ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เนินเขา 262"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox military conflict|conflict=ยุทธการที่เนินเขา 262|combatant1={{flagicon|Poland|1928}} Polish Armed Forces in the West|โป...
 
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
ด้วยความสำเร็จของ[[ปฏิบัติการคอบรา]]ซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีโอกาสในการริดรอนและทำลายกองทัพเยอรมันส่วนใหญ่ทางด้านตะวันตกของ[[แม่น้ำแซน]] กองทัพบริติซ และแคนาดาได้รวมตัวกันในพื้นที่บริเวณรอบๆ เมืองฟาเลส์ ในการดักจับกองทัพเยอรมันที่ 7 และส่วนหนึ่งของกองทัพยานเกราะที่ 5 ในสิ่งที่เรียกว่า [[ฟาเลส์พ็อกเก็ต]] เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม [[จอมพลไรช์]] [[วัลเทอร์ โมเดิล]] ได้ออกคำสั่งให้ถอนกำลัง แต่ในช่วงเวลานี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำการปิดกั้นเส้นทางที่เขาจะผ่านไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในช่วงคืนของวันที่ 19 สิงหาคม สองกลุ่มรบของกองพลยานเกราะที่ 1 (พลตรี Stanisław Maczek) ได้ตั้งตัวอยู่ที่ปากทางของวงล้อมฟาเลส์จากบนและรอบๆ เหนือสุดของยอดเขาสองลูกของสันเขา เมาท์ โอเมล
 
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ด้วยกองกำลังของเขาถูกโอบล้อม โมเดิลได้สั่งให้กองกำลังให้เข้าโจมตีตำแหน่งของโปแลนด์จากทั้งสองข้างของปากวงล้อม เยอรมันสามารถทำการแยกสันเขาและบังคับให้เปิดเส้นทางที่แคบๆ ด้วยขาดกำลังใจในการสู้รบเพื่อปิดเส้นทาง พวกโปแลนด์จึงได้ออกคำสั่งให้ทำการระดมยิงปืนใหญ่อย่างต่อเนื่องและแม่นยำเข้าใส่หน่วยทหารเยอรมันที่กำลังจะล่าถอยออกจากวงล้อม ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตอย่างหนัก เยอรมันได้เปิดฉากการโจมตีอย่างดุเดือดตลอดทั้งวันของวันที่ 20 สิงหาคม ซึ่งสร้างความสูญเสียให้กับโปแลนด์บนเนินเขา 262 ด้วยกระสุนที่ร่อยหรอและการต่อสู้รบได้แค่เพียงมือเปล่าเท่านั้น ชาวโปแลนด์สามารถตั้งหลักบนสันเขาได้ ในวันต่อมา การโจมตีที่รุนแรงได้น้อยลงยังคงดำเนินต่อไปจนถึงเที่ยงวัน เมื่อความพยายามครั้งสุดท้ายของเยอรมันในการเข้ายึดครองตำแหน่งซึ่งได้พ่ายแพ้ในหนึ่งส่วนสี่ของการปิดล้อม ทหารโปลแลนด์ได้ถูกช่วยเหลือโดยหน่วยทหารเกรนาเดียร์การ์ดแคนนาดาในเวลาไม่นานหลังตอนบ่าย จุดยืนของพวกเขาได้ทำให้มั่นใจได้แล้วว่า วงล้อมฟาเลส์ได้ถูกปิดอย่างสมบูรณ์ และการล่มสลายของตำแหน่งของเยอรมันในนอร์ม็องดี
 
== อ้างอิง ==