ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาคกลาง (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 80:
== ภูมิศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Thailand BMNG.png|thumb|200px|ภาพถ่ายดาวเทียม แสดงที่ราบภาคกลางเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ]]
ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของ[[จังหวัดอุตรดิตถ์]]ลงไปจนจรด[[อ่าวไทย]] นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทาง[[จังหวัดนครสวรรค์]]และด้านตะวันตกของ[[จังหวัดพิษณุโลก]] จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ
 
เมื่อพิจารณาตามลักษณะโครงสร้าง บริเวณภาคกลางสามารถแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ
 
'''1. ภาคกลางตอนบน''' ได้แก่ บริเวณตั้งแต่[[จังหวัดนครสวรรค์]]ขึ้นไปทางตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ในเขต[[จังหวัดกำแพงเพชร]] [[จังหวัดพิจิตร|พิจิตร]] [[จังหวัดพิษณุโลก|พิษณุโลก]] [[จังหวัดสุโขทัย|สุโขทัย]] รวมทั้งบางบริเวณ[[จังหวัดเพชรบูรณ์]] ภูมิประเทศโดยทั่วไปในบริเวณตอนบนนี้ ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่เป็น[[ที่ราบลุ่ม]]แม่น้ำและ[[ที่ราบลูกฟูก]] (rolling plains) ซึ่งเกิดจากการกระทำของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ คือ [[แม่น้ำปิง]] [[แม่น้ำวัง]] [[แม่น้ำยม]] [[แม่น้ำน่าน]] และลำน้ำสาขา ภูมิประเทศที่เป็นลูกฟูกนั้นอาจเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน กรวด ทรายที่มีขนาดใหญ่และตกตะกอน ก่อนทับถมพอกพูน ถ้าหากเทียบกับดินตะกอนแล้ว ชนิดแรกสามารถต้านทานต่อการสึกกร่อนได้มากกว่าชนิดหลัง ทำให้กลายเป็นภูมิประเทศคล้ายลูกคลื่น มีลูกเนินเตี้ย ๆ สลับกับบริเวณที่ง่ายแก่การสึกกร่อน ซึ่งกลายเป็นร่องลึกมีลักษณะเป็นที่ราบลูกฟูก นอกจากนี้การกระทำของแม่น้ำยังทำให้เกิด[[ที่ราบขั้นบันได]] (terraces) ที่ราบลุ่มแม่น้ำหรือที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ของแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน อีกด้วย ภูมิประเทศทางด้านตะวันออกของเขตนี้เป็นภูเขาและทิวเขาจรดขอบเขตของ[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] แนวทิวเขาดังกล่าว ได้แก่ [[ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2]] ซึ่งต่อเนื่องมาจาก[[ทิวเขาหลวงพระบาง]] ระหว่าง[[ทิวเขาเพชรบูรณ์ 1]] กับทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 มีที่ราบแคบ ๆ ในเขต[[อำเภอหล่มสัก]]และจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ราบนี้มี[[แม่น้ำป่าสัก]]ไหลผ่านลงไปทางใต้ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 นี้ส่วนใหญ่เป็น[[หินแอนดีไซต์]] [[หินไดโอไรต์]][[ยุคเทอร์เชียรี]] ทางด้านตะวันตกของทิวเขาสูงนี้เป็นที่ราบเชิงเขาสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ไปจนจรดที่ราบลุ่มแม่น้ำ
 
'''2. ภาคกลางตอนล่าง''' เป็น[[ที่ราบลุ่ม]]ซึ่งเริ่มตั้งแต่ทางตอนใต้ของ[[จังหวัดนครสวรรค์]]ลงไปจนจรด[[อ่าวไทย]] ภูมิประเทศภาคกลางตอนล่างบริเวณ[[ดินดอนสามเหลี่ยม]][[แม่น้ำเจ้าพระยา]] พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา [[แม่น้ำท่าจีน]] [[แม่น้ำแม่กลอง]] และ[[แม่น้ำบางปะกง]]พัดพามา แม่น้ำเหล่านี้เมื่อไหลผ่านบริเวณที่เป็นที่ราบ ความเร็วของกระแสน้ำจะลดลง วัตถุต่าง ๆ ที่ละลายปนมากับน้ำจะตกตะกอนทับถมพอกพูน ซึ่งตะกอนเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทรายละเอียด ดินเหนียว และดินตะกอน บางส่วนไปตกตะกอนในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตะกอนที่ทับถมห่างจากชายฝั่งออกไปไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลเมตร และยังก่อให้เกิด[[สันดอน]]ในแม่น้ำ ทำให้เกิดอุปสรรคในการคมนาคมทางน้ำเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามามีประโยชน์ในการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของประเทศ ทั้งนี้เพราะดินตะกอนสามารถอุ้มน้ำได้ ความหนาของชั้นดินตะกอนในบางบริเวณที่มีการขุดเจาะเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่าบางแห่งหนาเกิน 120 เมตร จึงจะถึง[[หินดินดาน]] (dedrock) ข้างใต้
 
'''3. บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain)''' ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของ[[จังหวัดอุทัยธานี]] [[จังหวัดสิงห์บุรี|สิงห์บุรี]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี|สุพรรณบุรี]] และ[[จังหวัดนครปฐม|นครปฐม]] และบางบริเวณทางด้านตะวันออกของ[[จังหวัดสระบุรี]]และ[[จังหวัดลพบุรี|ลพบุรี]] ซึ่งลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวมีความแตกต่างจากที่ลุ่มแม่น้ำในทางธรณีสัณฐานวิทยา ทั้งนี้เพราะหินที่สึกกร่อนกลายเป็นดินรวมทั้งน้ำเป็นตัวการทำให้เศษดิน เศษหิน เหล่านี้มาทับถมในบริเวณเชิงเขา และส่วนที่ต่อแนวของที่ราบลุ่มแม่น้ำเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเกิดพบว่าต่างกัน บริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะในเขต[[อำเภอโคกสำโรง]] เป็นที่ราบสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ซึ่งบริเวณนี้สึกกร่อนมาจาก[[หินปูน]] ([[หินปูนชุดราชบุรี|ชุดราชบุรี]]) [[หินชนวน]] และ[[หินดินดาน]] ทำให้ดินมีสีเทาเข้มถึงดำ นอกจากนี้ในบางบริเวณยังมี[[หินอัคนี]]แทรกขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ มี[[หินบะซอลต์]]และ[[หินแอนดีไซต์]]ปนอยู่ด้วย บางแห่งมีแร่[[เหล็ก]] เช่น ที่เขาทับควาย [[อำเภอเมืองลพบุรี]] จังหวัดลพบุรี พื้นที่บริเวณขอบที่ราบทั้ง 2 ด้าน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น [[ข้าวโพด]] [[อ้อย]] [[ข้าวฟ่าง]] [[มันสำปะหลัง]] และอื่น ๆ กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ
 
== การแบ่งเขตการปกครอง ==