ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ไดเมียว|name=เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา<br>(บุนนาค)|image=|caption=|succession=[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย|สมุหพระกลาโหม]]|ดำรงตำแหน่ง=พ.ศ. 2336 - พ.ศ. 2348|กษัตริย์=[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]​|ก่อนหน้า=[[เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี)]]|ถัดไป=[[เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น)|เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น)]]|succession1=[[เจ้าพระยายมราช|พระยายมราช]]|กษัตริย์1=[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]|ดำรงตำแหน่ง1=พ.ศ. 2329 – พ.ศ. 2336|ก่อนหน้า1=พระยายมราช (อิน)|ถัดไป1=[[เจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา)|พระยายมราช (บุญมา)]]|
{{กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ
| birth_date เกิด = พ.ศ. 2281
| name = เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา<br>(บุนนาค)
| สถานที่เกิด = [[กรุงศรีอยุธยา]]​ | death_type=ถึงแก่อสัญกรรม|death2=พ.ศ.2348 (68 ปี)|สถานที่=[[พระนคร]] [[ประเทศสยาม]] {{flag|Siam}}|บิดา=[[เจ้าพระยามหาเสนา (เสน)]]​|มารดา= หม่อมบุญศรี|คู่สมรส = คุณลิ้ม<br>[[เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล]]​|บุตร-ธิดา=[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)]]<br> [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]]<br>[[เจ้าจอมมารดาตานี ในรัชกาลที่ 1]]|ชื่อเกิด=|ศาสนา=[[พุทธ]]|ตระกูล=|work=|wikilinks=}}
| image =
| order = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย|สมุหพระกลาโหม]]
| term_start = พ.ศ. 2336
| term_end = พ.ศ. 2348
| monarch = [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]​
| predecessor = [[เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี)]]
| successor = [[เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น)]]
| birth_date = พ.ศ. 2281
| birth_place = [[กรุงศรีอยุธยา]]​
| death_date = พ.ศ. 2348 (68 ปี)
| death_place = [[กรุงรัตนโกสินทร์]]
| father = [[เจ้าพระยามหาเสนา (เสน)]]​
| mother = หม่อมบุญศรี
| spouse = คุณลิ้ม<br>[[เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล]]​
| children = [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)]]<br> [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]]
| alma_mater =
| Profession =
| religion = [[พุทธ]]
| work =
| wikilinks =
}}
 
'''เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ''' ([[พ.ศ. 2281]] - [[พ.ศ. 2348]]) ที่[[สมุหพระกลาโหม]]ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] บิดาของ[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์]] (ดิศ บุนนาค) และ[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ]] (ทัด บุนนาค) เป็นต้น'''[[สกุลบุนนาค]]''' และเป็นแม่ทัพผู้มีบทบาทในศึกเมือง[[ทวาย]]
 
เส้น 30 ⟶ 9:
หลังจาก[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]]ในพ.ศ. 2310 หลวงมหาใจภักดิ์ (บุญมา) ลี้ภัยไปยังเมือง[[เพชรบูรณ์]] ในขณะที่นายฉลองไนยนาถ (บุนนาค) และท่านผู้หญิงลิ้มภรรยาเดินทางไปยังเมือง[[ราชบุรี]]ไปอยู่กับหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี (ต่อมาคือ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]) ต่อมานายบุนนาคและท่านลิ้มภรรยาเดินทางกลับไปยังกรุงศรีอยุธยาเพื่อขุดค้นสมบัติของบิดาที่ได้ฝังไว้ ขนสมบัติล่องเรือลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงปากคลองบางใหญ่<ref name=":1" /> ([[คลองบางกอกน้อย]]ในปัจจุบัน) ถูกโจรผู้ร้ายเข้าปล้นสะดม นายบุนนาคกระโดดลงน้ำเอาชีวิตรอดมาได้ แต่ท่านลิ้มภรรยาเสียชีวิตและทรัพย์ที่ขุดมาได้ถูกโจรนำไปหมด
 
นายบุนนาคสูญเสียทั้งภรรยาและทรัพย์สิน ท่านผู้หญิงนาค (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี]]) ภรรยาของเจ้าพระยาจักรี จึงให้การอุปถัมภ์แก่นายบุนนาค<ref>http://www.bunnag.in.th/history2-3.html</ref> โดยท่านผู้หญิงนาคประกอบพิธีสมรสให้แก่นายบุนนาคกับท่านนวล (ต่อมาคือ[[เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล]]) ซึ่งเป็นน้องสาวของท่านผู้หญิงนาค ในสมัยกรุงธนบุรี นายบุนนาคไม่ได้เข้ารับราชการ เป็นทนายหน้าหอขอของเจ้าพระยาจักรีเพียงเท่านั้น<ref name=":0" />
 
=== สงครามเก้าทัพ ===
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพ.ศ. 2325 ทรงแต่งตั้งนายบุนนาคขึ้นเป็น''พระยาอุไทยธรรม'' เจ้ากรมภูษามาลา ใน''จดหมายเหตุคำปรึกษาตั้งข้าราชการ''ระบุว่านายบุนนาคนั้น“''ทำราชการมาช้านาน ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินการพระราชสงครามไปปราบอริราชข้าศึกนานานุประเทศมีชัยชำนะหลายครั้ง มีความชอบมาก ขอพระราชทานตั้งให้นายบุนนาค เป็นพระยาอุไทยธรรม''”<ref name=":2">สมมตอมรพันธุ์, กรมพระ. '''เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์'''. กรมศิลปากร.</ref> ส่วนนายบุญมาผู้เป็นพี่ชายต่างมารดานั้นได้เป็นที่พระยาตะเกิง ในพ.ศ. 2328 [[สงครามเก้าทัพ]] พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯมีพระราชโองการให้พระยาอุไทยธรรม (บุนนาค) ร่วมกับ[[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)|พระยาพระคลัง (หน)]] ไปตั้งรับทัพพม่าซึ่งรุกรานมาจากทางทิศเหนือ อยู่ที่เมือง[[ชัยนาท]] เพื่อคอยระวังทัพพม่าที่จะยกมาทางด่านระแหง ([[อำเภอเมืองตาก]]ในปัจจุบัน) และต่อมาในปีพ.ศ. 2329 จึงมีพระราชโองการให้พระยาอุไทยธรรม (บุนนาค) และพระยาพระคลัง (หน) ยกทัพติดตามเสด็จ[[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์|กรมหลวงเทพหริรักษ์]]ยกทัพไปตีทัพพม่าที่เมืองระแหง<ref name=":3">ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. '''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑'''. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ, กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ๒๕๓๑.</ref> เมื่อยกทัพไปถึง[[กำแพงเพชร]]กรมหลวงเทพหริรักษ์มีพระบัญชาให้พระยาอุไทยธรรม (บุนนาค) และพระยาพระคลัง (หน) ยกทัพนำไปก่อน ปรากฏว่าเมื่อทัพหลักของพม่าที่ปากน้ำโพ[[นครสวรรค์]]ถูกตีแตกไปแล้วนั้น ทัพพม่าที่ระแหงจึงถอยกลับไปก่อนโดยมิได้สู้รบ<ref name=":3" /> หลังจากศึกสงครามเก้าทัพ พระยาอุไทยธรรม (บุนนาค) ได้เลื่อนขึ้นเป็น''พระยายมราช'' เสนาบดีกรมนครบาล
 
=== ศึกเมืองทวาย ===