือกจากประเทศในเอเชียให้เป็นประธานสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่งเอเชีย (President of Asia Society of International Law (ASIL)) ระหว่างปี (2557-2558)<ref>https://www.etda.or.th/content/etda-asiansil-privacy-internet-governance.html</ref> และ ได้รับเลือกจากสมาชิก 24 ท่านของคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและการปรองดองแห่งเอเชีย (Asian Peace and Reconciliation Council : APRC) ให้เป็นประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและการปรองดองแห่งเอเชีย ในวาระ 5 ปี 2 วาระ (พ.ศ. 2555-2560 และ พ.ศ. 2561-2566) ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยลดความขัดแย้งและส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาคเอเชีย<ref>https://www.matichon.co.th/foreign/indepth/news_744818</ref><ref>http://www.thaibev.com/th08/detailnews.aspx?ngID=951</ref>, ได้รับเลือกเป็นกรรมการของการประชุมโบอ่าว (Boao Forum for Asia) สองสมัยจนถึงปัจจุบัน, ได้รับเลือกเป็นกรรมการผู้นำเพื่อสันติภาพ (Leaders for Peace), ได้รับเลือกเป็นสมาชิกคณะกรรมการวิสัยทัศน์นิติธรรม 2030 และเป็นประธานร่วมกับอดีตประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ ของสหรัฐอเมริกา ในคณะสังเกตการณ์การเลือกตั้งในประเทศเนปาล (พ.ศ. 2551, พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2560) เป็นต้น
 
=== งานสังคม ===
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานที่ปรึกษาและประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิฯ และมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ องค์นายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ตั้งมา 25 ปี ซึ่งได้มีกิจกรรมช่วยเหลือประชาชนด้านอุทกภัย การเฝ้าระวังภัยและการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน เป็นประธานมูลนิธิส่งเสริมนักกฎหมายธุรกิจ รองประธานมูลนิธิพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า และการเป็นประธานร่วมกับอดีตประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ ของสหรัฐอเมริกา ในคณะสังเกตการณ์การเลือกตั้งในประเทศเนปาล (พ.ศ. 2551, พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2560) ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดหาทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน) เป็นต้น
 
ในอดีตเคยเป็นประธานมูลนิธิสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์, ประธานมูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งอนุรักษ์พัฒนาวัฒนธรรมการแสดงโขนและวัฒนธรรมของไทย, ประธานคณะกรรมการการจัดหาทุนโครงการผ่าตัดหัวใจให้คนยากจนเทิดพระเกียรติในหลวงทั่วหล้า 84 พรรษามหาราชา (พ.ศ. 2554)
 
=== งานธุรกิจ ===
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักกฎหมายสากลสยามพรีเมียร์ เมื่อปีพ.ศ. 2533 นอกจากนี้เป็นผู้มีบทบาทหลักในการเจรจาแก้ไขปัญหาข้อพิพาทสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติ (Take or Pay) ระหว่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยกับกลุ่มผู้ผลิตก๊าซในพม่าเมียนม่าร์ ซึ่งผลการเจรจาเป็นผลให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยไม่ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นคดีความ นอกจากนี้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ในปีพ.ศ. 2540 ในฐานะประธานกรรมการ ได้นำบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ไป Roadshow ในต่างประเทศ จนประสบความสำเร็จในการออกหุ้นเพิ่มทุนแม้อยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 และยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเจรจากับเจ้าหนี้ต่างประเทศเพื่อปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูกิจการให้บริษัท ไทยออยล์ จำกัด จนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรกของไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 จึงเป็นผลดีต่อบริษัทที่รัฐบาลมีหุ้นใหญ่ให้เจริญก้าวหน้าได้มั่นคง และปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษาให้บริษัทเอกชนต่างๆหลายแห่ง
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==(ไทย)
1) มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
=== ไทย ===
2) มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
{{ม.ป.ช.|2544}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00027052.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)]</ref>
3) ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
{{ม.ว.ม.|2539}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/022/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๕๒๔ ราย)] เล่ม ๑๑๓ ตอน ๒๒ ข ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑</ref>
4) ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
{{ป.ภ.}}
5) เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1
{{ต.จ.ว.|2547}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0B/00140178.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า &#91;ในวโรกาสพระราชพิธีวันฉัตรมงคล จำนวน ๘๒ ราย&#93;] เล่ม ๑๒๑ ตอน ๙ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ หน้า 2</ref>
6) เหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ 1
{{ป.ช.|2538}}<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/B/017V001/1_1.PDF</ref>
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต่างประเทศ)
1) The Most Honourable Order of Seri PadukaMahkota Brunei (class S.P.M.B.) (Brunei Darussalam) 2002
2) Commander Grand Cross (Sweden) 2003
3) Grand Cross of the Order of Orange-Nassau (Netherlands) 2004
4) Bahrain Decoration First Class (Bahrain) 2004
5) The Royal Order of Sahametrei – Grand Officer (Cambodia) 2002
6) The Congressional Medal of Achievement, (Philippines) 2006
 
=== ต่างประเทศ ===
* [[ไฟล์:SWE_Order_of_the_Polar_Star_(after_1975)_-_Commander_Grand_Cross_BAR.png|80px|border]] ชั้นสายสะพาย Commander Grand Cross of the Royal Order of the Polar Star ราชอาณาจักรสวีเดน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00122104.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ]. เล่ม ๑๒๐ ตอน ๔ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ หน้า ๕</ref>
* [[ไฟล์:Order_of_Orange-Nassau_ribbon_-_Knight_Grand_Cross.svg|80px|border]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา|ชั้นสายสะพาย Grand Cross of the Order of Orange-Nassau]] ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00027087.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ]. เล่ม ๑๒๑ ตอน ๖ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ หน้า ๒</ref>
* [[ไฟล์:BRU_Order_of_the_Crown_of_Brunei.svg|80px|border]] ชั้นสายสะพาย The Most Honourable Order of Seri Paduka Mahkota Brunei ชั้นที่ 1 (SPMB) บรูไนดารุสซาลาม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00104046.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ]. เล่ม ๑๑๙ ตอน ๑๙ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ หน้า ๒๘</ref>
* [[ไฟล์:BRU_Order_of_Loyalty_to_the_State_of_Brunei.svg|80px|border]] ชั้นสายสะพาย The Most Blessed Order of Setia Nagara Brunei ชั้นที่ 1 (PSNB) บรูไนดารุสซาลาม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00090784.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ]. เล่ม ๑๑๙ ตอน ๑๓ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ หน้า ๕</ref>
ชั้นสายสะพาย Bahrain Decoration ชั้นที่ 1 บาห์เรน
* [[ไฟล์:KHM Royal Order of Sahametrei - Grand Officer.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์สหไมตรี]] ชั้นมหาเสนา ราชอาณาจักรกัมพูชา<ref>ในราชกิจจานุเบกษาทับศัพท์ตามภาษาอังกฤษว่า "เดอะ รอยัล ออร์เดอร์ ออฟ สหไมตรี ชั้น แกรนด์ ออฟฟิซเซอร์" ดูที่ [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00027087.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ]. เล่ม ๑๑๘ ตอน ๒๑ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ หน้า ๑</ref>
 
== อ้างอิง ==